Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • Review Peplink Loadbalance ทำ Load Balancing ได้ 7 Algorithm
    เริ่มโดย yod
    Read 37,534 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

Review Peplink Loadbalance ทำ Load Balancing ได้ 7 Algorithm



สวัสดีครับ ช่วงนี้เริ่มมีเวลามานั่งทำ review อุปกรณ์ใหม่ๆที่นำมาจำหน่ายที่ร้านแล้วครับ ย้ายร้านกลับมาอยู่ที่เดิมแล้ว ถ้ายังไงก็อย่าลืม click ติดตามที่ fanpage ของทางร้านด้วยนะครับ ^^


Peplink Balance รุ่น Balance One รองรับการเชื่อมต่อ Internet ได้ 2 คู่สาย Throughput เร็วสูงสุดถึง 600Mbps (เฉลี่ย Internet เส้นละ 300Mb) รองรับ การทำ Load Balancing ได้ถึง 7 Mode ซึ่งจะอธิบายแต่ละ Mode ในหัวข้อนี้เลยนะครับ อุปกรณ์รองรับ 3G/4G USB Modem (รุ่นที่ Support ครับ Supported 3G/4G LTE USB Modem) ทำ IPSecs VPN และ PepVPN ได้ 2 Tunnels และ PPTP Remote ได้ 15 Account, รองรับการทำ VLAN แบบ Port Base และ แบบมาตรฐาน 802.1Q


Peplink Balance รุ่น Balance One กับ Balance One Core จะแตกต่างกันตรงที่รุ่น Balance One จะมี Access Point มาตรฐาน 802.11a/b/g/n/ac ภายในอุปกรณ์ครับ



อุปกรณ์ครับ ถ่ายบนโต๊ะเลย  :D




รูปอุปกรณ์รูปเดียวพอ เอารูปหน้า config เป็นหลักดีกว่า รายละเอียดเยอะมากครับ


ที่ร้านมี Internet อยู่ 2 เส้น เป็นของ True 16/1Mbps และ 3BB 20/4Mbps


Test Speed True Internet ได้ 15.3/0.9 Mbps




Test Speed 3BB 22.2/4.3 Mbps




เข้าหน้า Config อุปกรณ์จะประมาณนี้ครับ ผม config ทั้ง WAN1 และ WAN2 เรียบร้อยแล้ว การ Config อุปกรณ์ Peplink เพื่อเชื่อมต่อ Internet




ลอง Test speed ได้ 37.3/5.3Mbps ค่อนข้างเป๊ะ




หน้าจอ Config เพื่อเชื่อมต่อ Internet ครับ รวมทั้งการตรวจสอบ link internet และ Dynamic DNS รวอยู่ในหน้าเดียวเลย




Dynamic DNS ที่รองรับ




หน้าจอ Network Settings รองรับ IP ได้ทั้ง Class A, B และ C ซึ่งอุปกรณ์ Loadbalance หลายๆรุ่น จะรองรับได้แค่ Class C ครับ




ตรงเครื่องหมายคำถามที่มุมขวาบน จะเป็นการเข้าหน้า config Vlan




รองรับการทำ Multiple Subnet แต่ทางที่ดีไปทำที่ L3 Switch จะดีกว่าครับ แล้วทำ Route ที่ Peplink ตามรูปนี้ดีกว่าครับ




ทำ IPSecs VPN ได้ 2 Tunnels บอกเลย Config ง่ายมาก ทางผมได้ทำคู่มไว้แล้วครับ การ Config IPSec VPN แบบ Site To Site บนอุปกรณ์ Peplink




ส่วน PepVPN ยิ่ง config ง่ายกว่า รายละเอียดอยู่ในหัวข้อนี้ครับ การ Config PepVPN ในอุปกรณ์ Peplink




ทีนี้มาดูจุดขายของ Peplink ในเรื่อง Loadbalance ครับ

ปกติถ้าเรามี Loadbalance อยู่ในระบบของเรา อันดับแรกที่เจอเลยคือ Set ยาก ยากไอ้ตรงที่เวลาเข้า web ที่มี security แล้วมันหลุด เด้งเข้าหน้า login ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเข้า web พวก internet banking หรือ บาง web ที่ต้องมีการ login หรือแม้กระทั่งเข้าดูกล้องที่บ้าน เล่นเกมส์ก็หลุด พอจะ config ทำ Protocol binding หรือ Policy base routing ก็ต้องรู้ Port รู้หมายเลข IP ปลายทาง


แต่..Loadbalance ของ Peplink มี Mode Loadbalance ให้เลือกง่ายๆเลยครับ ซึ่งมีถึง 7 Mode ให้เลือกใช้เลย (ถ้าเลือกไม่ถูก โทรสอบถามทางร้านได้เลยนะครับ ^^)


อยู่ใน Menu Outbound Policy




ขออธิบาย Outbound Policy ใน Peplink นิดนึง

มอง Outbound Policy เป็นเหมือนเราจะส่งอะไรซักอย่างไปหาผู้รับนะครับ

Source คือ ใครเป็นผู้ส่ง , IP Address หมายเลขอะไร หรือ จะเป็น IP Address ทั้งหมด
Destination คือ ใครเป็นผู้รับ , IP Address หมายเลขอะไร หรือ จะเป็น IP Address ทั้งหมด หรือ ระบุเป็นชื่อ Web ปลายทางได้เลย
Protocol คือ รูปแบบของพัสดุที่ส่งไป จดหมาย, กล่องไปรษณีย์ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่, ใน Peplink คือ TCP หรือ UDP หรือระบุรูปแบบการสื่อสารข้อมูลไปเลยว่าเป็น HTTP, HTTPS, FTP
Port: เมื่อระบุ Protocol แล้ว ก็กำหนดหมายเลข Port เคยเจอลักษณะแบบนี้มั้ยครับ http://xxxx.com:9000 ความหมายคือ สื่อสารข้อมูล Protocol แบบ HTTP แต่วิ่งบน Port 9000 ครับ



