Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,938
หัวข้อทั้งหมด
4,628

กระทู้ล่าสุด


กระทู้ล่าสุด

#11
อุปกรณ์ TP-LINK / การ Reset Factory Default TP-L...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 3 ตุลาคม 2023, 10:44:36
การ Reset Factory Default TP-Link JetStream Switch


TP-Link JetStream Switch หลายรุ่นไม่มีปุ่ม Reset มาให้ครับ ถ้าลืมค่า Config, IP Address, Username/Password ต้อง Reset ผ่านสาย Serial Console (ถ้าสายงาน Network จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีติดตัวไว้ครับ สำคัญกว่าสาย Lan อีก เพราะยังวิ่งหาซื้อกันง่ายๆ)




1. Download โปรแกรม Putty หรือ SecureCRT

กำหนด COM Port ถ้าใน Putty มันจะไม่ Detect ให้เอง ให้ดูใน Device Manager 
ตัวอย่าง เป็น USB Serial Port (COM6)



Baud rate: 38400
Data bits: 8
Priority: None
Stop bits: 1




2. เสียบปลั๊กที่ TP-Link Switch ที่หน้า CLI จะขึ้น "Hit any key to stop autoboot" ให้รีบกด Enter

จะขึ้น Menu TP-Link BOOTUTIL ให้พิมพ์เลข 2 แล้วพิมพ์ y อุปกรณ์จะทำการ Reset Factory Default







#12
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config Switch Virtua...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 2 ตุลาคม 2023, 11:35:22
คู่มือการ Config Switch Virtual Interface (SVI) TP-Link L2+ Switch

หัวข้อนี้จะเป็นการทำ Switch Virtual Interface (SVI) บนอุปกรณ์ TP-Link L2+ Managed Switch นะครับ


ตัวอย่าง

สร้าง Network VLAN, DHCP Server, แต่ละ VLAN สามารถออก Internet ได้

VLAN 1: 192.168.20.101/24
VLAN 10: IP 10.10.10.1/24
VLAN 20: IP 10.10.20.1/24
Port 1,2 : Trunk
Port 3: Untagged VLAN 10
Port 4: Untagged VLAN 20

Gateway จะเป็น Fortigate ครับ มี IP Address: 192.168.20.1


1. Login เข้า GUI ของ TP-Link L2+ Managed Switch

IP Default ของ TP-lInk จะเป็น 192.168.0.1 และ Enable DHCP Client ไว้ ถ้ามีการต่อเข้ากับ Gateway ให้ตรวจสอบว่าได้ IP Address อะไรไป





2. ต้องการเปลี่ยน IP Address อุปกรณ์ TP-Link

Menu L3 Features --> Interface --> Edit IPv4 VLAN1

IP Address Mode: Static
IP Address/Subnet Mask: กำหนด IP Address ตัวอย่างแก้ไข IP Address เป็น 192.168.20.101





3. สร้าง Interface VLAN

Menu L3 Features --> Interface --> Click [Add]

ตัวอย่างสร้าง VLAN 10
Interface ID: VLAN 10
IP Address Mode: Static
IP Address: 10.10.10.1
Subnet Mask: 255.255.255.0




สร้าง VLAN 20




4. สร้าง DHCP Server

Menu L3 Features --> DHCP Service --> DHCP Server --> Tab DHCP Server

Enable DHCP Server




Menu L3 Features --> DHCP Service --> Pool Setting --> Click [Add]

Pool Name: VLAN10
Network Address: 10.10.10.0
Subnet Mask: 255.255.255.0
Default Gateway: 10.10.10.1
DNS Server: 8.8.8.8




สร้าง DHCP Pool สำหรับ VLAN 20




5. สร้าง VLAN, กำหนด Taged, Untagged และ PVID

Menu L2 Features --> VLAN --> 802.1Q VLAN --> Click [Add]




