Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,951
หัวข้อทั้งหมด
4,633

กระทู้ล่าสุด


กระทู้ล่าสุด

#81
แนะนำสินค้าน่าใช้, Review Product / รบกวนช่วยแนะนำ Switch 8-10 por...
กระทู้ล่าสุด โดย kerosatoes - วันที่ 3 มีนาคม 2022, 01:26:27
รบกวนช่วยแนะนำ Switch 8-10 ports L2 manage power budget 240 watt ให้ด้วยครับ ราคาไม่มีปัญหาครับ
#82
ความรู้ทั่วไปในระบบเครือข่าย / Re: วิธีการค้นหา MAC Address ใ...
กระทู้ล่าสุด โดย kakakanga - วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2022, 21:00:06
เป็นประโยชน์มากๆ ครับผม ;D
#83
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / คู่มือการ Config Reyee Wi-Fi B...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2022, 12:08:10
คู่มือการ Config Reyee Wi-Fi Bridge เพื่อทำ Point To Point


ตอนนี้ทาง Ruijie ได้ออก Wireless Bridge มา 2 รุ่น สำหรับทำ Point To Point โดยในชุดจะมาเป็น Pack คู่เลย ทางร้านได้ทำ Review ไว้ อยู่ใน Link นี้ครับ เชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลด้วย Wireless Bridge


Ruijie RG-EST310
Ruijie RG-EST350


โดยรุ่น EST310 จะเป็น Port 100Mbps เหมาะกับงานเชื่อมต่อกล้อง IP-Camera เพราะไม่ได้ใช้ Bandwidth เยอะมากนัก ส่วนงานที่ต้องใช้ bandwidht สูงๆแนะนำเป็น EST350 ครับ เป็น Port Gigabit แต่ราคาก็ไม่ต่างกันมาก


;D;D มีราคา Pro สำหรับ SI และ ผู้ที่ต้องการติดตั้งนะครับ ทักมาทาง Line @sysnet ได้เลย เรามีราคาพิเศษ ;D;D



ตัวอย่างในหัวข้อนี้จะเป็นรุ่น EST350 ครับ


1. แกะกล่องออกมาก็จะเจออุปกรณ์ EST350, Passive POE, ชุดติดตั้ง





2. อุปกรณ์ WIFI Bridge จะแบ่งเป็นฝั่งปลายทาง (ป้าย Camera End ขอเรียกว่าฝั่ง Site) และ ฝั่งต้นทางที่ต่อเข้า Router (ป้าย Recoder End ขอเรียกว่าฝั่ง Main)







3. การจ่ายไฟผ่าน POE เสียบสาย Lan จาก POE Injector ช่อง POE มาที่ Port Lan ของ WIFI Bridge ช่อง LAN1/POE

ต่อแบบนี้ให้ครบทั้ง 2 ตัว ทั้งฝั่ง Main และ Site ต่อลอยๆยังไม่ต้องต่อเข้า Router ก็ได้ครับ




4. ติดตั้ง App Ruijie Cloud บน Smart Phone ถ้ายังไม่เคยลองเล่น ลองอ่านหัวข้อนี้คร่าวๆ ถึงข้อ 3 ดูก่อนครับ คู่มือการใช้งาน Ruijie Cloud App เบื้องต้น


สร้าง Project เลือก "Yes Connect to WI-FI"





5. เลือก Wireless Bridge แล้ว Click [Start]





จะแสดงหน้ารายละเอียดให้เชื่อมต่อสัญญาณ WIFI ที่ชื่อ @Ruijie-bxxx (xxx เป็นหลายเลขฐาน 16) จากนั้น Click (Connect)





มือถือจะสลับมาที่หน้า Connect WIFI จะมี 2 ชื่อโผล่ขึ้นมา ตรงนี้เรียกว่า WIFI Management เลือกเกาะซักชื่อนึง







