Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • ++++ การแก้ไข ปัญหาเบื้องต้นอุปกรณ์ Mikrotik ++++
    เริ่มโดย yod
    Read 27,522 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

การแก้ปัญหาเบื้องต้นอุปกรณ์ Mikrotik


หัวข้อนี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากที่ทางร้าน Config ไปให้นะครับ เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าแล้วทำตามเอกสารแนบ แต่ถ้ายังออก Internet ไม่ได้ซักที ให้ตรวจสอบตามขั้นตอนนี้ทีละข้อครับ

อุปกรณ์ Mikrotik ทุกตัวที่ส่งให้ลูกค้า ทางร้านจะทำการ Config รวมถึงทดสอบเรียบร้อยแล้วทุกตัวครับ


Login เข้า Mikrotik ผ่านโปรแกรม Winbox




ในกรณีเชื่อมต่อ Internet แบบ ADSL โดยให้ Modem เป็น Bridge Mode ให้อุปกรณ์ Mikrotik เป็น Gateway


1. Config Modem ให้เป็น Bridge Mode เชื่อมต่อสาย Lan จาก Modem เข้า Port 1 ของ Mikrotik

2. เข้า Menu PPP --> จะมีรายการ pppoe-out1 ให้ตรวจสอบ Username/Password ซึ่งจะเป็นค่าที่ได้จากผู้ให้บริการ Internet (ISP) เช่น True, 3bb

ถ้าเชื่อมต่อไปยัง ISP ได้จะมีตัว "R" และตรงมุมขวาล่างจะขึ้น Connected



ในกรณีที่ไม่ขึ้น
- ตรวจสอบ Username/Password ถูกต้องหรือไม่ ถ้าจำไม่ได้ให้โทรสอบถามทางผู้ให้บริการ
- ตรวจสอบการตั้งค่าที่อุปกรณ์ Modem ว่า Config เป็น Bridge Mode รวมถึงค่า VCI/VPI ถูกต้องหรือไม่
- ตรวจสอบ Internet กับทาง ISP ว่ามีปัญหาหรือไม่
- ตรวจสอบที่ IP --> DHCP Client รายการ ether1 ต้องถูก Disable ไว้


ในกรณีเชื่อมต่อ Internet ผ่าน Cable Modem, Fiber Optic, AirNet, TOT Winet ทางผมจะเรียก Router ที่ได้รับจากทางผู้ให้บริการว่า ISP Router นะครับ


จะแบ่งเป็น 2 กรณี

A. IP Address ได้รับจาก ISP Router (DHCP Client)


1. ต่อสาย Lan จาก ISP Router เข้ากับ Computer ตรวจสอบหมายเลข IP Address ทางขา Lan ที่เชื่อมต่อกับ Computer ว่าเป็น IP อะไร หรือเข้าดูที่ Network Connection Detail ของ Computer จากรูป IP Address ของ Router จะเป็น 192.168.1.1



หมายเลข IP ของ Mikrotik ห้ามเป็น Subnet เดียวกัน ต้องทำการเปลี่ยน ISP Router เป็น Subnet อื่นๆ หรือเปลี่ยนหมายเลข IP ของ Mikrotik ให้เป็น Subnet อื่น แต่ถ้าให้ง่ายเปลี่ยน IP ของ ISP Router เป็นหมายเลขอื่นดีกว่าครับ จากตัวอย่างจะเป็น 192.168.10.1

2. เชื่อมต่อสาย Lan จาก ISP Router เข้า Port 1 ของ Mikrotik
3. Disable pppoe-out1 ที่ Menu PPP
4. เข้า Menu IP --> DHCP Client ให้ Enbale รายการ ether1 ขึ้นมา จะต้องมีหมายเลข IP ที่แจกมาจาก ISP Router ตัวอย่างจะเป็น 192.168.10.2



กรณีที่ไม่ได้ IP Address ที่ DHCP Client ให้ตรวจสอบ Router ของผู้ให้บริการ ทำไมถึงไม่แจก IP Address


