Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi AP และ Software Unifi Controller V.4
    เริ่มโดย yod
    Read 84,854 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi AP และ Software Unifi Controller V.4



หัวข้อนี้ทำไว้นานแล้วครับ แนะนำเป็น Link ด้านล่างนี้นะครับ

คู่มือการ Config Ubiquiti Unifi Gateway, Unifi Switch, Unifi AP และ Unifi Cloud Key

หัวข้อรวมการ Config อุปกรณ์ Ubiquiti ครับ https://sysnetcenter.com/board/index.php?board=23.0


Software Unifi Controller ออก Version ใหม่กันมาเรื่อยๆครับ สำหรับ V.4 จะแตกต่างจาก V.3 ตามนี้ครับ

1. ไม่ใช้ Flash
2. ใช้ร่วมกับ Ubiquiti Unifi VOIP-IP Phone และ Ubiquiti Unifi-Switch
3. ไม่ต้อง Adopt และ สามารถเชื่อมต่อ Unifi AP ตรงเข้ากับ Computer ได้เลย โดย IP Default ของ Unifi AP จะเป็น 192.168.1.20 (ไม่แนะนำ เพราะต้องออก Internet เพื่อ Upgrade)


ถ้าใช้ Unifi Controller V3 อยู่แล้วไม่มีปัญหาอะไร ยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็น Version 4 ครับ

หัวข้อนี้จะ Config เฉพาะอุปกรณ์ Unifi Access Point ไม่ได้รวมถึง Unifi VOIP-Phone และ Unifi Switch นะครับ


1. การ Config อุปกรณ์ Unifi ในครั้งแรก

อุปกรณ์ Unifi จะต้องต่อเข้ากับ Router หรือเข้า Switch/Hub ที่เชื่อมต่อกับ Router และ Router ต้องแจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่าย (DHCP Server) lj;o Computer ที่ลง Software Unifi Controller ต้องต่อเข้า Router เช่นกัน ปิด Firewall, AntiVirus ให้เรียบร้อย

และวง Network ต้องต่อออก Internet ได้ด้วย เพราะจะมีการบังคับให้ Upgrade Unifi AP ครับ




2. Download Software Unifi ที่ https://www.ubnt.com/download/ เลือก Unifi --> Unifi For Windows --> Download ติดตั้งให้เรียบร้อย




ถ้าเครื่อง Computer ที่ใช้งาน ยังไม่เคยลง JAV Runtime โปรแกรมจะทำการติดตั้งให้ด้วย หรือถ้าต้องการติดตั้งเอง เข้า Web JAVA ได้โดยตรงครับ https://java.com/en/download/manual.jsp#win

วิธีการติดตั้ง Java อยู่ในหัวข้อนี้ครับ การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller V.3


3. Run Software
ถ้า Unifi Controller หา Javaw ไม่เจอ ให้ Locate ไปที่ C:\Program Files (x86)\Java\jre\bin หลังจาก Run แล้วจะขึ้นตามรูป Click Launch a Browser to Manage the Network




กรณีที่ลง Software Unifi Controller แล้ว ไม่สามารถ Run โปรแกรมได้ (ไม่ขึ้นโปรแกรมอะไรที่หน้าจอเลย) ให้หาเครื่อง Computer ที่ลง Windows อย่างเดียวไม่มีการลง Software อย่างอื่น หรือ ถ้าหาไม่ได้จริงๆ ให้ใช้ VMWare หรือ Virtual Box ลง Windows แล้วติดตั้ง Software Unifi Controllerบน VMWare หรือ Virtual Box ครับ (หาข้อมูลใน Google นะครับ มีสอนการใช้เยอะแยะ)

ไม่แนะนำให้ลงใน Windows Server นะครับ เพราะปัญหา Run โปรแกรมไม่ได้ ค่อนข้างเยอะ เป็นปัญหาที่ Windows มัน Block ต้องไปปลดการ Block ซึ่งผมเองก็ทำไม่เป็นครับ  ;D ;D


