Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,945
หัวข้อทั้งหมด
4,633

  • ติดตั้ง Internet Service Provider ด้วย RB-1100G และ Ubiquiti AccessPoint
    เริ่มโดย yod
    Read 23,230 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

ติดตั้ง Internet Service Provider (ISP) ด้วย RB-1100G และ Ubiquiti AccessPoint



สำหรับลูกค้าที่ใช้อุปกรณ์ Mikrotik RB1100G จากทางร้าน Sysnet และต้องการติดตั้งเป็น ISP นะครับ ระบบนี้จะทำเหมือน TOT Wifi เลย




ที่ผม Config ไว้ให้จากที่ร้านคือให้ Port Ethernet 1-7 จะเป็น Port สำหรับต่อเข้ากับ Internet (PPPoE Client) และ Set เป็น Load Balance ขนาด 7 Wan ไว้ ส่วน Port Ether8, Ether9 และ Ether10 จะเป็น PPPoE Server สำหรับ Port Ether11, Ether12 และ Ether13 จะเป็นระบบ Hotspot ที่ต้อง Login ผ่านหน้าจอ Authenticate

การตั้งค่า PPPoE Server จะอยู่ในหัวข้อ
https://www.sysnetcenter.com/board/index.php/topic,1707.0.html และ
https://www.sysnetcenter.com/board/index.php/topic,466.0/

ส่วนการ Config Loadbalance
https://www.sysnetcenter.com/board/index.php/topic,1753.0.html และ
https://www.sysnetcenter.com/board/index.php/topic,1556.0/

ทางร้านจะไม่ได้รับ Config ให้นะครับ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเลือกใช้งาน


Set Modem ให้เป็น Bridge Mode จากนั้นเชื่อมต่อสาย Lan เข้ากับ Port Ether1-7 ตรงนี้ต้องจดไว้ก่อนนะครับ ว่า Port ไหน ใช้กับ ISP ของอะไร


1. เชื่อมต่อสาย Lan ระหว่าง Computer เข้ากับ RouterBoard ที่ Port Ether11 จากนั้นลองเข้า www.google.com จะเข้าหน้า Login ให้ใส่ User: admin และ Password: 12345

2. Download โปรแกรม Winbox จาก Web http://www.mikrotik.com/download/winbox.exe

3. เปิดโปรแกรม Winbox ขึ้นมาครับ

ที่ช่อง Connect To ให้ Click ที่ [...] จะมีรายการของ Router ขึ้นมา ให้ Click ที่หมายเลข MAC Address จากนั้นใส่ User และ Password ที่ตั้งไว้ แล้ว Click [Connect]






4. เข้าที่ Menu PPP --> Interface ให้ Double Click ที่ pppoe-out หมายเลขด้านหลังคือหมายเลข Port Ethernet ของ Router ครับ

เข้า Tab Dial Out แก้ไข UserName และ Password ให้ตรงกับ ISP จากนั้น Click [Apply] ถ้า User/Password ถูกต้อง และ Set Modem ถูกต้อง จะต้องมี Status: connected ขึ้นมาที่มุมขวาล่างครับ ซึ่งหมายถึงเชื่อมต่อ Internet ได้เรียบร้อยแล้ว เสร็จแล้วก็ Click [OK]



ส่วน pppoe-out อื่นๆก็ให้ทำเช่นเดียวกันครับ

ในกรณีถ้าใช้ไม่ถึง 7Wan ให้ Disable pppoe-out อื่นๆไม่ได้ใช้ด้วยนะครับ Mikrotik เองจะได้ไม่ต้องพยายาม Connect บ่อยๆ ด้วยการ Click ที่ [ x ] ถ้า Enable ก็ให้ Click เครื่องหมายถูกครับ




5. ทีนี้กำหนด User สำหรับ Login แบบ PPPoE

เปิด Internet Explorer พิมพ์ http://192.168.1.1:81/userman โดย User/Password ตามที่ผมแจ้งไว้ครับ




6. จะเข้าหน้าจอ User Manager ที่ Menu ด้านซ้าย เลือก Users --> Add




7. ที่หน้าจอ Add User

User Name: กำหนด UserName
Password: กำหนด Password
Uptime Limit: กำหนดเวลาที่ User สามารถใช้ Internet ได้ ตั้งคร่าวๆเป็น 1000d ก้ได้ครับ

Rate Limt
RX: ค่าความเร็วในการ Upload ของ User (หน่วยเป็น k)
TX: ค่าความเร็วในการ Downloadload ของ User (หน่วยเป็น k)
Add Time: เลือกเป็น Unlimted

จากนั้น Click [Add]




ทำซ้ำข้อ 6 ในกรณีต้องการ Add User อื่นๆครับ

เสร็จเรียบร้อยครับ สำหรับ Mikrotik  ;D





ทีนี้ก็ Set อุปกรณ์ Access Point ครับ

จากตัวอย่างจะเป็นรุ่น Ubiquiti Nanostation M5 ครับ

เชื่อมต่อสาย Lan เข้ากับ Computer และ Access Point จากนั้นทำการ Fix IP Address ของ Computer ให้อยู่ในวงเดียวกับ Access Point

การ Fix IP Address บน Windows7 เพื่อ Config อุปกรณ์ Network

วิธีการ Fix IP ให้กับเครื่อง Computer เพื่อเชื่อมต่อกับ Access Point


อุปกรณ์ Access Point ของ Ubiquiti ให้ Update Firmware เป็น Version 5.3 ก่อนนะครับ
วิธีการ Up Firmware อุปกรณ์ Ubiquiti รุ่น AirMax