VLAN ID: 10
VLAN Name: Staff
Untagged Port: 3
TaggedPort: 1, 2




VLAN ID: 20
VLAN Name: Staff
Untagged Port: 4
TaggedPort: 1, 2




Menu L2 Features --> VLAN --> 802.1Q VLAN --> Tab [Port Config]

แก้ไข PVID Port 3 : 10, Port 4 : 20







6. สร้าง Static Router , Default Route

สร้าง Static Route ที่ Fortigate ไปที่วง 10.10.10.0 และ 10.10.20.0






สร้าง Default Route ที่ TP-Link L2+ Managed Switch

Menu L3 Features --> Static Routing --> IPv4 Static Routing

Destination: 0.0.0.0
Subnet Mask: 0.0.0.0
Next Hop: 192.168.20.1




ทดสอบ

เชื่อมต่อ PC เข้าที่ Port 3 จะต้องได้รับ IP จากวง VLAN 10




ทดลองเข้า Internet




หลังจากทดสอบทุกอย่างเรียบร้อย ให้ Click [Save] ที่มุมขวาบนของ GUI ด้วยนะครับ จะเป็นการ Save ลงอุปกรณ์



เรียบร้อยครับ ;)



#13
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config VLAN TP-Link ...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 10 สิงหาคม 2023, 11:43:32
คู่มือการ Config VLAN TP-Link JetStream Switch


ตัวอย่างนี้จะต่อเนื่องจากหัวข้อนี้นะครับ คู่มือการ Config Inter-VLAN อุปกรณ์ TP-Link Safestream Router


กำหนด Port ของ TP-Link Switch ตามนี้

Port 8: Trunk เป็น Port Uplink ต่อเข้า TP-Link Router
Port 1-2: Access VLAN 10 เมื่อนำ PC มาเชื่อมต่อ จะต้องอยู่ในวง VLAN 10 10.0.10.0/24
Port 3-4: Access VLAN 20 เมื่อนำ PC มาเชื่อมต่อ จะต้องอยู่ในวง VLAN 20 10.0.20.0/24



1. Login เข้าหน้า Config TP-Link Switch

Default IP Address ของ TP-Link Switch จะเป็น DHCP Client ถ้าไม่ได้ต่อกับ Router เลข IP Default จะเป็น 192.168.0.1


แต่ถ้าต่อกับ Router ต้องเข้าไปดูใน DHCP Lease ว่า Router ได้แจก IP อะไรให้ไปครับ

User/Password: admin/admin





2. เปลี่ยน IP Address ของ TP-Link Switch

Menu L3 Features --> Interface --> Edit IPv4





3. สร้าง VLAN

Menu L2 Features --> 802.1Q VLAN --> VLAN Config --> Click [Add]




สร้าง VLAN ID: 10
Untagged Ports: Enable Port 1, 2
Tagged Ports: Enable Port 5, 6, 7, 8



Click [Create]


สร้าง VLAN ID: 20
Untagged Ports: Enable Port 3, 4
Tagged Ports: Enable Port 5, 6, 7, 8



Click [Create]


นำ Untagged VLAN 1 ออกจาก Port 1, 2, 3, 4



Click [Save]


กำหนด PVID ให้ Port ที่เป็น Access Port

Menu L2 Features --> 802.1Q VLAN --> Port Config

กำหนด PVID 10 ให้ Port 1, 2



Click [Apply]







*** หลังจาก Config อุปกรณ์ TP-Link Switch เรียบร้อย จะต้อง Click [Save] ที่ Menu ด้านบนขวาเพื่อให้ค่า Config ถูกบันทึกด้วยนะครับ ถ้าไม่ Click พอ Reboot ค่าต่างๆจะหาย ***






ทดสอบ

เชื่อมต่อ PC เข้ากับ Port 3 ของ TP-Link Swtich จะได้ IP ของวง VLAN 20 คือ 10.0.20.0/24






#14
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config Inter-VLAN อุ...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 10 สิงหาคม 2023, 10:49:46
คู่มือการ Config Inter-VLAN อุปกรณ์ TP-Link Safestream Router