4. Browser จะถูก Run ขึ้นมา เนื่องจาก URL เป็น SSL จะมี Error ให้ Click ผ่าน ได้เลย




ติดตั้งครั้งแรกจะมีหน้าจอ Wizard ให้ Next ไปเรื่อยๆ ตั้ง User/Password สำหรับเข้าระบบ Unifi Controler ในขั้นตอน Wizard

ถ้ามี Unifi ในระบบ ตัว Software จะ Detect ให้เอง




5. หน้า Main หลัก จะแตกต่างจาก Version 2 ครับ แต่หลักการ Config จะเหมือนกันเลย คือสร้าง รายละเอียดต่างๆก่อน เช่น ชื่อสัญญาณ Wireless/SSID, การจัด WLAN Group, การจัด User Group และ การตั้งระบบ Guest แล้วค่อยนำค่าพวกนี้ไปใส่ในอุปกรณ์ Unifi AP

Object oriented ซิน่ะ  :D




6. Menu Devices จะเป็นเมนูที่แสดงอุปกรณ์ในระบบ หลังจาก Software Detect อุปกรณ์ Unifi AP เรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่จะต้องมีการ Upgrade ให้ AP ก่อน ให้ Click [Upgrade] และขั้นตอนนี้ต้องต่อ Internet ด้วยนะครับ เป็นเป็นการ Online Upgrade




7. Menu Map แผนที่

หลังจาก Upgrade เรียบร้อย ตรงขวาล่างจะแสดงรายการ Device ที่พร้อมใช้งานแล้ว ให้ Click แล้วลาก Device มายังแผนที่




สามารถเปลี่ยนภาพแผนที่ได้ครับ จะอยู่ตรง Menu sample รองรับการนำแผนที่จาก Google Earth




8. Click ที่ Access Point ในแผนที่จะมีรูปเฟือง หรือ Click ที่ Menu Device --> Name/Mac Address จะเข้าไป Config อุปกรณ์ Unifi AP ได้

ถ้า Click ที่ปุ่ม Lacate ไฟ LED ที่ตัว Unifi AP จะกระพริบ ทำให้รู้ว่ากำลัง Config ตัวไหนอยู่ครับ และ Click อีกครั้งเพื่อให้หยุดกระพริบ




ตรงนี้ยังไม่ต้อง Config อะไรที่ Unifi AP ให้ตั้งค่าที่สำคัญๆ ที่ Menu Wireless Network, User Groups และ Guest Control ก่อนครับ


9. Click [Settings] ที่ตรงมุมซ้ายล่าง เพื่อเข้าสู่หน้าจอ Config ของ Software Unifi


10. สร้าง WLAN Group เป็นการกำหนดกลุ่มของชื่อสัญญาณ Wireless/SSID

Menu -->Wireless Networks ตรง WLAN Group ให้ Click [ + ]




จะขึ้นหน้าจอ Add WLAN Group



Name: ชื่อ WLAN Group (ตัวอย่างตั้งชื่อเป็น test-roaming)
Mobility: การทำ Roamming หรือ Zero-Handoff เช่น Users เชื่อมต่อ Wireless จาก AP ตัวที่ 1 ผ่านมือถือ จากนั้นเดินไปที่ AP ตัวที่ 2 สัญญาณจะเชื่อมต่ออัตโนมัติ โดยช่วงเวลาที่หลุดน้อยมากๆ แต่การออกแบบจะค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องให้ AP แต่ละตัวมีสัญญาณที่เหลื่อมกัน เหมาะสำหรับระบบ Voice เพราะโดยปกติ เมื่อตั้งชื่อสัญญาณให้เหมือนกัน ฝั่ง Client ก็จะเชื่อมต่อให้อัตโนมัติอยู่แล้ว แต่จะช้านิดนึงครับ ถ้าเลือก AP ทุกตัวจะเป็น Channel เดียวกันทั้งหมด
ในกรณีที่เป็น Unif Pro หรือ Unifi AC สามารถเลือก Roaming เฉพาะย่านความถี่ได้ครับ เช่นเลือกย่าน 2.4GHz เป็นแบบ Zero Handoff ส่วน 5GHz ปล่อยสัญญาณแบบปกติ
Radio: ย่านความถี่ที่ใช้งาน
Channel: ช่องความถี่