B. Fix IP Address ที่ขา Wan (Ether1) ของ Mikrotik


1. ตรวจสอบหมายเลข IP Address ทางขา Lan ที่เชื่อมต่อกับ Computer ว่าเป็น IP อะไร หรือเข้าดูที่ Network Connection Detail ของ Computer จากรูป IP Address ของ Router จะเป็น 192.168.1.1



หมายเลข IP ของ Mikrotik ห้ามเป็น Subnet เดียวกัน ต้องทำการเปลี่ยน ISP Router เป็น Subnet อื่นๆ หรือเปลี่ยนหมายเลข IP ของ Mikrotik ให้เป็น Subnet อื่น แต่ถ้าให้ง่ายเปลี่ยน IP ของ ISP Router เป็นหมายเลขอื่นดีกว่าครับ จากตัวอย่างจะเป็น 192.168.10.1

2. เข้า Menu IP --> Addresses เพิ่มรายการ IP ของ Port Ether1 จากตัวอย่างจะเป็น 192.168.10.2 เพราะ IP ของ ISP Router เป็น 192.168.10.1




3. เข้า Menu IP --> Routes ใส่ค่า Gateway เป็น 192.168.10.1 (IP ของ ISP Router) จากนั้น Click [Apply] ถ้าเชื่อมต่อสำเร็จ Status จะขึ้น reachable ether1




ตรวจสอบการเชื่อมต่อ Internet


เข้า Menu New Terminal

พิมพ์คำสั่ง ping 8.8.8.8 หรือ ping www.google.com กด enter จะต้องมี Reply มาจาก Google ครับ




ถ้าไม่มีให้ตรวจสอบค่าจาก IP --> DNS จะต้องมีหมายเลข DNS จากรูปจะเป็น DNS ของ google ครับ




ตรวจสอบ IP --> Firewall --> Nat จะต้องมี Masquerade NAT และ Src.Address ต้อง subnet เดียวกับ IP ขา Lan ของ Mikrotik




การ Config เพื่อเชื่อมต่อ Internet ครั้งแรกให้ Disable Hotspot Server ก่อนนะครับ




วันที่และเวลาใน Mikrotik ไม่ถูกต้อง


เนื่องจากอุปกรณ์ Mikrotik ไม่มีแบตเตอรี่ไว้ backup เมื่อ reboot เครื่อง ค่าวันเวลาจะถูก reset ใหม่ ต้องทำการตั้งค่า NTP Client ไว้ด้วยครับ

Menu System --> NTP Client



ตรวจสอบวันเวลาที่ Menu System --> Clock




สัญญาณ Wireless ในอุปกรณ์ Mikrotik


สำหรับรุ่นที่มี Access Point ในตัวนะครับ ตรวจสอบที่ Menu Bridges --> Port โดย Interfaces wlan1 จะต้องเป็นสมาชิกใน bridge1

เปลี่ยนรหัส Security


เข้า Menu Wireless --> Security Profiles เลือกเป็น none ในกรณีที่ไม่ต้องการมีรหัสเมื่อเชื่อมต่อ Wireless




ตั้งค่ากำลังส่ง


เข้า Menu Wireless --> Double click ที่ wlan1



ตรงปุ่มขวาล่าง Click [Advanced Mode] เลือก Tab Tx Power
Tx Power Mode: all rates fixed
Tx Power: กำหนดค่ากำลังส่งหน่วยเป็น dBm (ยิ่งสูง speed จะยิ่งช้าลง)



Click [OK]


ในกรณีที่ Config จนใช้งานไม่ได้หรือจำไม่ได้ว่า Config อะไรไปแล้วบ้าง เข้า Menu File --> เลือก File Sysnet-Center-xxxx จากนั้น Click [Restore] จะเป็นการ Restore ค่าเดิมที่ทางร้านได้ Config ไปให้ครับ แต่ถ้าไปลบไฟล์ backup (ไม่รู้ว่าจะลบทำไม  >:() หรือ format mikrotik ใหม่ต้องส่งกลับมาให้ที่ร้าน config เท่านั้นครับ