Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • Review Engenius EnStation2 อุปกรณ์ AP สำหรับทำระบบ Point To Point
    เริ่มโดย yod
    Read 15,574 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

Review Engenius EnStation2 อุปกรณ์ AP สำหรับทำระบบ Point To Point





สวัสดีครับ

ทาง Engenius ได้ออกอุปกรณ์ Access Point สำหรับทำระบบ Point To Point มา 2 ย่านความถี่ คือ EnStation2 จะเป็นย่าน 2.4GHz และรุ่น EnStation5 ย่านความถี่ 5GHz

สำหรับ Engenius EnStation5 จะเป็นมาตรฐาน IEEE 802.11a/n ย่านความถี่ 5GHz ความเร็วสูงสุด 300Mbps กำลังส่งสูงสุด 26dBm เสาอากาศ Dual-Chains แบบบังคับทิศทาง 30 องศา Gain ขยายขนาด 19dBi กันแดด กันฝน มาตรฐาน IP55

ส่วน Engenius EnStation2 จะเป็นมาตรฐาน IEEE 802.11b/g/n ย่านความถี่ 2.4GHz ความเร็วสูงสุด 300Mbps กำลังส่งสูงสุด 26dBm เสาอากาศ Dual-Chains แบบบังคับทิศทาง 60 องศา Gain ขยายของเสาขนาด 13dBi กันแดด กันฝน มาตรฐาน IP55 เช่นเดียวกัน



รูปแบบการกระจายสัญญาณ


มีลูกค้าหลายๆท่านสอบถามถึงเรื่องการบีมสัญญาณของเสาอากาศ เสาแบบรอบทิศทาง เสาแบบบีมแคบ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขออธิบายคร่าวๆก่อนนะครับ รายละเอียดมากกว่า ผมจะทำเป็นอีกหัวข้อนึงเรื่องการเลือกเสาอากาศอีกทีนะครับ  ;D


เสาอากาศที่ไว้สำหรับกระจายคลื่นวิทยุออกมา ถ้าเป็นแบบในอุดมคติหรือที่เรียกว่าเสา isotropic คือ กระจายสัญญาณรอบทิศทางเป็นวงกลม ตัวเสาเป็นจุดตรงกลาง  มีแกน x,y และ z แต่การกระจายสัญญาณให้ได้กลมๆแบบนี้ ไม่มีอยู่จริงนะครับ




ทีนี้ เสาอากาศที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ Wireless ที่ขายๆกัน จะแบ่งหลักๆอยู่ 2 ประเภท คือ
1. กระจายสัญญาณรอบทิศทาง จะเรียกกันว่าเสา omni , dipole
2. กระจายสัญญาณแบบทิศทาง ก็จะมีแยกย่อยอีก
2.1 กระจายสัญญาณกว้างมาก ประมาณ 90 -120 องศา จะเรียกกันว่าเสา sector
2.2 กระจายสัญญาณกว้างน้อย ประมาณ 50 -60 องศา จะเรียกกันว่าเสา Panel, Directional
2.3 กระจายสัญญาณมุมแคบ ประมาณ 10-30 องศา จะเรียกว่าจาน Dish (ดิส) หรือ เสา Grid (กริด)


การเลือกใช้งานก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆครับ

กรณีที่เป็นงานกระจายสัญญาณ Wireless ทั่วๆไป กระจายให้กับอุปกรณ์ลูกข่าย (Client) เช่น Notebook, Smart-phone, Tablet ส่วนใหญ่จะเลือกกัน เป็นเสา Omni หรือ แบบ รอบทิศทาง เสาแบบนี้จะได้ระยะการกระจายสัญญาณไม่ไกล ลักษณะ Pattern ของสัญญาณที่กระจายออกมาจากเสาอากาศจะรูปร่างคล้ายๆโดนัท




ถ้าเปรียบเทียบกับหลอดไฟ ก็จะเหมือนกับเราตั้งหลอดไฟลอยๆ พอต่อปลั๊ก ไฟก็จะติด และสว่างไปทั่วบริเวณครับ แต่สว่างได้ระยะใกล้ๆไม่ไกลมาก




ส่วนการกระจายสัญญาณแบบมุมแคบ มีทิศทาง จะเป็นการบีบสัญญาณคลื่นวิทยุ (มองเป็นลูกโป่งกลมๆนะครับ) บีบซ้าย ขวา หลัง ให้มันพุ่งไปข้างหน้า จะใช้ในกรณีที่เราต้องการส่งสัญญาณให้ไกลๆ




หรือให้นึกถึงเลเซอร์ครับ จริงๆแล้วจุดกำเนิดแสงเลเซอร์ ถ้าไม่มีอะไรบังคับแสง แสงมันก็จะกระจายไปทั่ว แต่พอมีการบังคับแสงที่ส่งออกมา แสงมันเลยบีมส่งได้ระยะที่ไกลมาก




งาน Wireless ที่ต้องอาศัยเสาอากาศแบบบีมสัญญาณ หรือ บังคับทิศทาง เพื่อส่งสัญญาณระยะไกลๆ จะเป็นงานพวก Point To Point หรือ เชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลด้วย Wireless ครับ

ตัวอย่างงานครับ เชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล 34 กิโลเมตร กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชห้วยขาแข้ง


......