ถ้าไม่ได้เลือก Zero-Handoff จะมีรายการอีก 2 อย่าง
ตัวอย่างตั้งชื่อ WLAN Group เป็น test-wlan-group

Load Balancing: กำหนดจำนวนที่จะยอมให้ Client เกาะสัญญาณได้สูงสุด เพิ่มหลีกเลียงปัญหา Client เกาะสัญญาณเยอะเกินไป ทำให้ AP ค้าง จากตัวอย่างถ้าเกิน 30 ตัว Software Unifi จะจัดการให้ Client เกาะสัญญาณที่ AP ตัวอื่นที่อยู่ใกล้ๆกันโดยอัตโนมัติ
Legacy Support: รองรับ Client ที่ยังเป็นมาตรฐานเก่าอยู่เช่น 802.11b/g


11. สร้าง User Groups
จะเป็นการกำหนด Bandwidth Limit ให้กับ Group




สามารถสร้างได้หลายๆ Group ครับ




12. สร้าง Guest Control เป็นการจัดการ Users ที่ต้องการควบคุมการใช้งาน Internet มากกว่าปกติ เช่น สร้าง User/Password ให้แต่ละคน , จำกัดเวลาการใช้งาน หรือ จำกัดการเข้ามาในวง Network ภายใน ให้ออก Internet ได้อย่างเดียว

การเลือกใช้งาน Guest ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ จะอยู่ในส่วนการสร้างชื่อสัญญาณ Wireless
ถ้าเลือกใช้งาน Mode Guest จะต้องเปิดเครื่องที่ลง Software Unifi Controller ทิ้งไว้นะครับ ถ้าปิดเครื่อง Mode Guest จะไม่ทำงานครับ




Authentication: กำหนดการเข้าใช้งาน Internet
No Authenticate: เข้าใช้งาน Internet ได้เลยหลังจาก Connect สัญญาณ Wireless
Simple Password: เมื่อเข้าใช้งาน Internet แล้ว เข้า Website จะมี Dialog ให้ใส่ Password (ใส่ในช่อง Guest Password และกำหนดเวลาการใช้งานใน Expiration)



Hotspot: เมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless แล้วต้องการใช้งาน Internet ต้องใส่รหัสผ่านก่อน และรหัสผ่านจะมีอายุการใช้งานตามที่กำหนด


การใช้งานจะคล้ายๆกับ Version 3 ครับ ทางผมเคยทำคู่มือไว้แล้ว การ Config อุปกรณ์ UniFi AccessPoint เพื่อใช้งานใน Mode Hotspot Authenticate

Landing Page: กำหนด URL เมื่อ User ทำการ Login แล้ว
Portal Customization: ปรับเปลี่ยนหน้าจอ Login

Access Control
Restricted Subnets: เป็น Block ไม่ให้ Users ที่เชื่อมต่อ Wireless ใน Guest Mode สามารถเข้าใช้งานในวง Network ที่กำหนดได้ (เข้า Internet ได้อย่างเดียว ไม่สามารถแชร์ไฟล์, เชื่อมต่อในวง Network ได้)
Allowed Subnets: กำหนดให้ใช้งานในวง Network ที่กำหนดได้


13. สร้าง Wireless Network (ชื่อสัญญาณ Wireless)

ตัวอย่าง#1
สร้างชื่อสัญญาณ Wireless (SSID) sysnet-wifi-staff อยู่ใน WLAN Group: test-roaming เพื่อทำระบบ Roaming ภายในสำนักงาน

เข้า Menu Wireless Networks เลือก WLAN Group test-roaming --> Create New Wireless Network