ในหัวข้อนี้จะเป็นการ Config Inter-VLAN สำหรับอุปกรณ์ TP-Link Safestream Router ใน Mode Standalone ครับ


ตัวอย่างเป็นการ Config รุ่น TP-LINK ER707-M2

ต้องการสร้าง VLAN10,20

VLAN10: IP 10.0.10.1/24
VLAN20: IP 10.0.20.1/24

จะให้ Port Lan [2] เป็น Access Port VLAN10 สำหรับเชื่อมต่อกับ PC ให้อยู่ในวง Network 10.0.10.1
ส่วน Port Lan [6] เป็น Port Trunk เพื่อเชื่อมต่อกับ Managed Switch

รวมถึง Block ไม่ให้ VLAN20 สามารถเชื่อมต่อหา VLAN1 และ VLAN10 ได้


1. เชื่อมต่อ Internet

ตัวอย่างจะมี Internet 2 เส้น เป็นแบบ PPPoE และ DHCP

Default IP: 192.168.0.1, user=admin, Password=admin

สำหรับรุ่น TP-LINK ER707-M2 Port WAN1 จะเป็น Port เลข 1 และ WAN2 จะเป็น Port เลข 3 ที่แผงด้านหน้าของ ER707-M2 ต้องต่อสายให้ถูกต้องนะครับ
ส่วน Port LAN จะเป็น Port เลข 2,4,5,6 และ 7




Set Internet WAN1

Click [2.5G WAN1]

Connection Type: PPPoE
Username/Password: ได้จาก ISP

Click [Save] รอซักครู่ ถ้า Modem Router ทำการ Set เป็น Bridge และ Username/Password ถูกต้อง จะได้หมายเลข IP Address จาก ISP




Set Internet WAN2

Click [WAN/LAN3]

Conection Type: Dynamic IP

Click [Save]






2. สร้าง Interface VLAN

Menu LAN --> LAN --> Click[Add]




สร้าง VLAN10
Name: VLAN10
IP Address: 10.0.10.1
Subnet Mask: 255.255.255.0
Mode: Normal
VLAN: 10
DHCP Mode: DHCP Server
Status: Enable
Starting IP Address: 10.0.10.10
Ending IP Address: 10.0.10.254
Default Gateway: 10.0.10.1
Primary DNS: 8.8.8.8



Click [Save]


สร้าง VLAN 20 เพิ่ม




ถ้าต้องการเปลี่ยนหมายเลข IP Address ของ TP-Link Router ให้ Click Edit ที่ LAN


3. กำหนด Port LAN [2] เป็น Access VLAN10

Menu VLAN --> VLAN




Click Edit ที่ Column VLAN10

Ports: 2 เลือก Untag




Click Edit ที่ Column VLAN1

Ports: 2 เอา Checkbox ออก (Disable)




Click Edit ที่ Column VLAN20

Ports: 2 เอา Checkbox ออก (Disable)




ตรวจสอบที่ Menu Ports จะเป็นว่า Ports 2 เป็น VLAN10 Untag ส่วน Port อื่นๆจะเป็น Trunk




4. สร้าง ACL (Access Control List)


กรณีต้องการ Block ไม่ให้ VLAN20 เชื่อมต่อมายัง VLAN10 และ VLAN1 ได้ ต้องสร้าง Access Control List

Menu Firewall --> Access Control --> Click [Add]

Name: ตั้งชื่อให้สื่อ
Policy: Block

Service Type: All

Direction: LAN->LAN
Source Network: VLAN20
Destination Network: VLAN10
Effective Time: Any



สร้างกฏ Block VLAN20 ไป VLAN1 เพิ่ม





ทดสอบ

ต่อสาย LAN จาก PC เข้าที่ Port 2 ของ TP-Link Router จะต้องได้ IP VLAN10











#15
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config TP-Link Acces...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 9 สิงหาคม 2023, 14:43:06
คู่มือการ Config TP-Link Access Point