ต่อกันที่อุปกรณ์

Access Point รุ่นที่ทดสอบจะเป็นรุ่น EnStation2 (EnStation5 ของหน้าร้านหมด 10-06-2015  :P)

Package




อุปกรณ์ในกล่องจะมี AP EnStation2, POE Adapter, ชุดขายึด




อุปกรณ์ Access Point EnStation2 และ 5 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 17.5 cm เลยครึ่งไม้บรรทัดมานิดนึง เวลาติดตั้งบนเสา ไม่ต้องห่วงเรื่องการต้านลมมากนัก




ชุดขายึด ล๊อกกับเสา หรือ เจาะยึดกับกำแพงได้ ปรับองศาของ Access Point ได้อิสระ




Port Lan 2 Port ความเร็ว 10/100Mbps ช่อง Port ที่รองรับ POE Passive จะพิมพ์คำว่า LAN (POE)




LED Status





ทีนี้มาดูรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นจากใน Datasheet กันครับ เพราะที่ผ่านมา Engenius ออกแต่ตัว Access Point ที่มีสัญญาณบานๆ  ::) ::)




จากรูปจะเป็นรูปแบบคลื่นของ EnStation2 มุม Azimuth (มองจากด้านบน) 61 องศา และมุม Alevation (มองจากด้านข้าง) 35 องศา หรือถ้ามองแบบง่ายๆเลยจะคล้ายๆกับรูปนี้ครับ การปรับสัญญาณซ้ายขวาจะง่ายหน่อย แต่เวลาติดตั้ง พยายามให้ Main lobe (สัญญาณที่ 0 องศา) ไปตรงกับ Access Point อีกฝั่ง จะได้ bandwidth ที่ดีที่สุดครับ




ส่วนของ EnStation5 มุมจะแคบกว่า ถ้ามองเลขกลมๆเลยคือ แนวตั้งและแนวนอนอยู่ที่ 30 องศา บีมยิ่งแคบ สัญญาณคลื่นวิทยุจะยิ่งส่งได้ไกล


จาก Spec ทาง Engenius ได้แจ้งว่าอุปกรณ์ AP รุ่น EnStation ทำ Mode Point To Point ได้ไกลถึง 3 ไมล์ หรือ 5.4 กิโลเมตร แต่ผมว่าถ้าต้องการประสิทธิภาพแบบเต็มที่ ระยะไม่ควรเกิน 3 กิโลเมตรครับ


Management

การ Config ของอุปกรณ์ Engenius Access Point ถ้าไม่ใช่รุ่น Neutron Series หรือ Wifi Repeater หน้าจอจะเหมือนกันหมด

ถ้าต้องการ Config เพื่อเชื่อมต่อแบบ Bridge หรือ เชื่อมต่อกันแบบ Point To Point ดูวิธีการ Config ได้จากหัวข้อนี้ได้เลยครับ Config Engenius ENS500 ทำ Point To Point ใน Mode Bridge ความเร็ว 91Mbps เทียบเท่าสาย Lan เหมือนกันทุกหน้า




Config เพื่อเชื่อมต่อแบบ Bridge เรียบร้อย




อุปกรณ์ Access Point ของ Engenius สามารถตั้งเวลา Reboot ตัวเองได้นะครับ และควรจะมีการ Reboot อาทิตย์ละครั้ง





ทดสอบ Test Speed

เนื่องจากใช้รุ่น EnStation2 ที่เป็นย่านความถี่ 2.4GHz และ ทดสอบที่ห้างเซียร์รังสิต เปิดโปรแกรม Wifi Inspector เจอ AP ที่ปล่อยสัญญาณ 2.4GHz ประมาณ 30 กว่าชื่อ สัญญาณตีกันสนุกสนาน เลยได้แค่นี้ครับ


85Mbps!!





อุปกรณ์ Access Point Engenius EnStation2 ถ้าเปรียบเทียบกับ Ubiquiti NanoStation2 (NSM2) จะแตกต่างกันที่กำลังส่ง ถ้าเป็น NSM2 จะอยู่ที่ 500mW ส่วน EnStation2 จะอยู่ที่ 400mW แต่ Gain ขยายของเสาของ EnStation2 จะสูงกว่าคือ 13dBi ครับ NSM2 จะอยู่ที่ 10dBi ค่า dBi ทุกๆ 3dBi จะหมายถึง Gain ขยายที่มากกว่า 2 เท่า แสดงว่า EnStation2 จะส่งได้ไกลกว่า NSM2 ครับ

ส่วน EnStation5 กับ Ubiquiti NanoStation5 (NSM5) ตัว EnStation5 กำลังส่งจะอยู่ที่ 400mW Gain ขยายของเสา 19dBi และ NSM5 กำลังส่งจะอยู่ที่ 500mW Gain ขยายของเสา 16dBi แสดงว่า EnStation5 จะส่งสัญญาณระยะได้ไกลกว่า NSM5 ครับ


เรียบร้อยครับ ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมกด like ที่ facebook กันด้วยนะครับ  ;D ;D ;D


สาระล้วนๆ เลยนะครับเนี้ย อ่านจนหมดเลย

มีค่าติดตั้งไหมครับผม กลัวจะแพงเกินงบประมาน