Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • Review Engenius EMR3000 Mesh Router กระจาย WIFI ทั่วบ้าน
    เริ่มโดย yod
    Read 25,975 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

Review Engenius EMR3000 Mesh Router กระจาย WIFI ทั่วบ้าน



ปัญหาเรื่องสัญญาณ Wifi ที่ผมเจอบ่อยๆ จากลูกค้า  ;D ;D

Modem Router อยู่ชั้น 1 สัญญาณ wifi ไปไม่ถึงชั้น 3 เล่นแท๊บเลตไม่ได้ หรือ อยากให้สัญญาณ Wifi มีทั่วบ้าน แต่ไม่สะดวกเดินสาย Lan เพื่อไปติด Access Point แต่ละจุด

โอเค..จัดให้ครับ  ;)


การแก้ปัญหา Wifi ไปไม่ถึงจุดที่เราจะใช้งานและไม่อยากเดินสาย Lan เราจะใช้ตัวกระจาย Wireless (Access Point) เลือกรุ่นที่มี Mode WDS หรือ Mode Repeater เพื่อทวนสัญญาณ Wifi ให้ไกลขึ้น แต่มันก็จะมีข้อจำกัดบางเรื่องที่เราต้องยอมรับครับ

เดี๋ยวอธิบายเรื่อง WDS กับ Repeater นิดนึงครับ


การทำ WDS (Wireless Distribution System)

จะเป็นการใช้สัญญาณ Wireless เชื่อม Access Point สองฝั่งเข้าหากัน เสมือนการเดินสาย Lan เป็นเทคโนโลยีนานแล้วครับ แต่ก็ยังมีประโยชน์เยอะอยู่

ลักษณะตามรูปเลย




AP#1 จะทำ Mode AP-WDS กับ AP#2 และ AP#3 ซึ่งจะทำให้ตัว AP#2 และ AP#3 สามารถกระจายสัญญาณ Wifi ให้ Device เช่นพวก Tablet, Notebook ได้ และ ก็ยังสามารถทำ Mode AP-WDS ระหว่าง AP#2 กับ AP#3 ได้อีก

การตั้งค่าจะยุ่งยากหน่อย คือ ต้องแลก MAC Address กัน, คลื่นความถี่ Channel ต้องเหมือนกัน และ ถ้ามี Wireless Security ต้องเป็น WEP เท่านั้น ตัวอย่างการ Config ครับ การ Config Engenius ENS202-EXT ใน Mode WDS เพื่อขยายระยะสัญญาณ Wireless


แต่การทำ WDS มันก็จะมีข้อจำกัดตามนี้ครับ..

หลักๆเลยคือถ้าต้องการใช้ Wireless Security จะต้องเป็น WEP เท่านั้น ใช้ WPA2 ไม่ได้ และ WEP มันง่ายต่อการแกะรหัสมากๆ ผลกระทบเบาๆคือ มีชาวบ้านมาช่วยแบ่ง Internet ถ้าหนักๆ พี่แกเปิด Wireshark ดู Packet เราเพลินเลย

และข้อจำกัดอีกอย่างคือทำ Link Backup




จากรูปจะเห็นว่าเราไม่สามารถ ทำ Link Backup ในกรณี AP#2 มันพัง โดยการทำ AP-WDS ระหว่าง AP#3 กับ AP#4 ไปพร้อมๆกันได้ เพราะมันจะเกิด WDS Loop ทำให้ใช้งานไม่ได้ครับ ต้องมานั่ง config กันใหม่


ส่วนการทำ Repeater หรือ บางทีจะใช้คำว่า Universal Repeater

ทางผมเคยเขียนบทความเอาไว้ครับ จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น การเลือกใช้ Repeater เพื่อแก้ปัญหา Wireless ภายในบ้าน

