Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • คู่มือการ Config Ubiquiti UNIFI Controller V6
    เริ่มโดย yod
    Read 14,755 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod
คู่มือการ Config Ubiquiti UNIFI Controller V6.


หลังจากลองใช้ Unifi Controller V6 พอเราเลือก Try New Settings หน้าจอ GUI สำหรับการ Settings จะเปลี่ยนหมดครับ แต่ทาง Ubiquiti ยังอนุญาติให้ใช้การ Config แบบเดิมได้อยู่ แต่ๆๆ Feature ใหม่ๆ จะเห็นมีอยู่ใน News Settings คิดว่าต่อไปคงจะบีบมาให้ใช้ตัวใหม่กัน





ตัวอย่าง ในคู่มือผมจะเสริม Solution ที่นิยมใช้งานกันครับ ให้ Mikrotik Router เป็น Gateway ทำ Inter VLAN แบ่งเป็น 3 VLAN ใช้ Ubiquiti Switch USW-16-POE ทำ Trunk Port และ Access Port ส่วน Ubiquiti Access Point UAP-AC-LR กระจายสัญญาณ WIFI 3 ชื่อ ควบคุมด้วย Unifi Cloud Key Gen2 ครับ


กำหนด VLAN
VLAN 30: สำหรับ Manager ใช้ Internet ได้เต็ม Speedไม่มีการบีบ Bandwidth 
VLAN 40: สำหรับ Staff จำกัดการใช้งาน Internet ให้ความเร็ว User ละ 10Mbps
VLAN 50: สำหรับ Guest มีหน้า Login เพื่อเข้าใชงาน Intenet จะใช้ระบบ Hotspot Authenticate ของ Mikrotik


กำหนด SSID ใน Access Point
@Sysnet-Manager: สำหรับ Manager
@Sysnet-Staff: สำหรับ Staff
@Sysnet-Guest: สำหรับแขกที่มาใช้งาน Internet


กำหนด Trunk Port และ Access Port ใน Unifi Switch
Port 1: Trunk Port เชื่อมต่อ Mikrotik
Port 2: Trunk Port เชื่อมต่อ Unifi Controller
Port 3: Trunk Port เชื่อมต่อ Unifi Access Point
Port 9-10: Access Port VLAN 30
Port 11-12: Access Port VLAN 40



Config Inter-VLAN ในอุปกรณ์ Mikrotik


ถ้าไม่ได้ใช้ Mikrotik เป็น Gateway หรือ ไม่ได้ทำ VLAN ข้ามหัวข้อนี้ไปที่การ Config Ubiquiti UNIFI Controller ได้เลยครับ

การ config Mikrotik ทางผมขอไม่ลง Detail เยอะนะครับ ผมทำไว้หลายหัวข้อล่ะ


1. สร้าง VLAN 30, 40 และ 50




2. กำหนด IP Address ให้แต่ละ VLAN




3. กำหนด DHCP Server แต่ละ VLAN




4. สร้าง Hotspot Server สำหรับ Interface VLAN 50




5. สร้าง User Profile และ User






6. ทำ NAT เพื่อให้แต่ละ IP Network ออก Internet ได้




7. ทำ QOS เพื่อกำหนดให้ Users Staff ใช้ Internet ได้ความเร็วตามที่กำหนด

Menu Queue --> Queue Types --> Add
Type Name: pcq_download
Kind: pcq
Rate: 10M (กำหนดความเร็วตังนี้ครับ หน่วยเป็น bits/s)




สร้างอีก Type เป็น pcq_upload



Menu Simple Queues --> Add
Name: staff-queue
Target: 192.168.40.0/24 วง Network Staff




Tab Advanced

Target Upload
Queue Type: pcq_upload

Target Download
Queue Type: pcq_upload






Config Unifi Controller (Unifi Cloud Key)


เชื่อมต่อ Gateway (ในตัวอย่างเป็น Mikrotik), Unifi Controller และ PC เข้ากับ Switch


1. แนะนำให้ใช้ Google Chrome ติดตั้ง App UBNT Discovery จะง่ายในการหาอุปกรณ์ Ubiquiti Unifi ในระบบครับ




2. เข้า Manage Unifi Cloud Key ผ่าน Webbrowser --> Manage Cloud Key




User/Password: ubnt/ubnt




บังคับเปลี่ยน Password พอเปลี่ยนแล้ว อย่าลืมน่ะครับ ไม่งั้นต้อง Reset





Menu Settings

กำหนด Timezone และ Update Firmware ระบบต้องออก Internet ได้แล้วนะครับ ไม่งั้นต้อง Download มา Update เอง






3. Fix IP ให้ Unifi Controller ใน Menu Network




Menu Controllers --> Unifi Network --> Setup Network จะเป็นการ Config Unifi Controller Software




