Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • คู่มือการ Config Ubiquiti Unifi Gateway, Unifi Switch, Unifi AP และ Unifi Cloud
    เริ่มโดย yod
    Read 26,159 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

คู่มือการ Config Ubiquiti Unifi Gateway, Unifi Switch, Unifi AP และ Unifi Cloud Key





ตัวอย่าง จะ Config Ubiquiti Unifi Gateway ใน Mode Load Balance, กำหนด VLAN บนอุปกรณ์ Unifi Switch และทำ Multiple SSID (ชื่อสัญญาณ Wireless) บนอุปกรณ์ Unifi Access Point


IP Default ของ Unifi Security Gateway จะเป็น 192.168.1.1 อุปกรณ์ Unifi Switch, Unifi AP และ Unifi Cloud Key ค่า IP Default จะเป็น DHCP Client รับหมายเลข IP จาก Unifi Gateway ครับ

ถ้าต้องการเปลี่ยน IP เป็นวง Network อื่น ให้เปลี่ยนที่ Unifi Gateway ก่อนครับ


ลง App UBNT Discovery บน Google Chrome --> Click UNIFI FAMILY ตัว App จะทำการ Scan อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi ที่อยู่ในวง Network ของเราครับ

ค่า IP ของ Unifi Gateway เป็น 192.168.1.1 และ Unifi Cloud Key (UC-CK) เป็น 192.168.1.8




เข้า Config Unifi Security Gateway ก่อนครับ

พิมพ์ 192.168.1.1 ที่ Browser, Default User/Password คือ ubnt/ubnt




การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi จำเป็นที่จะต้องให้เครือข่ายเราออก Internet ได้ครับ เพราะต้องมีการ Upgrade Online บางครั้งถ้าไม่ได้ Upgrade ตัวอุปกรณ์ Unifi มันไม่ยอมให้เรา Config


เบื้องต้นกำหนด WAN เป็น DHCP เพื่อรับ IP จาก Router และ เปลี่ยน IP Lan ได้ที่ Menu นี้ครับ




Login เข้า Unifi Cloud Key ด้วย IP 192.168.1.8 , Default User/Password ubnt/ubnt จะเข้าหน้าจอหลัก


Unifi Controller จะเป็น Software Unifi Controller ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์ Ubiquiti Unifi ทั้งหมด

ส่วน Unifi Cloud Key จะเป็นการจัดการอุปกรณ์ Unifi Cloud Key (UC-CK) เช่น เปลี่ยนหมายเลข IP, Upgrade Firmware




Click ที่ Unifi Cloud Key ก่อน

ทำการ Upgrade ให้เป็น Firmware ล่าสุด

Menu Maintenance --> Firmware




กำหนดหมายเลข IP ของ Unifi Cloud Key, ตั้งชื่อ Device Name, ตั้ง Time Zone เป็น Bangkok




Apply Change เรียบร้อย ให้เข้าหน้าหลักอีกรอบครับ โดยการพิมพ์ IP ของ UC-CK คือ 192.168.1.8 เข้า

Menu Unifi Controller --> Manage จะเข้าหน้าจอ Wizard

เลือก Country และ Timezone




รายการอุปกรณ์ Unifi ที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบ ให้ Click Next ไปก่อน




กำหนด UserName และ Password ตั้งค่า Password ต้องมีตัวอักษรเล็กใหญ่ ตัวเลขด้วยนะครับ

ส่วน Device Authenticate ให้ Save Password ไว้ด้วย เผื่อไว้ Login ผ่าน SSH




เลือกใช้ UC-CK จะมี Cloud Service ให้ใช้ด้วยครับ สามารถ Remote จากภายนอกเข้ามาใน Controller ได้




ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิก เข้าไปสมัครใน web https://account.ubnt.com/login




หลังจากผ่าน Wizard เรียบร้อยแล้ว จะเข้าหน้าจอประมาณนี้ Click x ข้ามได้เลย




หน้าจอ Dash Board ของ Unifi Controller ครับ ให้ Click ที่ Menu Device จะมีรายการอุปกรณ์ Unifi ที่เชื่อมต่อในระบบ Click Adopt ถ้าอุปกรณ์ตัวไหนให้ Upgrade ทำการ Click Upgrade ด้วยครับ




ระหว่างรอ Upgrade เข้า Menu Setting ก่อนได้เลย




สร้าง VLAN 100, 101 และ 102

Menu Network --> Create Network

Name: VLAN100
Purpose: Corperate
Network Group: LAN
VLAN: 100
Gateway/Subnet: 192.168.100.1/24 ระบบจะ Generate DHCP Range ให้อัตโนมัติ



Click [Save]


Create VLAN 101 และ 102




สร้าง SSID

เข้า Menu Wireless Networks สร้าง WLAN Group --> Click [ + ]