Repeater จะเป็นการก๊อปปี้ข้อมูลแล้วกระจายสัญญาณออกไปอีกต่อนึง ส่วนใหญ่ก็จะต้องกำหนดเป็นอีกชื่อ SSID ทีนี้ Internet ปัจจุบันมันไวขึ้นมาก การทำ Repeater มันมี Delay Time เยอะ ทำให้ช้าครับ และถ้าเราต้องการนำ AP ตัวที่ 3 มา Repeate AP ตัวที่ 2 ถ้าจากที่ทางผมเคยทดลอง ความเร็วเหลือหลัก Kbps ครับ



ทีนี้... เทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้เราไม่ต้องเจาะผนังบ้าน มี Wifi ทีเร็วและแรงให้เราได้เล่นกันทุกจุด เราเรียกกันว่า MESH Network ครับ  ;D ;D


Mesh คืออะไร?


MESH Network หรือ Mesh Topology เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อแบบใยแมงมุม ...มีมานานแล้วครับ แต่ไม่นิยม เพราะแพง และ ข้อจำกัดเรื่อง Wireless เมื่อก่อนมันเป็น Wireless g/n มันช้าครับ ลงทุนไม่คุ้ม พวก WDS เดิมๆ หรือพวก Repeater ก็ใช้ได้แล่ะ ถูกกว่าเยอะ  8)

แต่ปัจจุบัน.. เป็น Wireless AC มีทั้ง Wave1 Wave2 เร็วขึ้นหลายเท่า และ คลื่นก็ใช้กันหลายช่องพร้อมๆกัน ช่องสัญญาณสำหรับเชื่อม MESH หากันก็แยกออกไปอีก ทำให้ตัดปัญหาสัญญาณทับซ้อนกันได้ดีขึ้น เราก็จะได้ความเร็วใกล้เคียงกับตัว AP ต้นทางได้มากขึ้น


มีรูปมาให้ดูกันอีก




รูปแบบจะคล้ายๆ WDS ครับ จะเห็นว่า AP#4 มันจะสามารถเกาะกับ AP#3 หรือ AP#2 ได้ โดยอุปกรณ์มันจะเลือกเองว่าเครื่องไหนสัญญาณแรง response time ไว ก็จะไปเกาะเครื่องนั้น และถ้ามันเกาะ AP#2 อยู่ดีๆวันนึง AP#2 ตัว Adapter พัง หรือมีอะไรมาบังสัญญาณ มันก็จะมาเกาะ AP#3 ให้เองโดยอัตโนมัติ ถ้าออกแบบกันดีๆจะมีความเสถียรมากครับ



เหมือนทีมฟุตบอล ปีกซ้ายโดนประกบ ก็ส่งให้ปีกขวาซะ


และ อีกอย่างคือ Wireless Security จะสามารถเลือกใช้เป็น WPA2 ได้ครับ ไม่ต้องห่วงว่าจะมีใครมาช่วยใช้งานหรือมาแอบดักข้อมูลเรา


ok. ทฤษฏีเราไม่เน้นมากครับ เน้นขายของ  8) 8)


ที่อธิบายกันยาวซะหลายบรรทัด ก็เพื่อจะเปิดตัว Engenius EMR3000 EnMesh Whole-Home Wi-Fi นี้แหล่ะครับ   ;)


Spec คร่าวๆอุปกรณ์ครับ

Access Point มาตรฐาน 802.11AC กระจายสัญญาณได้ 2 ความถี่ 2.4GHz และ 5GHz พร้อมกัน รองรับ Bandsteering ทำ Mesh Node ได้สูงสุด 8 Nodes  เสาอากาศแบบภายใน 4 ต้น กระจายสัญญาณรอบทิศทาง กำลังส่งสูงสุด 20dBm, Port Lan/Wan ความเร็ว Gigabit, 1 Port USB รองรับ Samba ไว้ทำพวก NAS ครับ

Mode Wireless รองรับ Parental Controls, Block web, การกำหนดการใช้งาน internet ตามเวลา, ตั้ง guest mode