หลังจากเกาะสัญญาณ WIFI-Management เรียบร้อย กลับมาที่ App Ruijie Cloud ให้ Click [Next]







กำหนด Management Password และชื่อ Project




เรียบร้อยครับ





ไฟสถานะจะขึ้นตามระดับความแรงของสัญญาณ




6. เลือก Country Code เป็น Thailand





7. การเข้าจัดการ Project จะมี 2 แบบ คือแบบ On-Site หมายถึงเราเชื่อมต่อ WIFI Managment ที่ Site งาน กับ แบบ On-Cloud จะเป็นการเข้าผ่านระบบ Cloud คือ เราอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่หน้างานครับ

แตกต่างกันตรงที่ถ้าเป็นแบบ On-Site เราสามารถปรับแต่งค่าต่างๆเช่น WIFI  management ได้

ส่วน On-Cloud อุปกรณ์ WIFI Bridge ฝั่ง Main ต้องมีการเชื่อมต่อ Internet (ต่อเข้า Router)










8. Working Mode

เป็นการปรับ Channel Width ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่เราไปติดตั้งครับ ยิ่งความกว้างของสัญญาณมาก ความเร็วก็จะได้มากขึ้น แต่ก็อาจจะโดนรบกวนจากสัญญาณที่ปล่อยจากอุปกรณ์ของคนอื่นได้สูงขึ้น

ถ้าสัญญาณชนกันเยอะ จะกลายเป็นช้าลงครับ






Statndard Mode: Channel Width 40MHz เหมาะกับพื้นที่ ที่มีอุปกรณ์ปล่อยคลื่น 5GHz ไม่มากนัก ความเร็วที่ได้จะกลางๆประมาณ 200-300Mbps (ขึ้นอยู่กับระยะทาง)

ทดสอบโยนไฟล์ ประมาณ 280Mbps




High Bandwidth Mode: Channel Width 80MHz เหมาะกับสถานที่ ที่ไม่มีอุปกรณ์ที่ปล่อยคลื่น 5GHz ความเร็วที่ได้จะสูงสุดประมาณ 300Mbps ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับระยะทาง)

ทดสอบโยนไฟล์ ประมาณ 400Mbps




Anti-Inferference Mode: Channel Width 20MHz เหมาะกับสถานที่มีอุปกรณ์ที่ปล่อยคลื่น 5GHz เยอะมากๆ สัญญาณเขาจะมากวนกะของเรา ความเร็วที่ได้จะค่อนข้างต่ำอาจจะได้ไม่ถึง 150Mbps (ขึ้นอยู่กับระยะทาง)

ทดสอบโยนไฟล์ ประมาณ 144Mbps





9. ถ้า WIFI Bridge สามารถออก Internet ได้ จะสามารถ Managed และ Monitor ผ่าน Cloud ได้เลยครับ




10. กรณีต้องการเปลี่ยนชื่อ WIFI Management หรือปิดไม่ให้ปล่อย WIFI ชื่อนี้ออกมา เข้าที่ Menu Wi-Fi Management ครับ

แนะนำให้เปลี่ยน Password เผื่อกรณีมีปัญหา อุปกรณ์ออก Internet ไม่ได้ แต่ต้องการเข้าไปจัดการ WIFI Bridge




11. เมื่อ Config เสร็จเรียบร้อยก็ต่ออุปกรณ์ เช่น Network Switch, IP Camera เข้ากับ Port LAN 2 ได้เลย






เรียบร้อยครับ ;);)




#84
ตรวจสอบเลขพัสดุได้ทาง Link นี้ครับ http://sysnetservice.ddns.net

โดยใส่เบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งดับทางร้านได้เลยครับ

#85
อุปกรณ์ Mikrotik Router / Re: สอบถามการทำ ให้ web server...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 6 มกราคม 2022, 12:14:21