Name/SSID: sysnet-wifi-staff
Enabled: ใช้งาน SSID นี้
Security: เมื่อใช้ฟังชั่น Zero-Handoff (WLAN Group) ต้องมี Wireless Security ครับ
Guest Policy: เลือกใช้งาน Guest Mode (ข้อ 12)
Advance Options
VLAN: ตั้ง VLAN  ID
User Group: เลือก User Group (ข้อที่ 11) สำหรับกำหนด Bandwidth ให้แต่ละ Client ที่เชื่อมต่อ
Scheduled: กำหนดเวลาปิด/เปิด สัญญาณ Wireless

ตัวอย่าง#2
สร้างชื่อสัญญาณ Wireless (SSID) sysnet-wifi-guest อยู่ใน WLAN Group: test-wireless-group สำหรับแขกที่เข้ามาใช้งาน Internet ภายในสำนักงาน

เข้า Menu Wireless Networks เลือก WLAN Group test-wireless-group --> Create New Wireless Network




Name/SSID: sysnet-wifi-guest
Enabled: ใช้งาน SSID นี้
Security: เมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless ต้องใส่รหัสหรือไม่ (คนละส่วนกับรหัสตอนเข้า Website นะครับ)
Guest Policy: เลือกใช้งาน Guest Mode (ข้อ 12)
Advance Options
VLAN: ตั้ง VLAN  ID
User Group: เลือก User Group (ข้อที่ 11) สำหรับกำหนด Bandwidth ให้แต่ละ Client ที่เชื่อมต่อ
Scheduled: กำหนดเวลาปิด/เปิด สัญญาณ Wireless

การสร้างชื่อสัญญาณ Wireless สร้างได้หลายชื่อครับ โดยอุปกรณ์ Unifi AP สามารถปล่อยชื่อสัญญาณ Wireless ได้ 4 ชื่อ ต่อ 1 ย่านความถี่ เช่น ถ้าเป็นรุ่น Dual-Band หรือ 2 ย่านความถี่ เช่น Ubiquiti Unifi Pro
Ubiquiti Unifi AC
Ubiquiti Unifi AC Outdoor จะตั้งได้ 8 ชื่อ (2.4GHz x 4 ชื่อ และ 5GHz x 4 ชื่อ)

14. เมื่อสร้างส่วนประกอบต่างๆ เช่น ชื่อสัญญาณ Wireless (Wireless Network), User Group, Guest Control จากนั้นนำค่าพวกนี้มากำหนดในตัว Unifi AP ครับ โดยการ Click ชื่อ Unifi ใน Menu Device หรือ Click รูปเฟือง ที่ตัว Unifi บนแผนที่ได้เช่นกัน

Click Menu Configuration

Alias: ชื่อที่แสดง โดย Default จะเป็นหมายเลข MAC Address ให้กำหนดที่ Alias เพื่อจะได้สื่อว่า Unifi อยู่ที่ตำแหน่งไหน




Radio: จะเป็นการกำหนด กำลังส่งของ Unifi (Tx Power) และ Channel ที่ใช้งาน
WLANS: เลือก WLAN Group ให้กับ อุปกรณ์ Unifi ในย่านความถี่ที่ต้องการ ตัวอย่างเป็น Unifi ธรรมดา เลยเลือกได้แค่ย่าน 2.4GHz ครับ

เมื่อเลือก WLAN Group เป็น test-wlan-group (ข้อ 10) ชื่อสัญญาณ Wireless ที่กำหนดไว้ (ข้อ 13) สำหรับ Group นี้ จะถูกนำมาใส่ให้กับ Unifi AP ครับ

ชื่อสัญญาณ Wireless (SSID) เราสามารถเปลี่ยนได้ โดยการ Click Overide ชื่อสัญญาณ Wireless ที่ถูก Overide จะถูกเปลี่ยนเฉพาะ Unifi AP ตัวที่เลือกเท่านั้น




Network: กำหนดหมายเลข IP Address ให้ Unifi AP โดยค่า Default จะเป็น DHCP รับ IP มาจาก Router




Forget This AP: ถ้าเลือก Default (Current) เป็นการ Reset Unifi AP แต่ถ้าเลือก Move To. จะเป็นการย้าย Unifi ไป Site อื่น (Software Unifi Controller V4 รองรับการสร้าง Site ได้หลาย Site ครับ)