รองรับ Mode Router เพื่อทำการเชื่อมต่อ Internet แบบ PPPoE , Static IP และ DHCP หรือทำ Bridge Network เพื่อเชื่อมต่อกับระบบ Network เดิมได้เลยครับ


รูป

ผมได้ตัว Demo มาเป็นแบบ Pack 3 มี Engenius EMR3000 3 ตัวในกล่องครับ




ตัวค่อนข้างเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 12.5cm




Port Wan/Lan ความเร็ว Gigabit มี USB สำหรับต่อ HDD ทำ File Sharing ใช้ไฟ 12VDC




ต่อสาย Lan จาก Router ที่บ้านเข้าตัว EMR3000 ตัวที่ 1 ส่วน EMR3000 ตัวที่ 2 กับ 3 เสียบปลั๊กไว้เฉยๆครับ





การ config อุปกรณ์ Engenius EMR3000 คร่าวๆครับ


เบื่องต้นผม Config ผ่าน Smartphone ให้ลง App ชื่อ EnMesh For Home รองรับทั้ง iOS และ Android เปิด Bluetooth ที่มือถือไว้ด้วยนะครับ




ยังไม่มี Account ให้เลือก Wizard




ทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ ขั้นตอนช่วงนี้จะมีการ เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ด้วยครับ แต่ลืม cap  :P




กำหนด ชื่ออุปกรณ์/ SSID/ Wi-Fi Password






จากนั้นก็เชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ตั้งเอาไว้  เบื้องต้นผม Test Speed ได้ 60Mbps/25Mbps (เน็ทที่บ้านใช้ True ครับ จำไม่ได้ว่าใช้ Package อะไร)




Add Device EMR3000 เพิ่มไปอีก 2 ตัว




จะมี Tip เรื่องตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสม






เปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ให้สื่อนิดนึงว่าตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง




ตำแหน่งอุปกรณ์ที่ผมลองไปติดตั้งจะมีบนชั้น 1 และชั้น 2 ที่ห้องด้านหน้ากับด้านหลัง


หน้าจอ Mesh Network จะเป็นการบอกว่า AP ตัวไหนเกาะอยู่กับ AP ตัวไหนเป็นหลัก จากรูป ตัว Floor2#1 เกาะกับตัว Floor2#2 และตัว Floor2#2 เกาะกับตัว Office Room อีกที

Upload/Download ด้านบนจะเป็นตัวเลขแสดงความเร็ว Internet ส่วน Mesh Speed Test ด้านล่างจะเป็นความเร็วที่เชื่อมต่อหากันแต่ละ Node อ้อ..การเชื่อมต่อระหว่าง AP ด้วยกันใน Mesh ตัว AP นั้นๆจะเรียกว่า Node นะครับ




นั่งอยู่ใกล้ตัว Floor2#1 มือถือเลยไปเกาะตัวนี้




สามารถเลือก Test Speed ที่ Node ไหนก็ได้ครับ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งการวางของอุปกรณ์






Engenius EMR3000 รองรับการทำ Parntal Control เผื่อจะ Block การใช้ Internet ตามวันเวลา, Block Facebook, Youtube หรือ Web ที่มี Keyword ที่ตั้งไว้




ทีนี้ลอง Config ผ่าน PC ครับ


IP Default จะเป็น 192.168.0.1 ส่วน User/Password จะเป็นค่าที่เราตั้งไว้ครั้งแรก




หน้าจอหลักจะแสดงสถานะ Mesh Connection Quality หน้านี้ช่วยให้เราตรวจสอบว่า Mesh มีปัญหาหรือไม่ ตำแหน่งที่ติดตั้งมันดีแล้วหรือยัง จะมีสีแสดงสถานะ




Mesh List มีอุปกรณ์อยู่กี่ตัวในระบบ และ Device List จะบอกว่ามี Device อะไรมาเกาะอยู่กับ EMR3000 ตัวไหนบ้าง