Forward port ครับ ชี้ไปที่ web server ถ้าใช้เป็น port 80 ก็ให้เปลี่ยน IP --> Service Port ใน mikrotik จาก 80 เป็น 81 ก็ได้ครับ
#86
อุปกรณ์ Mikrotik Router / สอบถามการทำ ให้ web server Onl...
กระทู้ล่าสุด โดย mojasty - วันที่ 25 ธันวาคม 2021, 15:53:10
ตอนนี้มีปัญหาคือ ผมมี IP Public 1 ตัว ได้มาจาก CAT 122.154.237.100
ต้องการจะให้ Mikrotik จ่ายเน็ตแบบปกติให้กับลูกข่าย ช่อง 3-5 แต่ช่อง 2 จะให้เป็นตัว Webserver
ผมพยายามลองแล้วทำมาทำไป ดัน เป็นหน้า Login RouterOS v6.32.2 แทนการเรียกหน้า Index หน้าแรกของ webserver
จะรบกวนอธิบายแบบละเอียดด้วยครับ ฮือ งมมา 6 -7 วันแล้วย่อท้อขอตั้งกระทู้ถามละกันครับ
ลองทำตามนี้ https://www.youtube.com/watch?v=U6hJ8HoDhLs  ก็ติดที่ว่า  Login RouterOS v6.32.2 ซะอย่างงั้น ไม่เป็นแบบ test123 อย่างเค้าฮือ

สิ่งที่ต้องการคือ
อยากให้ เรียกตัว 122.154.237.100 Websever* ได้แบบปกติ (เข้า Index อะไรแบบนั้น)
และ แจกเน็ตให้กับเครื่องอื่นๆได้ในช่อง 3-5
ตามภาพเลยครับ https://www.img.in.th/image/wb4sAl
#87
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / คู่มือการ Config อุปกรณ์ Reyee...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 23 ธันวาคม 2021, 16:04:50
คู่มือการ Config อุปกรณ์ Reyee Gateway เบื้องต้น



บทความในหัวข้อนี้จะใช้ได้กับ Reyee Gateway Router ได้ทุกรุ่นครับ


1. เชื่อมต่อ PC ผ่านสาย Lan เข้าที่ Port Lan0 และสาย Lan จาก Modem ของผู้ให้บริการ Internet เข้าที่ Port WAN0

ในขั้นตอนนี้ถ้า Router Modem ออก Internet ได้ปกติ ที่ PC เครื่องที่เชื่อมต่อกับ Reyee Gateway จะต้องออก Internet ได้เลยครับ



2. เปิด Browser พิมพ์ 192.168.110.1 (IP Default ของ Reyee Gateway)
Click [Start Setup]






3. กำหนด Network Name: <ชื่อ Site งาน>
Password: <Password สำหรับ Login เข้า Gateway>
Internet: <รูปแบบการเชื่อมต่อ Internet>
SSID: <ชื่อสัญญาณ WIFI>
Country/Region: Thailand
Time Zone: GMT +7






รอประมาณ 60 วินาที จะขึ้นหน้าจอนี้ครับ ให้ Click [Exit] ออก






4. กรณีที่ต้องการ Add Reyee Gateway ขึ้นบน Cloud เลย

ขั้นตอนนี้ถ้ามี Popup ให้ Update Firmware ให้ Click [Upgrade Later] ไปก่อนครับ ค่อยไป Up ทีหลัง


ถ้ายังไม่ได้ลงทะเบียน Ruijie Cloud ให้ทำตามขั้นตอนนี้ก่อนครับ คู่มือการใช้งาน Ruijie Cloud App เบื้องต้น (ทำตามใน Link จนถึงข้อ 3 ครับ แต่ยังไม่ต้อง Scan QR-Code ครับ)


ทำการ Copy Serial Number


เข้า URL : Ruijie Cloud

Menu Monitoring --> Device --> Gateway --> Click [Add]

