Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะไกล ด้วยระบบไร้สาย หรือ Wireless
    เริ่มโดย yod
    Read 98,521 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะไกล ด้วยระบบไร้สาย หรือ Wireless






สำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระยะไกลเข้าด้วยกัน เช่น เชื่อมต่อจาก Computer จากอีกพื้นที่นึง ไปยัง Computer อีกพื้นที่นึง, เชื่อมต่อ Computer ไปยัง ADSL Modem Router/ Switch Hub เพื่อต่อออก Internet หรือจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IP Camera กับ NVR หรือ Gateway/Router เพื่อดูภาพจากกล้อง หรือเชื่อมต่อกับ Internet ใช้ระบบ Stock เชื่อมเครือข่ายจากโรงงานไปสำนักงาน


โดยปกติ ถ้าระยะทางไม่เกิน 100 เมตร การเชื่อมต่อเครือข่ายจะสามารถใช้สาย Lan (UTP) เชื่อมต่อหากันได้เลย (ข้อกำหนดของการเดินสาย Lan คือไม่เกิน 100 เมตร ถ้าเกิน 100 เมตร ต้องนำ Switch/Hub มาคั่นอีกที) หรือ ถ้าต้องการระยะทางมากกว่านี้จะต้องเลือกเป็น Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสงแทนครับ แต่ค่าใช้จ่ายจะค่อนข้างสูงมาก และถ้าในกรณีที่ไม่สามารถเดินสาย Lan หรือ Fiber Optic ได้ เช่นเชื่อมระหว่างอาคารกับอาคาร สถานที่นึงไปยังอีกสถานที่นึง จากถนนอีกฝั่งไปยังถนนอีกฝั่ง หรือ จากกล้อง IP Camera อาจจะติดตั้งที่โรงงานอีกสถานที่นึงแล้วส่งต่อมายังที่พัก มองแบบง่ายๆ คือแปลงข้อมูลจากสาย Lan เป็นคลื่นวิทยุ อีกฝั่งก็แปลงข้อมูลจากคลื่นวิทยุเป็นสาย Lan

การเชื่อมต่อเครือข่ายด้วย Wireless ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ครับ เช่นงาน

เชื่อมต่อเครือข่ายระยะทาง 34 กิโลเมตร ด้วย Ubiquiti RocketM5 ห้วยขาแข้ง การเชื่อมต่อลักษณะนี้ที่มี Access Point ต้นทาง และ Access Point ปลายทาง จะเรียกว่าการเชื่อมต่อแบบ Point To Point (PTP) หรือตัวอย่างงานติดตั้งอื่นๆจาก Link นี้ครับ งานติดตั้งอุปกรณ์ Wireless, เครือข่ายไร้สาย, ระบบ Hotspot, Network


อุปกรณ์สำหรับทำระบบแบบนี้จะเรียกว่าอุปกรณ์ Access Point ครับ โดยในปัจจุบัน ผู้ผลิตอุปกรณ์ Access Point จะออกแบบอุปกรณ์สำหรับเพื่องานลักษณะแบบนี้โดยเฉพาะ ออกแบบมาเป็นแบบภายนอกอาคาร กันฝน กันแดด ทน UV ทำงานได้ที่อุณหภูมิสูง รวมถึงมีกำลังส่งที่สูง Gain ขยายสัญญาณของเสาสูง ส่งได้ไกลหลายๆกิโลเมตร หลายๆรุ่นจะมีเสาอากาศติดมากับในตัวอุปกรณ์เลย

เช่น Engenius ENS500 มาตรฐาน IEEE 802.11a/n จะมีเสาอากาศ 10dBi ภายในตัวอุปกรณ์ เลย ส่งสัญญาณย่านความถี่ 5GHz ความเร็ว 300Mbps ออกแบบใช้งานภายนอกอาคารมาตรฐาน IP65 มาตรฐาน IP-Ingress Protection Ratings การกันฝุ่น กันฝน กันน้ำ

หรือ

บางรุ่นสามารถเสาอากาศได้ตามต้องการ โดยจะมีหัวต่อ Connector ให้ เช่น Ubiquiti Rocket M5 จะมีหัวต่อแบบ SMA สามารถเลือกเสาอากาศใช้งานตามต้องการได้เลยครับ


ระบบจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์จะอยู่ในรูปแบบ POE (Power Over Ethernet) ซึ่งอุปกรณ์ POE นี้ จะเป็นการจ่ายไฟร่วมไปกับสาย Lan ที่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Access Point เพราะถ้าต้องเสียบปลั๊ก Adapter 220VAC ใกล้ๆกับอุปกรณ์ ในกรณีที่เราติดตั้งภายนอกอาคาร จะอันตรายมาก เสี่ยงไฟรั่วไฟดูดสูง หรือจะต่อสาย Adapter ให้ยาวขึ้นก็ไม่สามารถทำได้ เพราะแรงดันไฟ DC จะลดลงเมื่อระยะของสายไกลมากขึ้น




แต่ POE ก็จะมีข้อจำกัดคือ สาย Lan ที่ใช้ต้องเป็นสาย Lan แท้คุณภาพสูง เนื่องจากไฟที่ไหลผ่านสาย Lan จะเป็นไฟ DC ปัญหาของไฟ DC คือยิ่งความต้านทานในสายยิ่งสูง Voltage จะยิ่งลดลง การใช้สาย Lan ที่ไม่ได้คุณภาพ จะทำให้ไฟ DC ที่จะไปเลี้ยงอุปกรณ์ไม่พอเช่นต้นทางออกไปที่ 24 VDC ปลายทางเหลือแค่ 10VDC จะทำให้อุปกรณ์ไม่สามารถใช้งานได้ครับ หรือเปิดไม่ติดนั้นเอง


การเลือกย่านคลื่นความถี่ที่ใช้งาน ในประเทศไทย ทาง กสทช.ได้อนุญาติให้ใช้งานได้ 2 ความถี่โดยไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาติคือ  ย่านความถี่ 2.4GHz และย่านความถี่ 5GHz ได้ แต่จะต้องมีกำลังส่งของอุปกรณ์ตามที่ กสทช.กำหนด คร่าวๆคือ 2.4GHz ค่า EIRP ไม่เกิน 20dB และ 5GHz ค่า EIRP ไม่เกิน 30dB รายละเอียดส่วนนี้ค้นหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Google นะครับ  ;D


ย่านความถี่ 2.4GHz ย่านความถี่นี้ใช้งานในประเทศไทยมานาน อุปกรณ์ Notebook, ตัวรับสัญญาณ Wireless ทั่วๆไป สามารถรับสัญญาณย่านความถี่นี้ได้ การทะลุผ่านสิ่งกีดขวางของสัญญาณจะดีกว่าย่านความถี่ 5GHz แต่ปัญหาคือมีช่องสัญญาณ (Channel) ให้เลือกใช้ได้น้อย คือ 1-11 และการเลือกใช้ช่องสัญญาณโดยไม่ให้คลื่นมีการคาบเกี่ยวกันจะเลือกได้แค่ 1,6 และ 11 ในกรณีที่มีการใช้งานช่องสัญญาณทับซ้อนกัน เช่นเราก็ใช้ Channel 1 และ ข้างบ้านก็ใช้ Channel 1 จะทำให้มีการกวนกันของสัญญาณ ทำให้ความเร็วในการเชื่อมต่อที่ได้ลดต่ำลงมากครับ แต่ถ้าพื้นที่ที่ติดตั้งไม่มีใครใช้ไม่มีที่พักอาศัยก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีครับ


ย่านความถี่ 5GHz ย่านความถี่นี้ในประเทศไทยเพิ่งอนุญาติให้ใช้งานครับ ข้อดีคือจำนวนช่องสัญญาณให้เลือกใช้เยอะมากสามารถเลือกได้ทุกช่องโดยไม่มีคลื่นมาคาบเกี่ยวกัน การทับซ้อนของสัญญาณจึงแทบจะไม่มีเลย (เว้นแต่สถานที่ๆใช้กันเยอะมากๆครับ) สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีกำลังส่งได้สูงได้ และ Bandwidth ที่ได้จะสูงกว่า 2.4GHz ยิ่งถ้าเป็น Access Point รุ่นใหม่ๆ มาตรฐาน IEEE 802.11ac จะได้ความเร็วสูงถึง 800Mbps กฏหมายก็อนุญาติให้ใช้กำลังส่งได้สูงกว่า ถ้าให้ผมแนะนำสำหรับการใช้งานแบบ Point To Point หรือ Point To Multi-Point เลือกใช้ย่าน 5GHz จะดีกว่า 2.4GHz ครับ


