การ Config Mikrotik Wireless ใน Mode AccessPoint-WDS + Hotspot Authenticate

ตัวอย่างจะเป็นการ Config ในส่วน Access Point ให้กระจายสัญญาณ Wireless จากอุปกรณ์
Mikrotik AP-Main และฝั่ง Mikrotik AP-Site จะทำ Mode Repeater (WDS) เพื่อขยายระยะการกระจายของสัญญาณ Wireless ให้ได้พื้นที่ได้มากขึ้น รวมถึงเมื่อมี User ทำการเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless เมื่อเข้าใช้งาน Internet จะต้องมีการ Login ใส่ Username/Password (Hotspot Authenticate) ก่อนครับ
การ Config ในส่วน Hotspot Server และการตั้งค่าอุปกรณ์ Mikrotik เบื้องต้นขอไม่กล่าวถึงในหัวข้อนี้นะครับ
เข้า Menu Wireless Interface --> General จดค่าหมายเลข MAC Address ทั้งของ Mikrotik AP-Main และ Mikrotik AP-Site ไว้ด้วยครับ
Config อุปกรณ์ Mikrotik AP-Mainจากตัวอย่างในรูป Mikrotik AP-Main ใน Interface Wireless จะเป็น Network 192.168.100.0 และ IP Address เป็น 192.168.100.1 ทำหน้าที่เป็น DHCP Server และ Hotspot Server, ชื่อสัญญาณ Wireless จะเป็น sysnet-test-wds และ Frequency เป็น 2412MHz
1. เข้า Menu Wireless --> Interface wlan
Tab WirelessMode: ap bridge

Click [Apply]
Tab WDSWDS Mode: static

Click [OK]
2. เพิ่ม Interface WDS
Tab WDSMaster Interface: wlan1
WDS Address: ค่า MAC Address ของ Mikrotik AP-Site

Click [OK]

3. สร้าง Interface Bridge ให้ wlan1 และ wds1 เป็นสมาชิกใน bridge ที่สร้าง
Config อุปกรณ์ Mikrotik AP-SiteIP Address จะเป็น 192.168.100.2, Interface eth1 และ wlan1 เชื่อมถึงกัน, ชื่อสัญญาณ Wireless จะเป็น sysnet-test-wds และ Frequency เป็น 2412MHz
1. เข้า Menu Wireless --> Interface wlan
Tab WirelessMode: ap bridge

Click [Apply]
Tab WDSWDS Mode: static

Click [OK]
2. เพิ่ม Interface WDS
Tab WDSMaster Interface: wlan1
WDS Address: ค่า MAC Address ของ AP-Site

Click [OK]
3. เพิ่ม Interface wds1 เข้าเป็นสมาชิกใน Bridge

4. ตรวจสอบใน Menu Wireless จะมี Status Running + Active ขึ้นมา แสดงว่า เชื่อมต่อกับ Mikrotik AP-Main ผ่าน Mode WDS ได้เรียบร้อยแล้ว

ตรวจสอบที่ Registration จะแสดงรายการ Wireless ที่เชื่อมต่อผ่าน WDS เข้ามา

เมื่อตรวจสอบที่ Mikrotik AP-Main จะต้องแสดงรายละเอียดเช่นกันครับ

5. เพิ่ม DNS Servers ที่ AP-Site เป็น 192.168.100.1

6. Computer ที่เชื่อมต่อสาย Lan เข้ากับ AP-Site จะต้องได้ IP Address จาก AP-Main จะต้องเป็น Subnet 192.168.100.0
ทดสอบ1. Ping ไปยังเครื่อง AP-Main จะต้องมี Reply กลับมา

2. Ping จาก Command Prompt ไปยัง
www.google.com
3. เปิดโปรแกรม inSSIDer จะเห็นชื่อสัญญาณ Wireless 2 รายการซ้ำกัน

แต่ใน Windows จะแสดงเพียงชื่อเดียวกันครับ (Roaming) ทำการ Connect สัญญาณ Wireless

4. Enable Hotspot Server ที่ AP-Main

5. เมื่อลองเข้า Internet จะ Redirect ไปที่หน้าจอ Login เพื่อเข้าใช้งาน Internet
เรียบร้อยครับ ขั้นต้นอย่าเพิ่งแก้ไขอะไร Config ทดลองตามรูปไปก่อน พอเข้าใจหลักการแล้วค่อยแก้ไขค่าตามต้องการครับ