ใส่หมายเลข Serial Number ของ Reyee Gateway รวมถึง Password ที่กำหนดไว้ตามข้อ 3






จะมีรายการ Reyee Gateway ขึ้นมาครับ






5. กลับไปที่ Web Config ของ Reyee Gateway

Click [Setup]






6. เปลี่ยน IP Address ของ Reyee Gateway

โดย Default จะเป็นเลข 192.168.110.1 ถ้าต้องการเปลี่ยน IP Address เข้าที่ Menu --> Basic --> LAN









7. WAN Internet
เป็นการกำหนดการเชื่อมต่อ Internet ครับ จากตัวอย่าง มี Internet 2 เส้น
WAN 1: เป็น DHCP ได้รับ IP Address จาก Modem Router
WAN 2: เป็น PPPoE ได้ Set ตัว Modem เป็น Bridge Mode เรียบร้อย


Menu Basics --> WAN

Tab Single Line
Internet: DHCP

ถ้า Click [Save] จะต้องได้ IP Address จาก Modem Router






Tab Dual-Line

Internet: PPPoE
Username/Password: <ได้จากผู้ให้บริการ Internet>






ถ้า Config Modem Router เป็น Bridge Mode รวมถึง Username/Password ถูกต้อง จะต้องได้ IP Address จากผู้ให้บริการ Internet







ถ้าเป็น AIS นอกจากจะต้องใส่ Username/Password ให้ใส่ VLAN 10 เข้าไปใน Advanced Settings ด้วยครับ






Tab ISP/Load Settings

Load Mode: จะมี 2 แบบให้เลือกครับ
Balanced: แชร์ให้ออก Internet ทุกเส้นที่มี
Primary & secondary: เลือกให้ Internet วิ่งที่เส้นหลัก ส่วนเส้นรองจะ Up ขึ้นมาเมื่อเส้นหลักล่ม

Balancing Policy: Based on Src IP Address
WAN/WAN1 Weight: กำหนดอัตราส่วนตามความเร็ว Internet แต่ละเส้น
ตัวอย่าง มี Internet 2 เส้น เส้นที่ 1 ความเร็ว 200Mbps, เส้นที 2 ความเร็ว 100Mbps
กำหนด WAN Weight=2, WAN1 Weight=1







8. Reyee Gateway รองรับการ Block App เช่นพวก Bittorrent ได้ครับ

Menu Behavior --> App Control








9. อุปกรณ์รองรับ DDNS ทั้ง No-IP และ DynDNS  ครับ




#88
อุปกรณ์ Cisco, Linksys By Cisco / คู่มือการ Config VLAN Switch C...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 22 ธันวาคม 2021, 16:01:48
คู่มือการ Config VLAN Switch Cisco CBS Series - Access Point Cisco CBW Series






ตัวอย่างจะเป็นการ Config VLAN บนอุปกรณ์ Switch Cisco CBS Series และทำ Multi-SSID VLAN Tagging บนอุปกรณ์ Access Point Cisco CBW Series ครับ


จากรูป แบ่ง VLAN เพิ่มอีก 3 VLAN คือ VLAN 10, 20 และ 30

VLAN 1: 192.168.1.1/24
VLAN 10: IP 10.0.10.1/24
VLAN 20: IP 10.0.20.1/24
VLAN 30: IP 10.0.30.1/24


[อุปกรณ์ Switch]

Port GE1, GE2 ต่อเข้า Access Point (Trunk Port)
Port GE16 ต่อเข้า Gateway (Trunk Port)

Port GE3, GE4 VLAN 10 (Access Port)
Port GE5, GE6 VLAN 10 (Access Port)
Port GE7, GE3 VLAN 10 (Access Port)


[อุปกรณ์ Access Point]

SSID: @Sysnet-Manager (VLAN 10)
SSID: @Sysnet-Staff (VLAN 20)
SSID: @Sysnet-Guest (VLAN 30)



