Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,955
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • Review Engenius EGS5110P อุปกรณ์ Managed POE Switch 8 Port
    เริ่มโดย yod
    Read 15,282 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

Review Engenius EGS5110P อุปกรณ์ Managed POE Switch 8 Port



มาถึงร้านแล้วครับ อุปกรณ์ Managed POE Switch จาก Engenius หลังจากได้ลองๆจับ แตะๆ เรียกได้ว่า Nice&Easy จริงๆ ถึกๆทนๆและการ Config ค่อนข้างง่าย เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะลงรายละเอียดเรื่องการ Config อีกครั้งนะครับ





Datasheet ของอุปกรณ์

https://www.sysnetcenter.com/documents/EGS5110P_DS_072913.pdf

User Manual

https://www.sysnetcenter.com/documents/EGS5110P_UM_080113.pdf


หน้าตาอุปกรณ์

อุปกรณ์ใส่ตู้แร๊ค 9 นิ้วได้เลย






LED แสดงสถานะการทำงาน พร้อมปุ่ม Reset อุปกรณ์




8 Port ความเร็ว Giagbit รองรับ POE ทุก Port มาตรฐาน IEEE 802.3at และ af




2 Port SFP 1000Mbps




เนื่องจากเป็น Switch POE ต้องมีการจ่ายไฟที่มีกำลังสูง ต้องมีพัดลมระบายความร้อนด้วยครับ





หน้า Config อุปกรณ์

อุปกรณ์ Engenius EGS5110P เป็นอุปกรณ์ Switch Managed ระดับ L2 จะมีหน้าจอ Webconfig เพื่อให้เข้าไป Config ค่าต่างๆได้ โดยค่า IP Default จะเป็น 192.168.0.239 ครับ ต้อง Fix IP ที่ Computer ให้อยู่ใน Subnet เดียวกันก่อน Password จะเป็น password






POE Management/POE Port Configuration กำหนดกำลังไฟที่จ่ายออกผ่านทาง POE ครับ โดยปกติอุปกรณ์ที่รองรับถ้าดูใน Datasheet เขาจะแบ่งเป็น Class ว่าต้องการกำลังไฟเท่าไหร่






Cable Diagnostics ทางผมยังไม่ได้ทดสอบในกรณีที่ใช้สาย UTP Cat5e ยาวๆเกิน 50 เมตร แต่ต้องการวิ่งที่ Gigabit หรือใช้สาย Lan ปลอม ไม่รู้ว่าตัวเครื่องมันจะฟ้องอะไรหรือเปล่า




Port Trunking




Port Mirroring ถ้าของพวก Cisco จะเรียกกันว่า Switched Port Analyzer หรือ SPAN การทำงานของ Switch มันไม่เหมือน Hub สมัยก่อน สมมุติเครื่อง A กะ B ต่อเข้า Switch Port 7 และ 8 ตามลำดับ และเครื่อง C ต่อ Port 9 เวลาเครื่อง A กับ B ส่งข้อมูลหากัน เครื่อง C จะไม่เห็นครับ เอาโปรแกรมพวก Sniff ไปลงก็ดูอะไรไม่ได้ แต่ถ้าใช้ Function นี้ จะสามารถเฝ้าดูและเก็บสถิติ การรับ-ส่งข้อมูลกันระหว่าง เครื่อง A และ B ได้




Loopback Detection ในกรณีเอาสาย lan ออกจาก port switch แล้วจิ้มเข้าอีก port ใน switch ตัวเดียวกัน ไฟจะแว๊ปๆๆ ทุกดวง




Static MAC Address




Dynamic Address List




802.1Q


เป็นมาตรฐาน VLANs ครับ

เกริ่นคร่าวๆนิดนึงนะครับเรื่องมาตรฐาน IEEE 802.1Q ข้อมูลนำมาจาก dcomputer นะครับ  ;) ;)

บางคนอาจจะรู้จักดีเพราะเป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยข้อตกลงในการสื่อสารที่มีความสามารถในการทำงานเกี่ยวกับ Virtual LAN ( VLAN ) โดยมีการบรรจุฟังก์ชันนี้ไว้ใน Switching Hub ที่สนับสนุนการทำงานของ IEEE 802.1Q แต่น่าเสียดายที่ฟังก์ชันนี้ไม่ถูกใช้งานเป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากยังมีผู้ใช้งานอีกจำนวนมากที่อาจยังไม่เข้าใจการทำงานเกี่ยวกับ Virtual LAN (VLAN) หรือ มาตรฐาน IEEE 802.1Q