ในหัวข้อนี้จะเป็นการ Config อุปกรณ์ Access Point TP-Link ใน Mode Standalone (ไม่ได้ใช้ Controller) ครับ


1. เชื่อมต่อสาย Lan จาก PC ไปยัง TP-Link Access Point

ทำการ Fix IP ที่ Card LAN ของ PC เป็น IP: 192.168.0.2

วิธีการ Fix IP Address ใน Windows 11
วิธีการ Fix IP Address ใน Windows 10



2. เปิด Browser พิมพ์ 192.168.0.254 ซึ่งเป็น Default IP TP-Link Access Point
User: admin, Password: admin

ทำการเปลี่ยน User/Password



จะเข้าหน้า Wizard

กำหนดชื่อสัญญาณ WIFI (SSID) และ Password (WIFI Security) แก้ไขทีหลังได้ครับ







3. Wireless Setting

Menu Wireless --> Wireless Settings

เป็น Menu ปรับแต่งชื่อสัญญาณ Wireless



Click [Edit] เพื่อแก้ไข SSID, Password





4. Mode Band Steering

Menu Wireless --> Band Steering

กรณีกำหนดชื่อ SSID และ Password เหมือนกันทั้ง 2 ความถี่ 2.4/5GHz เวลา Client เชื่อมต่อสัญญาณ ถ้า Client รับสัญญาณคลื่น 5GHZ ได้ดี จะเชื่อมต่อคลื่น 5GHz





5. MAC Filter

Menu Wireless --> MAC Filtering

Allow: กำหนดว่าจะยอมให้ Device ที่เชื่อมต่อ WIFI เข้ามาต้องมี MAC Address ตรงกับที่ระบุไว้เท่านั้น
Deny: กำหนดว่าจะไม่ให้ Device ที่ระบุ MAC Address ไว้เชื่อมต่อ WIFI ได้







6. Fix IP Address

Menu  Management --> Network





7. ปิด/เปิด ไฟ LED กรณีติดตั้งในห้องนอน

Menu Management --> LED Control





#16
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config TP-Link Wirel...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 1 สิงหาคม 2023, 14:47:14
คู่มือการ Config TP-Link Wireless Router ใน Mode Access Point


ปกติเวลาเราซื้อ Wireless Router มาเพิ่ม ส่วนใหญ่ก็จะนำมาทำเป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณ WIFI เพิ่มเติมกันครับ โดยจะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ Modem Router ที่ทางผู้ให้บริการ Internet ให้มา อาจจะเดินสาย LAN ไปติดตั้งที่ชั้น 2 เพื่อให้ได้ระยะสัญญาณได้ไกลขึ้นความเร็ว Internet ที่ชั้น 2 ก็จะเร็วขึ้น

และถ้าต้องการให้พวก Device ต่างๆเชื่อมต่อ WIFI ตัว Wireless Router ที่ได้มาใหม่ และให้ได้ IP อยู่ในวง Network เดิมกับของ Modem Router เพื่อความสะดวกที่จะให้อุปกรณ์ Network ต่างๆสามารถเชื่อมต่อหากันได้ เราจะต้องทำการ Set ตัว Wireless Router ให้เป็น Mode Access Point ครับ


ตัวอย่างจะเป็นการ Config TP-Link Archer AX23 อุปกรณ์ TP-Link Wireless Router แต่ละรุ่นจะ Config คล้ายๆกันครับ


1. เชื่อมต่อ Port LAN จาก PC ไปที่ Port LAN1 ของ TP-Link Wireless Router และเชื่อมต่อ Port LAN จาก Modem Router ไปที่ Port WAN ของ TP-Link Router