เรื่องมาตรฐาน IEEE 802.11 ผมขออธิบายคร่าวๆนะครับ

ก๊อปจาก wiki เลย  ;D ;D

IEEE 802.11 คือมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สายกำหนดขึ้นโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็นมาตรฐานกลาง ที่ได้นำมาปฏิบัติใช้ เพื่อที่จะทำการเชื่อมโยงอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเข้าด้วยกันบนระบบ ในทางปกติแล้ว การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สองชิ้น นั่นคือ

แอคเซสพอยต์ คือตัวกลางที่ช่วยในการติดต่อระหว่าง ตัวรับ-ส่งสัญญาญไวเลส ของผู้ใช้ กับ เราต์เตอร์ผ่านทางสายนำสัญญาณที่ทำจากทองแดงที่ได้รับการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย เช่น สายแลนหรือสายโทรศัพท์ ADSL หรือผ่านทางสายใยแก้วนำแสง
ตัวรับ-ส่งสัญญาณไวเลส ทำหน้าที่รับ-ส่ง สัญญาณ ระหว่างตัวรับส่งแต่ละตัวด้วยกันหรือระหว่างตัวลูกข่ายกับแอคเซสพอยต์

IEEE 802.11a: ย่านความถี่ 5GHz ความเร็วสูงสุด 54Mbps
IEEE 802.11b: ย่านความถี่ 2.4GHz ความเร็วสูงสุด 11Mbps (เครื่องรุ่นนี้น่าจะนำไปถมที่หมดแล้ว  ;D)
IEEE 802.11g: ย่านความถี่ 2.4GHz ความเร็วสูงสุด 54Mbps
IEEE 802.11n: ความเร็วสูงสุด 150 - 300Mbps ส่วนย่านความถี่ต้องดูอักษรอีกที เช่น 802.11a/n หมายถึง ย่านความถี่ 5GHz ความเร็ว 300Mbps หรือ 802.11a/b/g/n จะใช้งานได้ทั้ง 2 ย่านความถี่ครับ คือ 2.4GHz และ 5GHz
IEEE 802.11ac : ย่านความถี่ 5GHz ความเร็วสูงสุด 450Mbps - 1,300Mbps



การเลือกใช้งานอุปกรณ์ Access Point (AP) ที่จะติดตั้งในการเชื่อมต่อหากันแบบนี้ หรือ ที่เรียกว่า Point To Point ขั้นต้น จะดูที่ระยะทางทางอากาศที่เราต้องการจะเชื่อมต่อ ถ้าใกล้ๆมองเห็นกัน ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าไกลๆระยะ 5Km ขึ้นไป จะต้องตรวจสอบเรื่องสิ่งกีดขวาง ความสูงจากระดับน้ำทะเลทั้ง 2 ฝั่ง ด้วยครับ ตรวจสอบจาก Google Earth ได้เลย 

จากนั้นเลือกอุปกรณ์ Access Point ที่กำลังส่ง และ Gain ขยายของเสาอากาศ ถ้ายิ่งสูงจะยิ่งทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล การติดตั้งจะต้องใช้อุปกรณ์ Access Point เป็นคู่ หรือ 2 ชุด ติดตั้งที่ต้นทางและปลายทาง ทำการ Config ให้เป็นตัวส่งและตัวรับ หรือเป็น Bridge





การเลือกใช้งานอุปกรณ์ ส่วนใหญ่ผมจะแบ่งประเภทอุปกรณ์กับระยะตามด้านล่างนี้ครับ ซึ่งลูกค้าหลายๆท่านอาจจะติดตั้งได้ระยะทางได้ไกลกว่าระยะที่ผมแนะนำ ซึ่งตรงนี้จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ๆติดตั้ง และ ความชำนาญในการติดตั้งอุปกรณ์ครับ  ;) หรือ ลูกค้าหลายๆท่านต้องการความเข้มของสัญญาณที่สูง ซึ่งหมายถึงได้ความเร็วที่มากยิ่งขึ้น เสถียรขึ้น ก็จะเลือกอุปกรณ์ Access Point ที่แรงขึ้น


