Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,944
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • Review อุปกรณ์ Ubiquiti UniFi Access Point แบบใช้ Software Controller
    เริ่มโดย yod
    Read 140,494 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

Review อุปกรณ์ Ubiquiti UniFi Access Point แบบใช้ Software Controller



หัวข้อการ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi AP ที่ทางร้านได้จัดทำไว้

การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi AP และ Software Unifi Controller V.5
การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi AP และ Software Unifi Controller V.4
การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi AP และ Software Unifi Controller V.3
ลองใช้งาน Software Ubiquiti Unifi Controller V3
การ Config อุปกรณ์ UniFi AP เพื่อใช้งานใน Mode Hotspot Authenticate
การ Config Ubiquiti Unifi Access Point ใน Mode Uplink (WDS)
การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi Controller บน Linux Ubuntu 9.10
การ Backup ค่า Config Unifi Controller เพื่อใช้ที่เครื่องอื่น
ทดสอบติดตั้งระบบ Hotspot ด้วย Mikrotik ร่วมกับ Ubiquiti Unifi AP

ล่าสุดเป็น Version 5 แล้วนะครับ หัวข้อ Review นี้ 7 ปีกว่าๆ ตั้งแต่ 11/มีนาคม/2011 หน้าจอการ Config รวมถึง Feature ต่างๆ จะแตกต่างกันออกไปครับ

สวัสดีครับ


อุปกรณ์ Wireless Access Point ภายในอาคารรุ่นล่าสุด Ubiquiti UniFi AP ใช้มาตรฐาน IEEE 802.11n ได้ความเร็วสูงสุดถึง 300Mbps ใช้ย่านความถี่ 2.4GHz กำลังส่งสูงถึง 200mW (23dBm) สำหรับรุ่น UniFi AP และ กำลังส่งสูงถึง 500mW (27dBm) สำหรับรุ่น UniFi AP Long Range เสาอากาศแบบภายใน Gain ขยายที่ 3dBi จำนวน 2 ต้น SDRam ขนาด 64MB และ Flash ขนาด 8 MB (Unifi AP รุ่นธรรมดา) ใช้ Chipset AR7240 ทำให้รองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่ายได้จำนวนมากและรวดเร็ว อุปกรณ์ในชุดมาพร้อม POE ขนาด 24VDC ซึ่งช่วยให้การติดตั้งทำได้ง่าย เดินสาย UTP แค่เส้นเดียว รองรับ Multi-SSID และ Guest Mode ซึ่งจะยอมให้บุคคลภายนอกเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless แต่ไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ามาในวง Network ได้ ช่วยในเรื่องความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ในอนาคตเห็นว่าจะรองรับการ Authenticate บน RADIUS ได้ด้วยครับ

(ตอนนี้ทาง Ubiquiti ออก Software Controller V2.0 สามารถทำ Authenticate ได้แล้วครับ)

๊๊๊่้Ubiquiti Unifi Access Point ควบคุมการทำงานผ่าน Software Controller ซึ่งทาง Ubiquiti ใช้ชื่อว่า Unifi Controller (คล้ายๆกับพวก Aruba หรือ พวก Cisco WLC) ซึ่งขณะนี้ลองรับ OS Windows และ MAC ครับ สำหรับ Linux เห็นว่าทีม Engineer ของ Ubiquiti กำลังพัฒนาอยู่ (ล่าสุดรองรับ Debian กับ Ubuntu แล้วครับ ทางผมทดสอบแล้ว ใช้งานเหมือนกันเลย) Software Controller ที่ติดตั้งบน Computer จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Access Point ซึ่งข้อดีคือ จะรวมการทำงานเข้าที่จุดเดียว ควบคุม และ ตรวจสอบได้ง่าย เราจะ Disable ไม่ให้กระจายสัญญาณในจุดๆนั้น พอมีปัญหาที่อุปกรณ์ Access Point ก็สามารถ Monitor ดูได้ทันที

ใน Version 4 รองรับการทำ Multi-Site และควบคุมผ่านส่วนกลางได้ เช่น มี Site ที่ติดตั้ง Unifi ตามจังหวัดต่างๆ ส่วน Software Unifi ตั้งอยู่ที่ส่วนกลาง สามารถบริหารจัดการที่ส่วนกลางได้เลย (Ubiquiti บอกมา แต่ผมยังไม่เคยลอง  :P)


รองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่ายได้เยอะ หรือ จัดการเครื่อง Client ที่เข้ามาเชื่อมต่อจะให้เข้าในวงเครือข่ายหรือไม่ให้ได้อย่างอิสระ ทำ Multi-SSID ได้ถึง 4 SSID ต่อย่านความถี่ เพื่อแยกการเชื่อมต่อของแต่ละ Client ออกจากกัน


แต่ข้อเสียก็มีนะครับ ถ้าเครื่อง Computer เจ๊งก็จะไม่สามารถเข้าไป Control ที่ตัว Unifi ได้ แต่ตัว UniFi ก็ยังทำงานกันได้อยู่นะครับ สามารถเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless ได้ปกติ เท่าที่ลองใน Mode Guest จะไม่ทำงานครับ ควรเลือก Computer ที่มีความเสถียรซักหน่อย และระบบไฟฟ้าสำรองก็จะต้องมีติดไว้ด้วยครับ


๊ิรายการ Ubiquiti Unifi Access Point รุ่นที่ทางร้านจำหน่ายครับ การ Config จะเหมือนกันหมดทุกรุ่น ต่างกันในส่วนย่านความถี่ครับ

https://www.sysnetcenter.com/132-ubiquiti-unifi-ap


ทางลูกค้าของ Ubiquiti เคยใช้งาน อุปกรณ์ Unifi AP-LR เครื่องลูกข่ายเกาะ wireless พร้อมๆกันได้ถึง 119 เครื่องครับ แต่ Speed ไม่ได้บอก  :o :o :o





Package อุปกรณ์






อุปกรณ์ภายในกล่องก็จะมี Access Point, POE ขนาด 24VDC, User Manual และก็ แผ่น CD Software Controller แต่แนะนำให้ Download Version ล่าสุดที่ web Ubiquiti จะดีกว่าครับ




Access Point รูปร่างเหมือนจานบิน UFO แต่ติดตั้งแล้วดูสวยงามครับ แบนๆขาวๆ เข้ากับฝ้าเพดานได้ดี ลักษณะการกรจายสัญญาณจะเป็นแบบแนวนอนรอบทิศทาง เพราะฉะนั้น ติดอุปกรณ์แปะกับกำแพงไม่ได้นะครับ มันกระจายไปด้านบนกับด้านล่าง




ท้ายอุปกรณ์ Port Lan 1 Port ความเร็วที่ 10/100Mbps (รุ่น Unifi AP)




จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ จะยังไม่ทำงานนะครับ ไฟ Status จะเป็นสีส้ม




ถ้าเชื่อมต่อกับ Controller เรียบร้อยแล้ว ไฟ Status จะเป็นสีเขียว สวยดีครับ  :o





ทีนี้ก็ติดตั้ง Software Controller ลงเครื่อง Computer

มี Wizard ให้ติดตั้งเหมือนโปรแกรมทั่วๆไป โดยตัวโปรแกรมจะทำงานในลักษณะเป็น Service บน Windows ครับ




หลังจาก Launch a Browser to Manage Wireless Network ก็จะมีแผนผังที่เป็นตัวอย่างมาให้ครับ ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสถานที่จริงได้




ติดตั้ง Access Point ตามตำแหน่งต่างๆ






กำหนดชื่อสัญญาณ Wireless หลายๆ SSID ได้เลยครับ




กำหนด Policy ให้กับสัญญาณ Wireless เช่นพวก Security ต่างๆ






จัดการเรื่อง Guest Control ก็ประมาณแขกที่มาใช้งานครับ แล้วเราไม่ต้องการให้เขามาเชื่อมต่อกับในวง Network ของเรา เป็นการสร้างระบบความปลอดภัยขึ้นมาระดับนึงครับ และ ควบคุมการใช้งาน Internet มากกว่าปกติ เช่น ใส่ User/Password ในการเข้าใช้งาน หรือ กำหนด ระยะเวลาการใช้งาน Internet




สามารถ Block เครื่องลูกข่ายที่จะเข้ามาเชื่อมต่อได้ด้วยครับ




รายการ Access Point ที่อยู่ในระบบ และ แสดงเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อเข้ามา




แสดงรายการเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อเข้ามาทั้งหมด






จะตัดการเชื่อมต่อหรือจะ Block ก็ทำตรงนี้ได้เลย




ผมลอง Upload File ข้ามเครื่องดู ได้ Speed Wireless-N ซึ่งเร็วกว่า Wireless-G เยอะมากครับ จะช่วยเวลาใช้ภายในสำนักงานและต้องการ Share Resource ต่างๆทำได้อย่างรวดเร็ว






อุปกรณ์รุ่นนี้เหมาะมากครับสำหรับใช้ในสำนักงาน ด้วยรูปทรงที่สวยงาม มาพร้อม POE ทำให้ไม่ต้องเดินสายไฟไปตามจุดต่างๆ การ Control อุปกรณ์ผ่านศูนย์กลางที่เครื่อง Server และโดยปกติในสำนักงานส่วนใหญ่ก็มี Server กันอยู่แล้ว การติดตั้งโปรแกรม Software Controller ก็ติดตั้งที่ Server ได้เลย ในกรณีที่ปิดเครื่อง Server ก็ยังสามารถใช้งาน Wireless ได้ และเป็น Wireless N ที่ให้ความเร็วสูงสุดถึง 300Mbps สัญญาณก็สามารถทะลุทะลวงได้ดีด้วยกำลังส่งถึง 200mW และ 500mW สำหรับรุ่น UniFi AP L-R รองรับแขกที่เข้ามาภายในสำนักงาน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแอบมาเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายใน


ส่วน Software ทาง Ubiquiti เองก็พัฒนาโดยตลอด สามารถตรวจสอบ Version ล่าสุดได้ที่ ubnt.com ได้เลยครับ http://www.ubnt.com/forum/forumdisplay.php?f=48


เรื่องการจัดการ Authenticate เพื่อทำระบบ Hotspot ผมยังไม่ได้ทดสอบนะครับ แต่เห็นว่าในอนาคตทาง ubnt มี plan ที่จะพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อกับ Radius Server ได้ครับ  ;D ;D ;D
   
งานติดตั้ง Ubiquiti Unifi Access Point กระจายสัญญาณ Wireless
การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller (Windows)
การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi Controller บน Linux Ubuntu 9.10



ทางแอดมินเองได้ไปอบรมและสอบใบ cert เพิ่มเติม เพื่อจะได้ให้คำปรึกษาที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าได้ครับ





ถ้านำไปใช้ในห้องประชุม รองรับ client 100+ สามารถนำไปใช้ได้มั้ย ???

yod


สวัสดีครับ

เห็นทาง Ubiquiti โฆษณาไว้ว่าได้ถึง 200 Clients ครับ

แต่..เยอะๆขนาดนี้ ผมยังไม่เคยลองอะครับ  ;D

ท่าผมมีหลายสาขา แต่ละสาขา มี network คนละวง แต่เชื่อม IPsec VPN เอาไว้ ท่าตั้งตัว Controller ไว้ที่ HQ จะสามารถ control ตัวอุปกรณ์ที่ ติดตั้ง อยู่ที่สาขา ได้รึเปล่า ครับ
รบกวนด้วยนะครับผม

yod


ผมยังไม่เคยลองเรื่องการ Control ต่าง subnet กันครับ

เดี๋ยวถ้าว่างจะทดสอบดูครับ เพราะผมเองก็ทำ VPN IPsec ระหว่างที่บ้านกับที่ร้านเอาไว้ครับ

สมมติ วางในห้องเดียวกัน 2 ตัว เราตั้งชื่อเดียวกันได้ไหม และความถี่มันจะไม่ชนกันใช่ไหม
ที่นี้ถ้าได้ก็สงสัยต่อว่าเครื่องลูกมันจะเลือกเองใช่ไหมว่าจะเชื่อมต่อกับ accesspoint ตัวไหน
ขอบคุณมาก

ช่วยสอนการติดตั้ง Unifi software controller บน cloud ได้ไหม มันต้องตั้งค่าอะไรบ้าง

สวัสดีครับ  อยากทราบว่า ตัว UniFi AP Pro สามารถทำงานร่วมกับรุ่นใดได้บ้างใน controller ตัวเดียวกันครับ (จะเพิ่มตัวap)  และ ถ้าใช้พวก wireless repeater อย่างรุ่น Huawei WiFi Repeater รุ่น WS320 เครื่องลูกที่มาเกาะ  repeater จะมองเห็นใน controller ไหมครับ