Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,938
หัวข้อทั้งหมด
4,627

  • Review อุปกรณ์ Mikrotik NetMetal 5 ทำ PTP Bridge ความเร็ว 3xx Mbps!!
    เริ่มโดย yod
    Read 15,385 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

 

 

Review อุปกรณ์ Mikrotik NetMetal 5 ทำ PTP Bridge ความเร็ว 3xx Mbps!!



อุปกรณ์ Wireless Access Point มาตรฐาน IEEE 802.11ac เป็นมาตรฐานใหม่ที่ต่อมาจาก 802.11n ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ทฤษฎีค่อนข้างเยอะอยู่ ไม่ขออธิบายนะครับ  ;D ;D

แต่จากที่ขายมาและจาก feedback ลูกค้าสรุปได้ว่า

ข้อดี
a> Wireless เร็วมาก เร็วที่สุดเท่าที่มีแล้ว (เดี๋ยว ad จะเร็วกว่านี้อีก) ตามทฤษฎีจะได้ความเร็วสูงถึง 1.3Gbps เร็วมากกว่า Lan Port Gigabit อีกครับ อ้อ..แต่ใช้จริงๆได้ไม่ถึงหรอกครับ ประมาณ 100-200 Mbps
b> ใช้ย่านความถี่ 5GHz Bandwidth ที่กว้างขึ้นเป็น 80 MHz หรือ 160 MHz (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ฝั่ง Client ด้วย) เพราะถ้ายังเป็น 2.4GHz ซึ่งช่องสัญญาณน้อยมาก ความถี่กวนกันเยอะ ความเร็วก็จะไม่ได้ครับ และ ตามกฏหมาย กสทช สำหรับย่าน 5GHz ยอมให้กำลังส่ง + Gain เสา ได้สูงถึง 30dB (EIRP)

ข้อเสีย
a> อุปกรณ์ฝั่งรับยังมีน้อยอยู่ และก็แพง เหมือนยุค Wireless N แรกๆนะครับ ถ้าไม่รีบก็รอไปก่อน
b> ความเร็วสูงสุดจะเป็นย่าน 5GHz ซึ่งข้อเสีย คือ ยิ่งความถี่สูง การทะลุทะลวงของสัญญาณจะต่ำมาก ถ้าติดตั้งในอาคารใหญ่ๆ ก็ต้องติดหลายๆจุดหน่อยครับ หรือถ้าใช้เป็น 2.4GHz ก็จะได้ความเร็วไม่เกิน 450Mbps (ตาม Spec ใช้งานจริงก็ได้ไม่ถึงเช่นกัน)


อุปกรณ์ Wireless 802.11ac เริ่มจะมีนำเข้ามาใช้กันเรื่อยๆครับ คาดว่าประมาณปลายๆปีหน้าจะมีอุปกรณ์ที่รองรับได้เยอะกว่านี้ ล่าสุดใน Smart Phone จะมีใน iPhone 6 (เห็นใน Spec) และ Samsung Galaxy S4 กับ S5 ครับ ส่วนใน Notebook ก็จะเห็นใน Apple MacBook Pro ครับ หรือถ้าเป็นรุ่นอื่นๆต้องดูใน Spec ในส่วน Wireless Adapter ต้องรองรับมาตรฐาน 802.11ac


ต่อที่ Mikrotik NetMetal5  ;D ;D

Mikrotik NetMetal5 RB921UAGS-5SHPacD-NM Access Point แบบติดตั้งภายนอกอาคาร มาตรฐาน IEEE 802.11ac ย่านความถี่ 5GHz ความเร็ว สูงสุด 866Mbps CPU 720MHz Ram 128MB กำลังส่งสูงสุด 33dBm (2,000mw) Router OS License Level 4 หัวต่อเสาอกาศภายนอกแบบ RP-SMA Female x2 (ไม่มีสาย Lowloss เชื่อมต่อกัยเสาสัญญาณในชุด), Port Lan RJ45 ความเร็ว Gigabit รองรับการจ่ายไฟผ่านสาย Lan (POE) พร้อม Port SFP สำหรับต่อเข้ากับ Fiber Optic  Module เคสเหล็กทนทาน ระบายความร้อนได้ดี ชิลด์ยางกันน้ำกันฝนได้เป็น



ชุดอุปกรณ์ครับ สายรัดเป็นสแตนเลส ไม่มีปัญหาเรื่องสนิม รัดแน่นกับตัว Access Point ซึ่งเป็นเหล็ก ไม่แตก ส่วน POE เป็นแบบ Gigabit ลากสาย Lan ได้ยาวประมาณ 50-60 เมตร (สาย Cat 6)