จะเริ่มเข้า Wizard ครับ ส่วนใหญ่ก็จะ Click Next ไปเรื่อยๆ




ใน Step 2 ถ้ายังไม่ได้ Register Ubiquiti Account ให้่ Click Switch to Advanced Setup (Register Account ทีหลังได้)




Disable Remote Access และ Use Your Ubiquiti account for local access

กำหนด Username/Password และ Email ในส่วน Password ต้องมี ตัวเลข ตัวใหญ่ และตัวเลข








Dashboard


Click ที่ Settings




4. ทำการ Update Cloud Key Controller ที่ Men Maintenance




หลังจาก Update อุปกรณ์จะ Reboot ให้ Login อีกครั้ง





5. ทำการ Adopt และ Upgrade อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi

ช่วงนี้ต้องรอหน่อยครับ เวลาจะขึ้นอยู่กับจำนวน Unifi ในระบบ




หลังจาก Adopt และ Upgrade เรียบร้อยจะขึ้น Status Connected

ถ้าขึ้น Status Adopt Fail หรือ Adopt Loop แบบนี้ งานงอกครับ ต้องมานั่งไล่ปัญหากัน




Unifi Access Point รุ่น UAP-AC-LR ไฟจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีฟ้า




ตั้งชื่อ Site , Country และ Timezone ที่ Menu Site





6. เปลี่ยน Mode เป็น Try New Settings

หน้าตาแบบใหม่จะประมาณนี้ครับ




7. สร้าง VLAN

ถ้าไม่ได้ทำ VLAN ข้ามข้อนี้ ไปข้อต่อไปครับ

Menu Advanced Features --> Network Isolation --> Click [Add Networks Isolation]




สร้าง VLAN 30, 40 และ 50




สร้าง VLAN เรียบร้อย หน้า GUI จะมี Bug อยู่ บางทีต้อง Refresh ถึงจะโชว์ครับ





8. สร้าง WLAN

เป็นการกำหนดสัญญาณ WIFI

Menu WIFI --> Add New WIFI Network




SSID: @Sysnet-Manager
Password: รหัส WIFI
Network: VLAN30-Manager (ถ้าไม่ได้ทำ VLAN ให้เลือกเป็น Default)
WIFI Band: Both




Enable Fast Roaming




ถ้ามี SSID ชื่อเดียวข้ามขั้นตอนนี้ ไปข้อต่อไปครับ

และสร้าง SSID @Sysnet-Staff
Password: รหัส WIFI
Network: VLAN40-Staff

ส่วน SSID: @Sysnet-Guest ใน GUI แบบใหม่จะไม่สามารถเลือก Password แบบ Open ได้ ต้องกลับไป หน้า Settings แบบเดิม





Menu Wireless Networks
SSID: @Sysnet-Guest
Security: Open




Click [Apply] แล้วกลับไปที่ New Settings


9. Config Port Trunk และ Port Access ในอุปกรณ์ Unifi Switch

ตั้งชื่อ Switch --> Menu Edit --> Alias




กำหนด Static IP ให้ Switch




ถ้าไม่ได้ทำ VLAN ผ่านครับ ไปข้อต่อไป

Menu Device --> Click ที่ Switch --> Click [Port]

Click [Edit] Port 1 ตั้งชื่อ Port และ Switch Port Profile เลือกเป็น All (Default)








Click [Edit] Port 9 และ Port 10

Name: ตั้งชื่อ
Switch Port Profile: VLAN30-Manager



ส่วน Port 11 และ Port 12 กำหนด Switch Port Profile เป็น VLAN20-Staff



การ Config Switch มีแค่นี้ครับ

ถ้าต่อ PC ที่ Port 9 หรือ 10 จะต้อง IP วง Network 192.168.30.0 และต้องต่อ Internet ได้



10. Config Ubiquiti Unifi Access Point

หลักๆก็จะแค่กำหนด Alias, Radio และ IP Address ครับ




ถ้าไม่ได้ทำ Mesh ให้ Disable Allow meshing




Fix IP Unifi Access Point




ถ้าต้องการ Reset และเอา อุปกรณ์ Unfi ออกจาก Controller ให้ Click [Forget] ครับ พออุปกรณ์มัน Reboot ก็จะโผล่มาในหน้า Device List ให้เรา Adopt ใหม่ได้



ทดสอบ

เชื่อมต่อ Wifi @Sysnet-Staff






ได้ IP Network 192.168.40.0/24




Test Speed ได้ตามที่กำหนดใน QOS Mikrotik




เชื่อมต่อ WIFI @Sysnet-Guest จะต้องขึ้นหน้า Login และต้อง Login เข้าใช้งาน Internet ได้ครับ




เรียบร้อยครับ ;D;D