Virtual LAN (VLAN) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรในระบบ LAN ถ้าพูด Collision domain คือการชนกันของสัญญาณ Ethernet โดยเราจะสามารถป้องกันได้โดยใช้อุปกรณ์ Switch Hub แทน Hub (เลิกผลิตไปนานแล้วครับ) เพราะ Switch มีความสามารถจัดการไม่ให้สัญญาณชนกันโดย 1 Port Switch เรียกว่า 1 Collision domain โดยระบบ LAN มีหลาย ๆ Collision Domain จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบ Network ดี แต่การป้องกัน Collision domain อย่างเดียวไม่เพีบงพอกับ ระบบ Network ที่มีเครื่อง client เป็นจำนวนมากๆ โดยจะต้องควบคุม BoardCast Domain ไม่ให้มีขนาดใหญ่ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการแบ่ง Boardcast domain ให้มีหลาย ๆ Boardcast domain เพื่อ ลดจราจรของระบบ Network

จากรูปภาพ 1 คือลักษณะการทำงานของ Boardcast domain เมื่อ Computer เครื่องที่ 1 ต้องการติดต่อกับ Computer เครื่องที่ 2 คำร้องขอของ Computer เครื่องที่ 1 จะกระจายไปทั่วระบบ Network ทำให้ Computer# 3 , Computer# 4 รับทราบข้อมูลไปด้วย ทำให้ระบบ Network มีประสิทธิภาพ ลดลง



ประโยชน์ของ Virtual LAN คือ
1. ช่วยลด Boardcast domain
2. ช่วยรักษาความปลอดภัย
3. สามารถวิเคราะห์ปัญหาของระบบ Network กรณีที่มีปัญหาได้รวดเร็ว



จากรูปภาพที่ 2 เมื่อกำหนด VLAN , 3 VLAN ที่ Switch hub รุ่น SMC6750L2
VLAN 1 ให้กับผู้ใช้ในฝ่าย Sale
VLAN 2 ให้กับผู้ใช้ในฝ่าย Account
VLAN 3 ให้กับผู้ใช้ในฝ่าย Service

ประโยชน์ที่ได้จากกำหนด VLAN จากรูปที่ 2 คือ

Boardcast domain มี 3 Boardcast domain คือ Sale, Account และ Service ลดการจราจรให้น้อยลงเพราะแบ่งกลุ่มกัน
สมาชิกในแต่ละ VLAN จะเห็นกันเอง แต่ต่าง VLAN จะไม่เห็นกัน เช่น VLAN 1 ไม่เห็น VLAN 2 , VLAN 3
กรณีที่ระบบ LAN ช้าผิดปกติเราสามารถวิเคราะห์จากกลุ่มผู้ใช้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่ากลุ่มไหนผิดปกติ หรือ กลุ่มไหนปกติเช่น กลุ่ม Sale ผิดปกติ แต่กลุ่ม Service ใช้งานปกติ แสดงว่ากลุ่ม Sale อาจจะมีปัญหาเรื่อง Boardcase domain

สรุปได้ว่าสิ่งที่กล่าวข้างต้นคือหลักการของการทำงานเกี่ยวกับ VLAN ที่เป็นแบบ Port Base โดยกำหนดที่ Port ของ Switching Hub เช่น Port ที่ 1 – Port ที่ 5 เป็น VLAN 1, Port ที่ 10 – Port ที่ 15 เป็น VLAN 2 และ Port ที่ 20 –Port ที่ 24 เป็น VLAN 3

ตามมาตรฐานมีการแบ่ง VLAN ไว้ 2 แบบคือ

Port Base
Policy Base
    - IP Subnet
    - Protocol type
    - Mac Address




ต่อๆ

หน้าจอให้ Click เลือกกันแบบง่ายๆเลย




PVID กำหนดสมาชิกให้กับแต่ละ Port




Port-base VLAN ในกรณีทำ VLAN ในลักษณะ Port Base ก็จัดการที่หน้านี้ได้เลย




QOS (Quality Of Service)
กำหนด Priority ให้แต่ละ Port ถ้าใช้ร่วมกับอุปกรณ์พวก Voice (VOIP) หรืออุปกรณ์ Network อะไรที่ต้องการข้อมูลเป็น Realtime ไม่มีสดุด ก็เลือกเป็น high ไปซะ




Bandwidth Control





Menu บาง Menu ทางผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักการเท่าไหร่ครับ ถ้าสมาชิกท่านใดทราบก็แจ้งกันเพื่อเป็นวิทยาทานกันด้วยนะครับ  ;D ;D



ปล. พูดถึง Nice&Easy นึกถึงเทปยุคซักเกือบ 20 ปีที่แล้ว ซื้อมาฟังทีไร เห็นหน้าปกแล้วไม่กล้าเอาเข้าบ้าน  :P :P :P






ทางร้าน Sysnet Center ต้องขอขอบคุณทาง NVK มา ณ.โอกาสนี้ด้วยนะครับ