รองรับ Mode Band Steering ผมอธิบายเรื่อง Band Steering ไว้ในหัวข้อนี้ครับ การทำ Band Steering บนอุปกรณ์ Engenius Access Point แบบ Dual-Band




Wireless Security รองรับแบบ WPA2 ไม่ต้องห่วงเรื่องโดน Hack สัญญาณ




กรณีทำ Mode Router อุปกรณ์รองรับการเชื่อมต่อแบบ PPPoE/ Static IP และ DHCP Client แต่ถ้าต่อเข้ากับ Router ที่เราใช้อยู่ และต้องการให้ EMR3000 เป็น Access Point อย่างเดียว ให้เลือก Operation Mode เป็น Bridge Mode ครับ และตั้ง IP ให้อยู่ในวงเดียวกันด้วย




รองรับการทำ File Sharing (Samba) แต่อุปกรณ์ตัวเล็กๆ อย่าใช้กันเยอะครับเดี๋ยวจะแฮ้งก์เอา




Port Forwarding รองรับการกำหนด Local Port และ Public Port ที่ผมให้ดูในส่วนนี้ด้วย เพราะที่เจอ Router บางรุ่นมันไม่ยอมให้เรากำหนด Local Port กับ Public Port แยกหมายเลขกัน

เพราะโดยปกติอุปกรณ์ Network ส่วนใหญ่จะใช้ Port 80 เข้าหน้า Config ทีนี้ถ้าเราต้องเปลี่ยน Port เพื่อจะให้ Remote จากข้างนอกเข้ามา ระยะยาวเราจะลืมหมายเลข Port ครับ ถ้าลืมนี้เป็นเรื่องเลย

ถ้าอุปกรณ์สามารถแยก Local/ Public ได้ เวลาเราอยู่ข้างนอก Remote เข้ามาก็ใช้ Port ที่เราตั้งแบบ Public ไว้ แต่พออยู่ในวง Lan ก็พิมพ์แค่หมายเลข IP อย่างเดียว ไม่ต้องตามด้วยหมายเลข Port




ทาง Engenius มี Dynamic DNS ให้ใช้ฟรีๆ engeniusddns.com




เมื่อก่อนที่บ้านผมมี Access Point ตั้งไว้ที่ชั้น 1 ในห้องทำงาน เวลาใช้ Smartphone ที่ชั้น 2 Internet จะหลุดบ่อยมาก เลยตัดสินใจเดินสาย Lan เข้าไปทุกห้อง และเนื่องจากเป็นบ้านเก่า เลยต้องเดินลอยและต้องเจาะพื้นบางจุด แต่ข้อดีก็คือต่อสาย Lan เข้ากับพวกเครื่อง Media Player ดูหนังไม่มีกระตุกเลยครับ และก็เพิ่ม Access Point ข้างบนไปอีกตัว นั่งเล่น Tablet ในห้องน้ำ ไม่มีปัญหาเลย


แต่ถ้าไม่อยากเจาะบ้านเดินสาย Lan การใช้งานส่วนใหญ่ใช้ผ่าน Smartphone Tablet หรือ Laptop ที่บ้านมี Internet ความเร็วสูงๆ เพราะถ้ามีเน็ต 50M แต่ไปใช้บนบ้านได้แค่ 10M ถือว่าขาดทุนครับ ตัว Engenius EMR3000 ถือว่าเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างดีเลย config ง่ายจริง เพราะถ้าเป็นอุปกรณที่ทำ Mode WDS การ Config จะค่อนข้างยุ่งยาก และยังมีปัญหาเรื่อง Security อีกต่างหาก แต่ราคาพวกอุปกรณ์ Mesh ก็ยังแอบแรงไปซักหน่อยครับ  :-\ :-\


คร่าวๆเท่านี้ก่อนนะครับ รูปเยอะนิดนึง  ;D




เป็นระบบที่เรียบง่าย แต่น่าใช้้ครับ