เบื้องต้นตัว Gateway ผมใช้เป็น Mikrotik และสร้าง Sub-Interface ไว้เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดการ Config มีใน Webboad หลายหัวข้อเลยครับ










[Config Switch Cisco]


1. IP Default ของ Switch Cisco รุ่นนี้จะเป็น 192.168.1.254 User/Password = cisco/cisco แต่ถ้าเชื่อมต่อกับ Router ที่แจก IP DHCP มา ให้ดูในตาราง DHCP Lease ครับ ว่าได้ IP Address อะไรมา






2. การเปลี่ยน IP อุปกรณ์ Switch ผมพยายามหา มันไม่มีให้เปลี่ยน ต้องใข้ตรง Menu Wizard ครับ








3. สร้าง VLAN 10, 20 และ 30
Menu VLAN Management --> VLAN Settings










4. กำหนด Trunk Port, Access Port ให้กับ Port Switch

Menu VLAN Management --> Interface Settings


กำหนด Port 1,2 และ 16 ให้เป็น Port Trunk


Click [ เลือก Port --> Click Edit ]






Interface: Port GE1
Interface VLAN Mode: Trunk





แก้ไขให้เป็น Port Trunk จนครบ ส่วน Port อื่นๆ Default จะเป็น Access ครับ ถ้าไม่ใช่ ก็ให้เข้าไปแก้ไขให้เป็น Interface VLAN Mode: Access






5. กำหนด Switch Port ให้เป็น VLAN ที่กำหนด

Menu VLAN Management --> Port To VLAN



ทำการ Filter แต่ละ VLAN ว่ามี Port ไหนเป็นสมาชิกอยู่บ้าง ให้ Click [VLAN ID: 1] แล้ว Click [Go]


** ตรงนี้จะต้องมีความเข้าใจเรื่อง VLAN ซักหน่อยนะครับ เรื่อง Tagged, Untagged **


GE1, GE2, GE16: Trunk : Untagged
GE3-GE8: Access : Excluded






Click [VLAN ID: 10] --> Click [Go]

GE1, GE2, GE16: Trunk : Tagged
GE3-GE4: Access : Untagged
GE5-GE8: Access : Excluded






Click [VLAN ID: 20] --> Click [Go]

GE1, GE2, GE16: Trunk : Tagged
GE3-GE4: Access : Excluded
GE5-GE6: Access : Untagged
GE7-GE8: Access : Excluded






Click [VLAN ID: 20] --> Click [Go]

GE1, GE2, GE16: Trunk : Tagged
GE3-GE6: Access : Excluded
GE7-GE8: Access : Untagged






หลังจาก Config เรียบร้อย อย่าลืมกด Save ที่ Menu ด้านขวาบนด้วยนะครับ ไม่งั้น ปิด/เปิด เครื่องมาใหม่จะเป็นค่าเดิม







ทดสอบ


ต่อสาย Lan จาก PC เข้า Cisco Switch Port GE3-GE8 ตรวจสอบว่าได้ IP Address ตามที่เรากำหนดไว้หรือไม่









[Config Access Point Cisco]


ต่อเนื่องจากหัวข้อนี้นะครับ คู่มือการ Config Cisco CBW Series ใน Mode Access Point



1. Menu Wireless Settings --> WLANs

แก้ไขรายละเอียด SSID เดิมด้วยการ Click [ Edit ] หรือ สร้าง SSID ใหม่ด้วยการ Click [ Add new WLAN ]

SSID: @Sysnet-Manager







Use VLAN Tagging: Yes
VLAN ID: 10





SSID: @Sysnet-Staff





Use VLAN Tagging: Yes
VLAN ID: 20





ถ้าต้องการกำหนด Bandwidth ให้แต่ละ Device ตั้งค่าได้ที่ Tab Traffic Shaping





แล้วสร้าง SSID: @Sysnet-Guest กำหนด VLAN 30



ทดสอบ


เชื่อมต่อแต่ละ SSID จะได้ต้องได้ IP ตรงกับวง Network ที่กำหนดไว้ครับ








ถ้ามีการกำหนด Traffic Shaping ไว้ ลอง Speed Test






เรียบร้อยครับ ;)