LED แสดงสถานะ Power, Lan และ ระดับสัญญาณ Signal Strength




ด้านหลัง ส่วนตรงฝาท้ายจะมีชิลด์ยาง แต่เวลาติดตั้งอย่าหงายด้านล่างขึ้นเด็ดขาด น้ำ ยังไงก็เข้าได้ เคยเจอลูกค้าใช้ Ubiquiti Pico Station พี่แกหงายขึ้นทิ่มเสาลง ติดตั้งช่วงหน้าหนาวไม่เคยเจอฝน แต่พอฝนตกไปครั้งนึงโทรมาถามและก็ส่งมาเครม ไม่เหลือครับ




ส่วนบนมีสกรูยึดฝาปิด สายนำสัญญาณสำหรับต่อเสาอากาศลากออกจากช่องตามในภาพครับ




ฝาปิดด้านล่างเป็นสลักยึดแน่นหนา




Port SFP, Port Lan ความเร็ว Gigabit, Port USB 2.0 และ ปุ่ม Reset อุปกรณ์




หัวต่อเสาภายนอกแบบ RP-SMA Female x2 (เกลียวนอกมีเดีอยตรงกลาง) จะมี Mikrtoik อีกรุ่นครับที่มี 3 หัวต่อ ใช้ CodeName NetMetal เหมือนกัน ยังสงสัยว่าจะเอาไปใช้กับเสาอะไรได้มั้ง  ??? ???

Mikrotik รุ่นนี้สามารถใช้ร่วมกับเสาอากาศที่มีหัวต่อ 2 หัว (Dual-Chain) ได้ทุกรุ่นครับ ไม่ว่าจะเป็นของ Ubiquiti Rocket Dish หรือ Ubiquiti Antenna ได้ทุกรุ่นครับ




ทางผมทดสอบกับเสา Sector ของ Arc Wireless รุ่น ARC-VS5818SD1 ครับ เนื่องจากโต๊ะไม่พอ ส่วนกำลังส่งปรับไว้ที่ 15dBm (32mW)




การ Config ทำ Point To Point บนอุปกรณ์ Mikrotik ก็ง่ายสุดๆ มีโปรแกรม Winbox ให้ใช้ โดยผ่าน Menu Quickset  ซึ่งสามารถ Config จบในหน้าเดียวครับ


Config ฝั่ง Main เลือก Mode PTP Bridge เลือก Protocol, มาตรฐาน Wireless, ใส่ IP แล้ว Click OK




Config ฝั่ง Site เลือกเกาะสัญญาณจากฝั่ง Main เลือก Protocol, มาตรฐาน Wireless, ใส่ IP แล้ว Click Connect




เสร็จเรียบร้อย  :D :D




ผมทดสอบต่อเครื่อง Computer อีกเครื่องเข้ากับฝั่ง Site และอีกเครื่องเข้ากับฝั่ง Main ทำการ Share Folder แล้ว Copy File หากัน



316Mbps !!! หรือถ้าแปลงเป็น Byte ก็ 31.2MBps เร็วที่สุดตั้งแต่เคยขายอุปกรณ์ Wireless มา (แหะๆ รอบหน้ามาตรฐาน ad ครับ เร็วได้อีก  ;D ;D)





อุปกรณ์ Wireless มาตรฐาน 802.11ac ถ้าเลือกใช้ในลักษณะการทำงานแบบ Point To Point หรือการ Link เครือข่ายระยะไกลด้วยระบบไร้สาย ถือว่าน่าลงทุนมากครับ ได้ bandwidth ที่สูงเทียบเท่าสาย lan เลยทีเดียว แต่ถ้าเลือกใช้ในงานลักษณะกระจายสัญญาณ Wireless ให้กับเครื่องลูกข่ายทั่วๆไปเข้าใช้งาน Internet เช่นในงาน Hotspot ในโรงแรม หอพัก ถ้าตอนนี้จะยังไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่ ตัวรับสัญญาณยังน้อยอยู่ครับ แต่ถ้าในสำนักงาน มีการถ่ายโอนไฟล์หากันบ่อยๆ ถือว่าคุ้มอยู่ครับ

ผมลองเอาอุปกรณ์ Access Point มาตรฐาน ac ไปใช้ที่บ้าน และใช้ Access Point แบบ ac อีกตัว Set เป็น Bridge ต่อเข้ากับเครื่องเล่น Media Player ดูหนัง hi-def ไม่มีผลอะไรครับเหมือนตัว Access Point แบบ N ที่ใช้อยู่ จากนั้นทดลองเข้า Internet เอ่อ.ไม่ต้องพูดถึง ADSL ที่บ้านความเร็ว 10Mbps ไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่ทดสอบ Copy File ได้ประมาณ 30MB ถือว่าเร็วมาก


ว่าแต่...ปัจจุบันยังมีหลายๆท่านใช้ Wireless G กันอยู่เลย พอคนเกาะเยอะๆ หรือ Internet ความเร็วที่ได้เร็วขึ้น เห็นบ่นว่าช้า ฉนั้น เปลี่ยนเป็น Wireless N กันเถอะครับ  ;D ;D ;D