Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • Config Switch Cisco SF200-24 เพื่อทำ VLAN ร่วมกับ Deliberant APC-2Mi
    เริ่มโดย yod
    Read 36,484 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

Config Switch Cisco SF200-24 เพื่อทำ VLAN ร่วมกับ Deliberant APC-2Mi






ตัวอย่างจะเป็นการทำ VLAN บนอุปกรณ์ Switch Cisco SF200-24 แบบ tagged vlan เพื่อแบ่งวง VLAN ระหว่างชั้น 1 กับ ชั้น 2 ไม่ให้สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ และจะมี Access Point Deliberant APC-2Mi ซึ่งรองรับ Multi-SSID กระจายสัญญาณ Wireless 2 ชื่อ โดยแต่ละชื่อสัญญาณ เครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อจะไม่สามารถเชื่อมต่อหาระหว่าง SSID กันได้เช่นกันครับ


โดยในตัวอย่างนี้สามารถดัดแปลงใช้งานในสำนักงานได้เช่นกันครับ เช่นแบ่ง VLAN ระหว่างแผนกไม่ให้สามารถเชื่อมหากันได้ หรือ แบ่งระหว่างแขกที่มากับพนักงานใน Office


การออกแบบ VLAN อุปกรณ์ switch cisoc จากตัวอย่าง

กำหนด VLAN10
สำหรับ Floor1
PVID10: มีสมาชิกเป็น Port FE1, FE2, FE3, FE4, FE5, FE6
Untagged: Port FE1, FE2, FE3, FE4, FE5, FE6
Tagged: Port FE7 (แปะ VLAN Header เข้าไปใน Frame)

กำหนด VLAN20
สำหรับ Floor2
PVID20: มีสมาชิกเป็น Port FE5, FE6
Untagged: Port FE1, FE5, FE6
Tagged: Port FE7 (แปะ VLAN Header เข้าไปใน Frame)


Port FE7: Trunk Port (เชื่อต่อกับอุปกรณ์ Deliberant APC-2mi)
Port FE8: Access Port (สำหรับ Manage อุปกรณ์ Switch Cisco)



รายละเอียด มาตรฐาน 802.1q ขออนุญาตินำจาก Web Thaiadmin นะครับ Copy มาไว้นานแล้ว

มาตรฐาน 802.1q
Tagged VLAN คือข้อมูลที่เป็นของ VLAN นั้น ๆ จะมีการใส่ vlan id หรือ VLAN Header เข้าไปใน frame เพื่อระบุว่า frame นั้นเป็นสมาชิกของ vlan อะไร
Untagged VLAN คือข้อมูลที่เป็นของ VLAN นั้น ๆ จะไม่มีการใส่ vlan id หรือ VLAN Header เข้าไปใน frame (คือเป็น Ethernet Frame ธรรมดา เหมือนใช้ Switch Unmanaged ทั่วๆไป)

Access Port จะมี แค่ Untagged VLAN เดียวใน Port นั้น ๆ คือ Default VLAN น่ะเอง
Trunk Port จะมี Tagged VLAN หลาย ๆ VLAN ใน Port นั้น ๆ และมี Untagged VLAN อันเดียว คือ Default VLAN (บางยี่ห้อเรียก Untagged VLAN ใน Trunk ว่า Native VLAN)



1. เชื่อมต่อเข้า Computer เข้ากับ Cisco Switch (Port FE8 ก็ได้ครับ)

จากนั้น Fix IP ให้กับเครื่อง Computer
ในกรณีใช้ Windows XP --> การ Fix IP ให้กับ Windows XP
กรณีใช้ Windows 7 --> การ Fix IP ให้กับ Windows 7


2. เปิด Browser พิมพ์ 192.168.1.254 ที่ URL จากนั้น Login โดยใช้ User: cisco และ Password: cisco




3. จะเข้าหน้าบังคับให้เปลี่ยน Password ทำการเปลี่ยน Password ให้เรียบร้อยครับ ถ้าต้องการตั้งค่า Password ง่ายๆ ก็ให้ Click ที่ Password Strength.. ด้วยครับ



Click [Apply]


4. แก้ไข IP Address ของอุปกรณ์ Cisco Switch กำหนดเป็น 192.168.1.254




5. ในกรณีที่หน้า Load Processing Data ค้าง ให้ Clear History หรือเปลี่ยน Browser เป็น Google Chrome ก็ได้ครับ เพราะเจออาการนี้บ่อยๆ




6. เข้า Menu VLAN Management --> Create VLAN
สร้าง VLAN ID: 10
VLAN Name: Sysnet-Floor1
Clik [Apply]




สร้าง VLAN ID: 20
VLAN Name: Sysnet-Floor2
Clik [Apply]




6. เข้า Menu VLAN Management --> Interface Settings

กำหนด
Port FE1, FE2, FE3, FE4
Interface VLAN Mode: General
Administrative PVID: 10
Frame Type: Admit All



Port FE5, FE6
Interface VLAN Mode: General
Administrative PVID: 20
Frame Type: Admit All

Port FE7
Interface VLAN Mode: Trunk

Port FE8
Interface VLAN Mode: Access




7. เข้า Menu VLAN Management --> Port To VLAN

เลือกตามรูปได้เลยครับ






8. Save ค่า Config ของ อุปกรณ์ Cisco Switch ที่ Menu Administrator --> File Management --> Copy/Save Configuration




ทีนี้ก็ทดสอบต่อสาย Lan จาก Router เข้า Port FE1 ของ Cisco Switch เครื่องที่ต่อเข้ากับ Port FE2 กับ FE4 จะต้องเข้า Internet ได้ แต่จะไม่สามารถ Ping หากันหรือ Share File กันได้






การ Config อุปกรณ์ Deliberant APC-2Mi ใน Mode Access Point เบื้องต้น จะอยู่ใน Link นี้ครับ https://www.sysnetcenter.com/board/index.php/topic,1355.0/


ทีนี้ก็ทำ Multi-SSID กันครับ

ตัวอย่าง

Menu Configuration --> Wireless
ตั้งชื่อ SSID เป็น Sysnet-10



Click [Apply]


Menu Configuration --> Virtual AP
สร้าง SSID ขึ้นใหม่เป็น Sysnet-20 ถ้าต้องการให้มี Wireless Security ก็สามารถสร้างตรงนี้ได้เลยครับ โดย Click เลือกที่ Security



Click [Apply]

Menu Configuration --> Network

กำหนด VLAN to SSID mapping ตาม VLAN ที่สร้างไว้ จากที่สร้างบนอุปกรณ์ Switch Cisco จะมี VLAN ID เป็น 10 และ 20



Click [Apply]


จากนั้นก็เชื่อมต่อสาย Lan ระหว่างอุปกรณ์ APC-2mi เข้ากับ Port FE7 บนออุปกรณ์ Cisco Switch ครับ



ทำการทดสอบเชื่อมต่อ Wireless ให้เรียบร้อย








ความรู้เน้นๆ น้องๆ ที่ศึกษาหรือต้องการคำตอบต้องดูเลยครับ เจ๋งสุดๆ