ตัวอย่างจะสร้าง SSID เป็น 3 ชื่อครับ แบ่งเป็น

Manager WIFI: VLAN 100 ไม่จำกัด Bandwidth
Staff-WIFI: VLAN 101 จำกัด Bandwidth Download 30Mbps, Upload Unlimit
Guest-WIFI: VLAN 102 จำกัด Bandwidth Download 5Mbps, Upload 5Mbps

กำหนด User Groups เพื่อจำกัด Bandwidth ให้แต่ละ Group ก่อน

Menu User Groups --> Created New User Group




กำหนดของ Guest ด้วยครับ




Menu Wireless Networks เลือก WLAN Group จากนั้น Click [Create New Wireless Network]


Name/SSID: ชื่อสัญญาณ Wireless (Manager-WIFI)
Security: WPA Personal
Security Key: รหัสที่จะให้ User กรอกตอนเชื่อมต่อ Wireless
VLAN: 100
Fast Roaming: ไม่ต้อง Enable ก็ได้นะครับ เวลา User เดิน แล้วสัญญาณหลุดจาก AP ตัวเดิม จะเชื่อมต่อที่ AP ตัวใหม่ให้อัตโนมัติ แต่ต้องกำหนดช่องสัญญาณ (Channel) ให้เหมือนกัน และ Security เป็น WPA2




สร้าง Staff-WIFI กำหนด User Group เป็น STAFF-LIMIT (ที่สร้างไว้ใน User Groups)






กำหนด SSID ให้กับ Unifi Access Point

เข้าที่ Menu Device แล้ว Click เลือก Access Point จะมี Menu มาจากด้านขวา Click รูป Gear จะเป็นการ Config อุปกรณ์ Access Point

การกำหนด Channel (ช่องสัญญาณ) ให้กับ Access Point กรณีที่ติดตั้งหลายๆตัว ไม่ควรเลือก Auto นะครับ เพราะระบบ Controller จะยังไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ แนะนำให้เลือกเป็นช่อง Channel เลย


ถ้าเป็นย่าน 2.4GHz ตัวแรกก็ใช้ 1 ตัวถัดไปก็เป็น 6 และตัวต่อไปอีก ก็เป็น 11 สลับแบบนี้ไปเรื่อยๆเพื่อไม่ให้สัญญาณรบกวนกันเอง ส่วนย่าน 5GHz ก็เรียงเช่นกันครับ




เลือก WLAN ทั้งย่าน 2.4GHz และ 5GHz




เวลาเปลี่ยนค่าต่างของอุปกรณ์ Ubiquiti Unif ให้ Click [Queue Change] แก้ไขค่าอื่นๆให้เรียบร้อย และค่อย Click [Apply Change] นะครับ


กำหนด VLAN ให้กับ Port ของ Unifi Switch โดย Click เข้า Config ของตัว Unifi Switch ครับ


เลือก Port จากนั้น Click [Edit] (รูปปากกา)




กำหนดให้ Port เป็น VLAN ที่ต้องการ จากตัวอย่าง ให้ Port 3 เป็น VLAN 100 และ Port 4 เป็น VLAN101







Ubiquiti Unifi Switch รองรับการทำ Port Mirroring และ Port Aggregate ด้วยครับ





พอ Config อุปกรณ์ Unifi AP และ Unifi Switch เรียบร้อย

ทำ Loadbalance บน Unifi Gateway กันต่อครับ

ใน Mode Load Balance บน Unifi Security Gateway จะไม่ได้เป็นการรวม Internet ทั้ง 2 เส้นเข้ามาที่เครื่อง PC เครื่องเดียวนะครับ จะเป็นการ Share Load กันให้กับเครื่องที่อยู่ภายในวง Network เช่นปกติมี Internet 100Mbps 1 เส้น มีเครื่อง PC ใช้อยู่ 10 เครื่อง ก็จะเฉลี่ยกันไปเครื่องละ 10Mbps แต่ถ้ามี Internet 2 เส้น เส้นละ 100Mbps ก็จะได้เป็น 20Mbps ต่เครื่อง

เข้า Menu Settings --> Networks --> Create New Network


ตัวอย่างเป็นการกำหนดค่า Internet True เชื่อมต่อแบบ PPPoE Client

Name: True Internet
Purpose: WAN
Network Group: WAN2
Connection Type: PPPoE
Loadbalincing: Weight LB






ทำการ Enable Port Wan2 ที่ Menu Device







เรียบร้อยครับ  ;D ;D


หัวข้อนี้จะเป็นการทำ Dynamic DNS และ Forward Port ในอุปกรณ์ Ubiquiti Unifi Security Gateway ครับ https://www.sysnetcenter.com/board/index.php?topic=4551