Algorithm: 7 Mode ที่เกริ่มมาข้างต้นครับ อธิบายทีละ Mode เลยนะครับ ไม่เข้าใจตรงไหน post ถามได้เลยนะครับ

1. Weight Balance: จะเป็นการรวมค่า Download ทั้งหมด จากนั้นแบ่งการวิ่งเป็น % ของแต่ละ WAN เช่น Wan1 ออก 10% และ Wan2 ออก 90%




2. Persistance: เป็นการทำ Loadbalance By Session แก้ปัญหาพวก web หรือ service ที่เป็น SSL เช่นพวก Internet Banking โดย Mode นี้จะเป็น Default มาให้เลยครับ




3. Enforced: เป็นการบังคับเลยว่า Service ไหน หรือ IP ไหน เข้าออก Wan ไหน หรือเรียกกันว่า แยกเน็ตแยกเกมส์




ตัวอย่างครับ

ผมทำ Forward port ตัว NAS ไว้ที่บ้าน ใช้ Port 5000 ปัญหาคือเวลา Login แล้วจะเด้งกลับเข้าหน้า Login เดิมตลอด เลยต้องทำ Enforced ที่ Wan 1 ไว้เลยครับ




4. Priority: จะเป็นการทำ Redundant หรือ Link Backup ครับ ระบุ Wan หลัก และ Wan รอง ถ้า Wan หลักล่ม Traffic จะวิ่งที่ WAN ถัดไป



ตัวอย่าง

เมื่อใช้ Loadbalance มีปัญหาเวลาเข้าระบบ admin ของทาง website ร้าน จะหลุดเข้าหน้า login ตลอด

เลยจัดการตั้ง Priority ให้ออก Wan1 เป็นหลัก และ ชี้ Destination เป็นชือ Domain Name คือ sysnetcenter.com ครับ หรือ เรียกง่ายๆคือล๊อค website ว่าให้ออก Wan ไหนเป็นหลักครับ




5. Overflow: คล้ายๆ Priority โดย Traffic จะวิ่ง Wan หลักก่อน แต่ถ้า Traffic Wan หลักเต็ม แล้วมี Packet เข้ามาเพิ่ม ก็จะให้ไปวิ่งที่ WAN ถัดไป มองเป็นการจราจรในกรุงเทพแล้วกันครับ เวลารถติดช่วงเช้าๆแล้วจราจร มาเปิดเลนให้วิ่งอีกเลน




6. Least Used: จะส่ง Traffic ที่เข้ามาใหม่ไปยัง WAN ที่มี Traffic น้อยที่สุด




7. Lowest Latency: คล้ายๆ Least Used แต่ จะส่ง Traffic ไปยัง WAN ที่มีค่า Latency ที่ต่ำสุด ถ้าสั่งเกตุใน Web Speedtest ก็คือ เส้นที่มีค่า Ping ต่ำกว่าเพื่อน




เยอะ!!


อุปกรณ์ Peplink Balance One รองรับการทำ QOS ในระบบ Application ได้ครับ




แต่จะเป็นลักษณะกำหนดแบบ Priority ไม่สามารถจำกัดความเร็วได้ (ระบุเป็น Priority จะดีกว่าเยอะครับ)




รองรับการทำ Firewall ให้ Block youtube, streaming, bittorrent หรืออื่นๆ




Remote Dial-up เข้ามาได้ถึง 15 Account





อุปกรณ์ Peplink Balance อาจจะดูว่า Menu Config เยอะมาก แต่ design มาดีครับ เข้าใจ concept ก็ config ได้ไม่ยาก พวก Log ก็ทำค่อนข้างละเอียด เวลามีปัญหาก็แก้ไขได้ง่าย


ปัญหาของ Loadbalance คือเรื่องการ Maintenance นี้แหล่ะครับ ไม่ใช่แค่ว่าติดตั้งเสร็จแล้ว Test speed โชว์ เป็นอันจบเรื่อง เก็บตังค์ กลับบ้าน มันจะมีเรื่องการทำ Policy ให้ Service ไหน วิ่งออก Internet เส้นไหน การจัดการเรื่อง Session ถ้าเลือกอุปกรณ์ที่ config ยากๆ เช่น Mikrotik บอกเลย จะใช้เวลาไปกับการ Maintenance เยอะมาก สุดท้าย ไม่คุ้ม หรือ Requirement แปลกๆประหลาดๆ ก็ต้องมานั่งหาวิธีกันอีก

หรือ ถ้าใช้ในองค์กร, บริษัท ฝ่าย IT เหนื่อยครับ หัวหน้าบ่นดู Youtube แล้วกระตุก ก็ต้องใช้เวลากันเป็นชั่วโมงๆ เพื่อแก้ปัญหากันแล้ว ถ้าต้องการแบบ config ง่ายๆ รองรับ Requirement ได้หลากหลาย ตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่ต้องมาเหนื่อยกับการ Maintenance หัวหน้า happy ฝ่าย IT ก็ happy ถ้า budget ถึง อุปกรณ์ Peplink Loadbalance ถือเป็นทางเลือกแรกๆเลยครับ


เท่านี้ก่อนนะครับ รายละเอียดปลีกย่อยเดี๋ยวผมค่อยทะยอยลงอีกทีนะครับ  ;D ;D ;D