[อุปกรณ์ Access Point ตัวส่ง]

1. เข้าหน้า Config อุปกรณ์

Menu Wireless
Wireless Mode: Access Point (ผมยังไม่เคยลองด้วย Mode WDS นะครับ เดี๋ยวว่างๆจะทดสอบอีกทีครับ)
SSID: ชื่อสัญญาณ Wireless (ในกรณีมีตัวส่งหลายตัว ให้ตั้งชื่อ SSID ต่างกันนะครับ)

Security ไม่ต้องใช้ครับ เพราะใครมา Connect แบบ Access Point กับ Station โดยไม่ได้ใช้ Mode PPPoE ถึง Connect ได้ ก็ออก Internet ไม่ได้ครับ  ;D ;D




จากนั้น Click [Change]


2. เข้าหน้า Menu Network

IP Address: ใส่หมายเลข IP โดยไม่ให้ซ้ำกับตัวอื่นๆในระบบนะครับ
Netmask: 255.255.255.0
Gateway IP: 192.168.1.1
Primary DNS IP: 192.168.1.1



จากนั้น Click [Change] และ Click [Apply]

เสร็จแล้วก็เชื่อมต่อ Access Point เข้ากับ Port Ether 8 ของ RouterBoard ครับ


[อุปกรณ์ Access Point ตัวรับ]

อุปกรณ์ตัวนี้จะติดตั้งทางฝั่งลูกค้าครับ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวรับ ทำคล้ายๆกับ Modem Router ที่ทาง ISP เช่น true, tot หรือ ค่ายๆอื่นๆแจกมาครับ

เชื่อมต่อสาย Lan เข้ากับ Computer และ Access Point ตัวรับ

1. เข้าที่หน้า Wireless

Wireless Mode: Station
SSID: Click ที่ปุ่ม Select จะมีหน้าต่างขึ้นมา ให้เลือกสัญญาณ Wireless ฝั่งต้นทางครับ เสร็จแล้ว Click [Lock AP]






จากนั้น Click [Change]


2. เข้าที่หน้า Network

Network Mode: Router

[WLAN Network Settings]

WLAN IP Address: PPPOE
PPPOE Username: ที่กำหนดใน User Manager
PPPOE Password: ที่กำหนดใน User Manager

[LAN Network Settings]

IP Address: 192.168.30.1 (จะเป็นการแยกวง IP ออกมาจากวงของ RouterBoard นะครับ)
Netmask: 255.255.255.0
Enable NAT: Click เครื่องหมายถูก
Enable DHCP Server: Click เครื่องหมายถูก
Range Start: 192.168.30.2
Range End: 192.168.30.200
Netmask: 255.255.255.0




จากนั้น Click [Change] และ Click [Apply]


หลังจากเสร็จขั้นตอนนี้ให้ยกเลิกการ Fix IP ที่ Computer ออกได้เลยครับ ให้เลือกเป็น Obtain an IP automatically และ Obtain DNS server automatically.

เมื่อเลือกเป็น Obtain แล้ว Computer ที่เชื่อมต่ออยู่กับ Access Point จะต้องได้รับ IP Address จาก Access Point ตัวรับครับ โดยจะได้รับ IP เป็น Class เดียวกันกับ Access Point ฝั่งรับ (192.168.30.xxx)


3. เข้าที่หน้า Main ของอุปกรณ์ Access Point ตัวรับ โดยเข้าผ่าน IP Address 192.168.30.1


Click ที่ PPPoE Information

จะต้องมีสถานะการเชื่อมต่อผ่าน PPPoE ขึ้นมาครับ ให้ลองทดสอบเข้า Internet จะต้องเข้าได้ปกติครับ




จากตัวอย่างผมตั้งความเร็ว Download ให้กับ User นี้คือ 2 Mbps ลอง Test Speed ได้เกือบ 2 Mbps เลยครับ ตัดความเร็วได้เป๊ะมากๆ  :o :o :o





[การตรวจสอบสถานะ User ที่ Login เข้ามา]

เชื่อมต่อ Computer เข้ากับ RouterBoard ที่ Port Ether13 เข้า User Manager โดยเปิด Internet Explorer พิมพ์ http://192.168.1.1:81/userman

ที่ Menu Status ให้ Click เลือก Show จะแสดงรายชื่อ User ที่ Login เข้ามาครับ




หรือเข้าที่ Winbox เข้าที่ PPP --> Active Connections จะมีรายการ User ที่ Login เข้ามาเช่นเดียวกันครับ






[ทีนี้จะเป็นการสร้าง User ให้สามารถดูแค่สถานะที่หน้า Main ของอุปกรณ์ Access Point Ubiquiti ได้อย่างเดียวครับ]

เอาไว้ให้ทางฝั่งลูกค้า ดูสถานะได้อย่างเดียว กันเขาเข้าไปแก้ไขค่าอื่นๆที่เราตั้งไว้ แต่อย่าลืมแก้ไข User/Password ของ admin นะครับ เพราะ default มันเป็น ubnt ลูกค้าเขาเดาได้แน่นอน  ;D


1. เข้าหน้า Config ของอุปกรณ์ Ubquiti

ที่ Menu System ให้ Click เครื่องหมายถูกที่ Enable Read-Only Account
Read-Only Account Name: ต้องชื่อ User
New Password: กำหนด Password ให้กับ User




จากนั้น Click [Change] และ Click [Apply]



เรียบร้อยครับ  ;D ;D ;D