ระยะตั้ง 100 เมตร - 1 กิโลเมตร

ENGENIUS ENS-500
Engenius EnStation2
Engenius EnStation5
ENGENIUS ENS-202

Ubiquiti NanoStation Loco M2
Ubiquiti NanoStation Loco M5

Deliberant APC 5M-12
Deliberant APC 2M-8
Deliberant APC 2M-14
Deliberant APC 2S-14

ถ้าต้องการความเร็วสูงๆ แนะนำเป็นมาตรฐาน AC ครับ แต่ราคายังแรงอยู่เยอะ

ENGENIUS EWS660AP


ระยะตั้งแต่ 1 กิโลเมตร - 3 กิโลเมตร

ENGENIUS ENS-500
Engenius EnStation2
Engenius EnStation5
ENGENIUS ENS-202
ENGENIUS EWS660AP

Ubiquiti NanoBeam AC-19 (NBE-5AC-19)
Ubiquiti NanoStation M5
Ubiquiti NanoStation M2
Ubiquiti NanoBridge M5
Ubiquiti AirGrid M5

Deliberant APC 2M-14
Deliberant APC 5M-18


ระยะตั้งแต่ 3 กิโลเมตร - 5 กิโลเมตร

ENGENIUS ENH500
Engenius EnStation2
Engenius EnStation5

UBIQUITI POWERBEAM M5-400 (PBE-M5-400)
UBIQUITI NANOBEAM M5 (NBE-M5-400)
UBIQUITI POWERBEAM AC (PBE-5AC-620)
Ubiquiti NanoBridge M5


ระยะตั้งแต่ 5 กิโลเมตร - 15 กิโลเมตร

UBIQUITI POWERBEAM M5-400 (PBE-M5-400)
UBIQUITI NANOBEAM M5 (NBE-M5-400)
UBIQUITI POWERBEAM AC (PBE-5AC-620)
Ubiquiti NanoBridge M5

Ubiquiti Rocket M5 + Ubiquiti Rocket Dish-30

UBIQUITI ROCKET M5AC-LITE (R5AC-LITE) + UBIQUITI ROCKETDISH AC RD-5G31-AC

LIGOWAVE LIGOPTP 5-23-PRO
LIGOWAVE LIGOPTP 5-23-UNITY
DELIBERANT APC MACH 5


ระยะตั้งแต่ 15 กิโลเมตรขึ้นไป

Ubiquiti Rocket M5 + Ubiquiti Rocket Dish-30

UBIQUITI ROCKET M5AC-LITE (R5AC-LITE) + UBIQUITI ROCKETDISH AC RD-5G31-AC

Ubiquiti PowerBridge M5



ความเร็วของข้อมูลในการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ จะมีให้เลือกตั้งแต่ 54Mbps, 150Mbps , 300Mbps , 450Mbps+ ตรงนี้ถ้างบถึงให้เลือกที่ความเร็วสูงๆ กำลังส่งสูง Gain ขยายของเสาสูงไว้ก่อนครับ เพราะระยะทางยิ่งไกล ความเร็วที่ได้ก็จะยิ่งลดทอนลง และการปรับกำลังส่งของ Access Point แบบเต็มที่ (Max Tx) จะทำให้ความเร็วที่ลดต่ำลงมากครับ (ถ้าดูใน Datasheet ส่วนใหญ่จะเหลือแค่ 6Mbps)

ในกรณีที่ต้องการให้ปลายทางมีการกระจายสัญญาณต่อ หรือ เชื่อมต่อไปยัง Computer/Client อีกหลายๆเครื่อง ให้นำสาย Lan ต่อจาก Access Point ฝั่งรับเข้า Switch หรือ Access Point อีกชุดเพื่อกระจายสัญญาณ Wireless ให้เครื่องลูกข่ายต่อได้อีกครับ


แต่ข้อเสียที่สำคัญที่สุดซึ่งถือว่าเป็นข้อจำกัดของการเลือกใช้ระบบแบบนี้คือ สิ่งกีดขวางครับ

พื้นที่ที่ติดตั้งระหว่างต้นทางจนถึงปลายทางต้องไม่มีอะไรมาบังสัญญาณคลื่นวิทยุ ลักษณะที่ไม่มีอะไรบังสัญญาณจะเรียกกันว่า Line Of Sight (LOS) ถ้ามีสิ่งกีดขวางเช่นต้นไม้ ตึก เนิน ก็ต้องตั้งเสาให้สูงให้พ้นสิ่งกีดขวาง เพราะโอกาสที่สัญญาณจะไม่ทะลุออกไป ทำให้เชื่อมต่อเครือข่ายไม่ได้มีสูงมาก ถ้ามีตึกบังแลัวไม่สามารถตั้งเสาสูงกว่าตึกได้ หรือมีป่าทึบ ภูเขา เนินสูง ทางจะไม่สามารถใช้ Solution แบบนี้ครับ


และการเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยระบบไร้สายอีกอย่างนึงคือ การเชื่อมต่อแบบ Point To Multi-Point (PTMP) แบบนี้จะได้เรื่องความประหยัดครับ เพราะการเชื่อมต่อแบบ Point To Point จะหมายถึงคู่ต่อคู่ แต่ถ้าเป็นแบบ PTMP จะมีตัวต้นทาง 1 ตัว และตัวปลายทางอีกหลายๆตัว เชื่อมต่อกับตัวต้นทาง



การเลือกใช้งานตัวต้นทาง จะต้องดูองศาการกระจายสัญญาณครับ ถ้าสัญญาณที่ส่งบีมแคบ เช่นพวก จาน Dish จะไม่สามารถใช้ได้ ต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีบีมสัญญาณกว้าง 30 องศาขึ้นไป ส่วนตัวปลายทาง สามารถใช้บีมแคบได้ครับ เพราะมีหน้าที่แค่ส่งสัญญาณกลับไปหาต้นทาง



ถ้าสนใจระบบเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์หรือ Email [email protected] ได้เลยครับ หรือถ้าต้องการทีมติดตั้งก็สอบถามได้เลยเช่นกันครับ  ;D ;D ;D


ขอบคุณครับ กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อจะทำอยู่พอดี
                       
               ;D ;D ;D

ขอบคุณครับ  กำลังหาข้อมูลไปทำระบบให้โรงเรียนแบบฟรีๆๆๆๆครับ

พอจะมีตัวอย่าง config อุปกรณ์รึป่าวคัฟ เราต้องใช้โหมดอะไรหรอคัฟ ผมจะทำแบบตัวหนึ่งปล่อย ตัวหนึ่งรับมา แล้วตัวรับต่อสายแลนเข้า Wireless AccessPoint อ่ะ  เพราะพื้นที่ไม่อยู่ห่างกัน ประมาณ 300 เมตร เดินสายไม่ได้อ่ะ  ไงช่วนแนะนำหน่อยคัฟผม   ;) :D

สวัสดีครับ กำลังเจอปัญหานี้อยู่ครับ แต่ระยะทาง ประมาณ 100-200 เมตร ครับ อยากทราว่า จะใช้อุปกรณือะไร  หรือมีอุปกรณืตัวไหนแนะนำสำหรับ ระยะขนาดนี้บ้างครับ ตัวตึกด้านบน สามารถติดตั้งเสา เพื่อเชื่อมต่อ ไวเลส หากันได้ครับ โดยสามารถติดตั้ง และแชร์เน็ต จากตึกหนึ่ง ไปอีกตึกหนึ่งได้ไหม? ครับ ขอคำแนะนำเรื่อง อุปกรณ์ที่เหมาะสม ด้วยครับ  ขอบคุณครับ

ปล. ดูตำแหน่งเดินสายแลนด์ ไม่สะดวก ทั้งไฟฟ้าแรงสูง, สนามหญ้า และต้นไม้ใหญ่

จากในรูปตัวปล่อยสัญญาณ 1 ตัว ตัวรับ 1 ตัว ถ้ามีลูกค้าใช้ 10 หลัง ตัวส่งสัญญาณใช้ 1ตัวหรือ 10 ตัวคับ แต่ตัวรับ 10 ตัวแน่นอน ยังงงกับตัวส่งสัญญาณคับว่า บ้าน สัก10หลังเราใช้ตัวส่งสัญญาณ 10 ตัวด้วยหรือเปล่า (แบบเก็บค่าบริการคับ)

มีเครื่องมือในการวัดทิศทางการหัน ว่าตรงกันไหมครับ แนะนำหน่อย กรณีติดห่างกันหลายกิโลมองไม่เห็น ว่าจะหันไปทางไหนดี

yod


เข็มทิศ กับ Google Earth ครับ มาร์กตำแหน่งแล้วพิมพ์ออกมาเลยครับ