2. เปิด Browser พิมพ์ URL: http://tplinkwifi.net

ทำการกำหนด Password ใหม่



จากนั้น Login ด้วย Password ที่สร้างใหม่





3. กำหนด Mode Access Point

Click [Change Mode] แล้วทำการเปลี่ยนเป็น Mode AP






รอ TP-Link Wireless Router ทำการ Reboot ซักครู่

กำหนดชื่อสัญญาณ Wireless (SSID) และ Password






เรียบร้อยครับ




ทดสอบ

เชื่อมต่อ WIFI ด้วย Smartphone จะได้ IP วงเดียวกันกับ Modem Router ของเดิม (จากรูป ที่ร้านใช้วง 192.168.10.1 ครับ)




Test Speed





4. ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อสัญญาณ WIFI (SSID)

Menu Wireless --> Wireless Settings





5. ถ้าต้องเปลี่ยนหมายเลข IP ของ TP-Link Wireless Router

Menu Internet --> WAN
IP-Type เลือก Static IP

#17
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการตั้ง Schedule WIFI อุ...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 28 กรกฎาคม 2023, 11:55:36
คู่มือการตั้ง Schedule WIFI อุปกรณ์ TP-Link Access Point


การกำหนด Schedule WIFI จะเป็นการ ปิด/เปิด WIFI ไม่ให้ปล่อยสัญญาณออกมาในเวลาที่กำหนดครับ


การ Config Schedule WIFI ในหัวข้อนี้จะทำผ่าน TP-Link Controller ครับ

ตัวอย่าง
กำหนดให้ใช้ Internet ผ่าน WIFI ได้ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-18.00น.


Login เข้า TP-Link Controller


1. กำหนดช่วงเวลา

Menu Profiles --> Time Range --> Click [Create New Time Range]

Name: ชื่อ Schedule
Day Mode: Customize
Monday-Friday: 08:00am - 06:00pm



Click [Save]


2. กำหนดสัญญาณ WIFI ที่ต้องการตั้งเวลา

Menu Wireless Networks --> WLAN --> เลือก SSID แล้ว Click [Edit]




WLAN Schedule: Enable
Action: Radio on
Time Range: เลือก Profile ที่กำหนดไว้ในข้อ 1




Click [Apply]


เรียบร้อยครับ

#18
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config L2TP IPSecs V...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 28 กรกฎาคม 2023, 11:13:07
คู่มือการ Config L2TP IPSecs VPN บน TP-Link Router


*** กรณีต้องการติดตั้ง VPN เพื่อเชื่อมต่อเข้ามาในสำนักงาน จะมีรายละเอียดพอสมควร รบกวนอ่านในหัวข้อนี้กันก่อนครับ ต้องการเชื่อมเครือข่าย Network ระหว่างสำนักงานด้วย VPN
ข้อดีของ WireGuard VPN
***



ตัวอย่างการ Config L2TP VPN ในหัวข้อนี้จะทำผ่าน TP-Link Controller ครับ ส่วน TP-Link Router จะเป็นรุ่น TP-LINK ER707-M2 Omada Multi-Gigabit VPN Router, 6 WAN Internet


Config ให้ TP-Link Router ออก Internet และทำการ Config Dynamic DNS โดยจะใช้ Service ของ No-IP





ข้อดี VPN แบบ L2TP คือง่ายครับ
ข้อเสีย ถ้า Client Remote เข้ามาในสำนักงาน แล้วฝั่ง Client ที่อยู่ Network ปลายทางแล้ววงเดียวกัน จะ Remote เข้ามาพร้อมๆกันไม่ได้ครับ ได้แค่เครื่องเดียว ต้องทำแบบ Site To Site VPN


1. สร้าง VPN Policy

Login เข้า TP-Link Controller

Menu VPN --> VPN --> Click [Create New VPN Policy]



Name: ชื่อ VPN
Status: Enable
Purpose: Client To Site
VPN Type: VPN Server - L2TP
IPsec Encryption: Encrypted
Authentication Mode: Local
Local Network Type: Network
Local Network: All
Preshared Key: ใส่ Key 8 หลัก
IP Pool Type: IP Address Range
IP Pool: 192.168.0.30 - 192.168.0.40



Click [Apply]



2. สร้าง VPN User

Tab VPN User --> Click [Create New VPN User]