#89
อุปกรณ์ Cisco, Linksys By Cisco / คู่มือการ Config Cisco CBW Ser...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 21 ธันวาคม 2021, 16:41:38
คู่มือการ Config Cisco CBW Series ใน Mode Access Point


Cisco Access Point Series CBW เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดใน Series ที่เป็น Small Business ครับ จะใช้ CBW AP ตัวนึงทำหน้าที่เป็น Controller และทำการ Managed อุปกรณ์ (เรียกว่าตัว Primary)


หัวข้อนี้จะเป็นการ Config เบื้องต้นนะครับ


1. เชื่อมต่อ Access Point เข้ากับ Switch, Router มีการแจก IP DHCP เพื่อสะดวกต่อการ Config ไม่งั้นลพบากครับ ต้อง Fix IP ทุกจุดเลย


2. ทางผมเองลองติดตั้ง App Cisco Business Wireless ที่ iOS เพื่อทำการ Config แต่ลองแล้ว ไม่ Work ครับ ไม่รู้ติดที่อะไร เลยทำผ่าน Notebook แทน


หลังจากต่อ Power เข้า Access Point รอ Boot ประมาณ 2 นาที จะชื่อ WIFI CiscoBusiness-Setup รหัสผ่านจะเป็น cisco123






3. จากนั้นพิมพ์ http://ciscobusiness.cisco บน Browser จะเข้าสู่หน้า Setup Wizard






ทำตาม Wizard ไปเรื่อยๆ


3.1 กำหนด Username/Password





3.2 กำหนด IP สำหรับ Managed แนะนำให้เป็น Static ครับ





3.3 ตั้งชื่อสัญญาณ WIFI (SSID)




Click [Apply]

ที่นี้ก็รอประมาณ 5 นาที ถ้าเรียบร้อนไฟที่ตัว AP จะกระพริบ เขียว/ดับ ช้าๆ









4. ทีนี้เป็นการ Config อย่างละเอียดครับ


เชื่อมต่อสัญญาณ WIFI ที่สร้างไว้





เปิด Browser พิมพ์ IP Manage ที่กำหนดไว้ (ข้อ 3.2) ใช้ User/Password ที่ตั้งไว้

จะเข้าหน้า Dashboard






5. กรณีต้องการแก้ไขชื่อสัญญาณ WIFI


เข้าที่ Menu Wireless Settings --> WLANs







แก้ไข WLAN Security






6. กรณีต้องการกำหนด Bandwidth แต่ละ Client





7. ต้องการปรับแต่ Access Point เช่น IP Address, Channel, Channel Width

เข้า Menu Wireless Settings --> Access Points






แก้ไข IP Address





ถ้าเป็นตัว Primary จะมี Tab ให้แก้ไข IP สำหรับ Managed (สรุป ตัว Primary จะใช้ 2 IP)






แก้ไข Channel/ Channel Width





หลังจาก Config ทั้งหมด อย่าลืม Click Save ตรงมุมขวาบนด้วยนะครับ






ถ้าต้องการ Manged ผ่าน Smartphone ก็ติดตั้ง App Cisco Business ได้เลยครับ แต่ที่ลองต้อง Mangaged จากวง Network เดียวกัน











เรียบร้อยครับ



#90
Windows, Linux, RouterOS และ โปรแกรมต่างๆ / Re: แนะนำโปรแกรม Angry IP-Scan...
กระทู้ล่าสุด โดย ethanwick - วันที่ 20 ธันวาคม 2021, 21:10:22
น่าสนใจจริงๆ ครับ ใช้งานน่าสนใจมากๆ ;D