15. Menu Site

Software Unifi Controller V4 รองรับการสร้าง Site ได้หลาย Site ตัวอย่างการใช้งานเช่น มี 2 อาคาร เชื่อมหากัน แต่ต้องการกระจายชื่อสัญญาณ Wireless แต่ละอาคารไม่เหมือนกัน (การตั้ง Overide SSID จะได้เฉพาะ Unifi AP ตัวนั้นๆตัวเดียว) ให้สร้างอีก Site ขึ้นมา

หรือ มี Site งานที่ติดตั้ง Unifi AP ตามจังหวัดต่างๆ และต้องการ Control รวมถึง Monitor ผ่านส่วนกลาง เพราะ Software Unifi V4 รองรับการเชื่อมต่อแบบ L3 หรือ ข้ามวง Network ได้แล้วครับ (อย่าเพิ่งถามนะครับ รู้ว่าทำได้ แต่ยังไม่ได้ลอง)






Site Name: ชื่อ Site งาน
Automatic Upgrade: เลือก Auto Upgrade ครับ
LED: ปิด/เปิด ไฟ LED ที่ Unifi AP (ถ้าเลือก Off จะดับทุกตัว ถ้าต้องการให้ ติด/ดับ เป็นบางตัว ต้องสร้างอีก Site นึงขึ้นมาครับ)
Device Authentication: User name/Password สำหรับ Login เข้า Site


16. เมื่อ Client เชื่อมต่อสัญญาณ Wireless สามรถดูรายชื่อเครื่อง Client ที่มาเชื่อมต่อได้จาก Menu Client




17. Menu Statistics จะสถิติการใช้งานของเครื่อง Client รวมถึง Unifi AP แต่ละเครื่อง




18. Menu Maintenance




จะเป็น Menu สำหรับ Backup/ Restoe ค่า Config ของ Software Unifi Controller ไว้ ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนเครื่อง หรือ Format เครื่อง

เพราะถ้าไม่ได้ Backup ค่าไว้ เมื่อ Config ระบบเรียบร้อยแล้ว แล้วเปลี่ยนเครื่อง เมื่อเชื่อมต่อกับ Unifi AP จะขึ้น Error Managed By Other ทำให้ต้อง Reset และ Config ใหม่ทั้งหมด


เริ่มเยอะ  :P :P  เอาที่ใช้งานกันหลักๆเท่านี้ก่อนนะครับ ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติม ตั้งคำถามไว้ในหัวข้อนี้ได้เลยนะครับ


UI สวยดีครับ แต่ขอใช้ version 3 ต่อไปก่อนดีกว่า เพราะใช้แต่ Access Point ของ Ubi ไม่ได้ใช้สินค้าประเภทอื่น เลยยังไม่น่าจะมีความจำเป็นเท่าไรครับ ;D ;D

พอได้ลบ device  พอจะ add ใหม่  มันไม่ขึ้น device ตัวนั้น ๆ

yod


ใช้คำสั่ง forget หรือเปล่าครับ

forget จะเป็นการ reset อุปกรณ์ unifi ด้วยครับ

ลอง reset unifi ใหม่ครับ

ขอสอบถามครับ   ใช้ 4.7.6 อยู่ครับ
ใช้ เครื่องลูกข่ายใช้ wifi ได้ปกติ แต่ในตัว คอนโทรลเลอร์ ไม่เห็น Client
ตามภาพ





ขอบคุณครับ

คือสอบถามคับ คือผมไม่เก่งเรื่อง Wlan นะ ตอนนี้ผมย้ายมาทำงานที่ใหม่ ตอนนี้เค้าใช้ อุปกรณ์ตัวนี้อยู่คับ ตั้งเปนแต่ปกติ ปล่อยสัญญาปกติ ผมเรยต้องการทราบวิธีการ ตั้งค่า แบบที่ใส่ MAC Address ระบุเครื่อง เครื่องไหนที่ไม่ได้ระบุ MAC จะใช้งานไม่ได้ คับ ระบบกวนขอข้อมูลหน่อยครับ