Username: VPN User
Password: VPN Password
Protocol: L2TP/PPTP
Local IP Address: 10.0.0.2
Mode: Client
Maximum Connections: 3



Click [Create]



3. สร้าง VPN Dial-Out ใน Windows

Control Panel --> Network & Internet --> VPN --> Click [Add VPN]



Server name or Address: WAN IP ของ TP-Link Router หรือ Dynamic DNS
VPN Type: L2TP/IPSec with pre-shared key
Pre-shared key: Key จากข้อ 1
Username/Password: VPN User จากข้อ 2

Click [Save]



ทดสอบ

Connect จะได้ IP จาก VPN Server




VPN Status จะแสดงใน Menu Insign




ทดลอง Ping ไปยังเครื่องที่อยู่ในสำนักงาน ถ้า Ping ไม่ได้ อาจจะ Config ไม่ถูกต้อง หรือ ติด Firewall บน Windows




ลอง Transfer File




เรียบร้อยครับ

#19
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config WireGuard VPN...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 28 กรกฎาคม 2023, 10:41:43
คู่มือการ Config WireGuard VPN บน TP-Link Router


อุปกรณ์ TP-Link Router Omada Series ได้รองรับ WireGuard VPN แล้วนะครับ


*** กรณีต้องการติดตั้ง VPN เพื่อเชื่อมต่อเข้ามาในสำนักงาน จะมีรายละเอียดพอสมควร รบกวนอ่านในหัวข้อนี้กันก่อนครับ ต้องการเชื่อมเครือข่าย Network ระหว่างสำนักงานด้วย VPN
ข้อดีของ WireGuard VPN
***



Protocol WireGuard VPN

ข้อดี
- เร็ว ค่า VPN Throughput จะสูงกว่าพวก VPN Protocol รุ่นเก่าๆเช่น L2TP, PPTP
- กรณีทีทำ VPN แบบ Client To Site หรือ Client Remote เข้ามาในสำนักงาน ฝั่ง Client ที่อยู่ Network ปลายทางแล้ววงเดียวกัน จะ Remote เข้ามาพร้อมๆกันได้หลายเครื่อง
- สามารถเปลี่ยน Port สำหรับเชื่อมต่อ VPN เข้ามาได้

ข้อเสีย
- Config จะยากซักหน่อย
- ต้องติดตั้ง Software WireGuard เพิ่ม


ตัวอย่างการ Config WireGuard VPN ในหัวข้อนี้จะทำผ่าน TP-Link Controller ครับ ส่วน TP-Link Router จะเป็นรุ่น TP-LINK ER707-M2 Omada Multi-Gigabit VPN Router, 6 WAN Internet


Config ให้ TPLink Router ออก Internet และทำการ Config Dynamic DNS โดยจะใช้ Service ของ No-IP





1. สร้าง WireGuard Interface

Login เข้า TP-Link Controller

Menu VPN --> WireGuard --> Click [Create New WireGuard]



Create New WireGuard

Name: กำหนดชื่อ
Status: Enable
MTU: 1420 (Default)
Listen Port: 51820 (Default)
Local IP Address: หมายเลข IP ของ Interface WireGuard (ควรเป็น IP วงเดียวกันกับ TP-Link Router)



Click [Apply]


*** ทำการ Copy Public Key ใส่ไว้ใน Notepad จะเป็น Public Key ในส่วน Peer ที่จะใส่ใน Software WireGuard




2. ติดตั้ง Software WireGuard

Download Software WireGuard https://www.wireguard.com/install/ แล้วทำการติดตั้งให้เรียบร้อย ในตัวอย่างนี้จะใช้บน Windows นะครับ

Software WireGuard --> Click [Add Tunnels] --> Add empty tunnel



*** ทำการ Copy Public Key ใส่ไว้ใน Notepad จะเป็น Public Key ในส่วน Interface ที่จะใส่ใน Software WireGuard


3. สร้าง Peers

TP-Link Router --> Menu VPN --> WireGuard --> Tab Peers --> Click [Create New Peer]




Name: ชื่อ Peer
Status: Enable
Interface: ชื่อ Interface ที่สร้างไว้ในข้อ 1
Allow Address: กำหนดหมายเลข IP
Public Key: นำ Public Key ที่ได้จากข้อ 2 มาใส่



Click [Apply]


4. แก้ไข Tunnel Config ของ Software WireGuard

Format ของ Config จะประมาณนี้ครับ


[Interface]
PrivateKey = qMGz9F4yQ2XLNG9h4Pqp88afjM6ir0+ejIjuCiop+2Y=
Address = 10.0.0.2/24
DNS = 8.8.8.8, 8.8.4.4

[Peer]
PublicKey = leT8mzBSbox/QBdgz96238TgANQu9wDJjIQNaGqfWSo=
AllowedIPs = 0.0.0.0/0
Endpoint = sysnet.ddns.net:51820




รายละเอียดตามนี้ครับ

PrivateKey: ค่า Drafault ที่ Software WireGuard สร้างขึ้นมา ไม่ต้องแก้ไข
Address: Allow Address จากข้อ 3
DNS = 8.8.8.8, 8.8.4.4
PublicKey: Public Key จากข้อ 1
AllowedIPs = 0.0.0.0/0
Endpoint = IP WAN ของ TP-Link Router หรือ Dynamic DNS:Listen Port จากข้อ 1






ทดสอบ

Click [Activate] ถ้า Config ถูกต้อง จะมี Data Trnasfer





ตรวจสอบ Status ได้ที่ Menu Insign




ทดลอง Ping ไปยังเครื่องที่อยู่ในสำนักงาน

ถ้า Ping ไม่ได้ อาจจะ Config ไม่ถูกต้อง หรือ ติด Firewall บน Windows




ลอง Transfer File จะได้ Throughput สูงกว่า VPN แบบ L2TP เกือบ 3 เท่า




เรียบร้อยครับ

#20
อุปกรณ์ TP-LINK / คู่มือการ Config TP-Link Omada...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 27 กรกฎาคม 2023, 12:34:25
คู่มือการ Config TP-Link Omada Series


ในหัวข้อนี้จะเป็นการ Config อุปกรณ์ TP-Link ที่รองรับ Omada Controller


ตัวอย่าง ที่ใช้งานกันบ่อยๆครับ





- ทำ Loadbalance Internet 2 WAN

- ทำ VLAN
VLAN 10: 10.10.10.1/24 สำหรับ Staff
VLAN 20: 10.10.20.1/24 สำหรับ Guest

- ทำ Multi-SSID VLAN Tagging
SSID: Staff-WIFI VLAN 10
SSID: Guest-WIFI VLAN 20 มี Captive Portal ใส่ Code เพื่อเข้าใช้งาน Internet จำกัดความเร็วที่ 50Mbps

- Port 2 ของ Network Switch เชื่อมต่อกับ PC สำหรับ Staff





จะใช้อุปกรณ์ตามนี้ครับ

Gateway TP-Link ER707-M2
Controller TP-Link OC200
Network Switch TP-LINK TL-SG2210MP
Access Point TP-LINK EAP225



1. เชื่อมต่อสาย Lan เข้าอุปกรณ์ทั้งหมด


โดย Default หมายเลข IP ของ TP-Link Controller จะเป็น DHCP ให้ Login เข้า Gateway เพื่อดูว่าเป็นหมายเลข IP อะไร

Default IP: 192.168.0.1, User: admin , ส่วน Password ให้ทำการแก้ไขแล้วจดไว้ด้วยนะครับ




Menu Network --> LAN --> DHCP Client List จากรูปได้ IP: 192.168.0.102




Port WAN ของ TP-Link ER707-M2





2. Initial Setup TP-Link Controller

จะเข้า Wizard บางขั้นตอนจะตัดออกนะครับ






กำหนด WAN




กำหนด User/Password สำหรับ Login เข้า TP-Link Omada Controller




เรียบร้อยครับ





3. ถ้าไม่ติดปัญหาอะไร อุปกรณ์ TP-Link ทั้งหมด Status จะต้องขึ้น Connected แต่ถ้าขึ้น Pending ให้ Click Adopted





4. เชื่อมต่อ TP-Link Cloud สำหรับ Remote จากภายนอก

Menu ขวาบน Organization: Global

ให้ทำการ Register ที่  https://omada.tplinkcloud.com








5. แก้ไขการเชื่อมต่อ Internet

เลือก Organization: Default

Menu Settings --> Wired Network --> Internet




ตรวจสอบการ เชื่อมต่อ Internet





6. สร้าง VLAN

Menu Settings --> Wired Network --> LAN

สร้าง VLAN 10
Name: ชื่อ
Purpose: Interface
LAN Interface: เลือก Port Lan แนะนำเลือกทั้งหมด
VLAN Type: Single
VLAN: 10
Gateway/Subnet: 10.10.10.1/24
DHCP Server: Enable (แจก IP)
DHCP Range: 10.10.10.10-10.10.10.200
Lease Time: 2880 Minute
Default Gateway: Auto

Click [Save]




สร้าง VLAN 20





7. กำหนด Port LAN2 ของ Network Switch เป็น Access VLAN 10 เพื่อเชื่อมต่อกับ PC

โดย Default Port ของ Switch จะเป็น Trunk และ Untagged VLAN 1

Menu Device --> Switch --> Ports --> Click Edit ที่ Port 2




เลือก Profile: Staff-VLAN10



Click [Apply]


ทดสอบ

PC ต่อสาย LAN ที่ Port 2 จะต้องอยู่ในวง VLAN 10




ทดสอบออก Internet





8. สร้าง Multi-SSID VLAN Tagging

Menu Wirelss Networkl --> WLAN --> Click [Create New Wireless Network]



Network SSID: @Staff-WIFI
Band: Enable ทั้งหมด
Security: WPA-Personal
Security Key: รหัส WIFI
VLAN: 10



Click [Apply]


สร้างอีก SSID

Network SSID: @Guest-WIFI
Band: Enable ทั้งหมด
Security: None
VLAN: 20
Client Rate Limit Profile: กำหนดความเร็ว Internet ตัวอย่าง 50/50Mbps



Click [Apply]



9. สร้าง Captive Portal สำหรับ Guest WIFI


Menu Authentication --> Portal --> Click [Create New Portal]




Portal Name: ชื่อ Portal
Protal: Enable
SSID & Network: เลือก SSID Guest-WIFI
Authenticate Type: Hotspot
Type: Voucher




พวก Background สี ข้อความ แก้ไขได้ครับ



Click [Apply]


สร้าง Voucher เข้า URL: https://<หมายเลข IP Controller>/login#hotspot





ตัวอย่าง Generate 10 Voucher




ทดสอบ

เชื่อมต่อ WIFI Staff




เชื่อมต่อ WIFI Guest

จะ Redirct ไปที่หน้า Captive Portal






Test Speed



 
10. สร้าง ACL (Access Controll List) 

Block ไม่ให้วง VLAN 20 (Guest) มาที่วง VLAN 10 (Staff)

เวลาเราสร้าง Inter-VLAN จะมีการสร้าง Default-Route โดยอัตโนมัติ แต่ละวง VLAN จะเชื่อมต่อหากันได้


ตัวอย่าง 
กำหนด Port 3 ของ Switch เป็น VLAN 20 เพื่อทดสอบ




Menu Network Security --> ACL --> Create New Rules --> Gateway ACL

Name: ชื่อ
Status: Enable
Direction: LAN --> LAN
Policy: Deny
Rule:
Source: Guest-VLAN20
Destination: Staff-VLAN10



Click [Apply]


ทดสอบ Ping ข้ามวง




เรียบร้อยครับ