Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,788
กระทู้ทั้งหมด
9,934
หัวข้อทั้งหมด
4,628

กระทู้ล่าสุด


กระทู้ล่าสุด

#61
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / การกำหนด MAC Whitelist ใน Reye...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 22 เมษายน 2022, 14:49:09
การกำหนด MAC Whitelist ใน Reyee Access Point


ใน Reyee Access Point สามารถกำหนด MAC Address Backlist/Whitelist ให้แต่ละ SSID ได้ครับ


ตัวอย่างเช่น
SSID: สำหรับพนักงาน เพื่อความปลอดภัย นอกจากจะต้องมี Wifi Security แล้ว อาจจะต้องระบุด้วยว่าให้ MAC Address ไหนที่สามารถเชื่อมต่อเข้ามาได้
SSID: สำหรับแขก ส่วนใหญ่ก็ทำเป็นแบบ Captive portal ที่มี Account ให้ Login เพื่อเข้าใช้งาน Internet


วิธี Config ง่ายๆเลยครับ


1. เข้า GUI ผ่าน eWeb บน Cloud หรือ IP ของอุปกรณ์โดยตรง




2. Menu Wireless --> Backlist/Whitelist --> SSID-Based Blacklist/Whitelist

เลือกชื่อ SSID ที่ต้องการกำหนด แล้ว Click [Only the whitelisted STAs are allowed to access Wi-Fi.] --> Click [Add]

ข้อกำหนด
- ใน 1 SSID จะกำหนด MAC ได้ 30 Members
- ถ้าไม่มีการ Add MAC เข้าไปเลย ทุกๆ Device จะเชื่อมต่อได้ทั้งหมด





3. ใส่ค่า MAC Address และชื่อเครื่องที่เชื่อมต่อ (Remark)



*** สำหรับ Smartphone ให้ Disable การเชื่อมต่อแบบส่วนตัว เพราะจะไม่ใช่ MAC Address จริงของเครื่อง ***


เรียบร้อยครับ 8)


#62
อุปกรณ์ DrayTek (เดรเทค) / คู่มือการ Config VPN Client To...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 20 เมษายน 2022, 11:45:59
คู่มือการ Config VPN Client To Site แบบ L2TP บนอุปกรณ์ Draytek Router


ในหัวข้อนี้จะเป็นการ Config VPN แบบ Client To Site สำหรับอุปกรณ์ Draytek ที่รองรับการทำ VPN ทุกรุ่นครับ Draytek Router



ข้อกำหนด การทำ VPN

บทความการทำ VPN ในหัวข้อนี้ครับ ต้องการเชื่อมเครือข่าย Network ระหว่างสำนักงานด้วย VPN


- ที่ฝั่งสำนักงานที่ติดตั้ง VPN Router เราต้องได้ IP Public จากผู้ให้บริการ Internet ครับ ตัว Modem ต้อง Set เป็น Bridge Mode ได้ ต้องติดต่อกับทางผู้ให้บริการ Internet เพื่อขอ Public IP และ ให้ Remote มาทำการ Set Bridge Mode ให้กับ Modem


แต่..สำหรับ Device ที่ VPN Dial-Up เข้ามาเช่น Notebook, Smartphone ไม่จำเป็นต้องเป็น IP Public ครับ อาจจะใช้ WIFI Internet หรือ 4G LTE/5G ก็ได้



เบื้องต้น Set อุปกรณ์ Draytek ให้ออก Internet ให้เรียบร้อย ตามหัวข้อนี้ครับ คู่มือ Config Draytek Vigor3220 ใน Mode Loadbalance


ตัวอย่างคร่าวๆในการเชื่อมต่อ Internet แบบ PPoE บน Draytek Router

Default IP ของ Draytek จะเป็น 192.168.1.1
User: admin
Password: admin




เมื่อ Login แล้ว ให้ทำการแก้ไข Password admin เพราะถ้าโดน Hack จะมีปัญหายาวเลยครับ





ถ้าต้องการ Login เข้า Draytek จากภายนอกได้ ให้ทำการ Enable Allow management form the internet และ ถ้าให้ Ping เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์ Online หรือ ตรวจสอบ IP ให้ Enable Ping From Internet ด้วยครับ






1. Config Internet แบบ PPPoE






Username/Password สำหรับ PPPoE จะได้จากผู้ให้บริการ Internet





ถ้า Config Modem เป็น Bridge Mode และ PPPoE Username/Password ถูกต้อง ที่ขา WAN จะต้องได้ IP Public มา ถ้าไม่ถูกต้อง ตรวจสอบ Username/Password และ Modem สอบถามทางผู้ให้บริการ Internet ช่วยตรวจสอบ






2. Config Dynamic DNS

ในตัวอย่างจะใช้ Dynamic DNS ของ no-ip ครับ แต่ถ้าใช้งานจริงๆและต้องการความเสถียรแนะนำให้สมัคร Fix IP กับทางผู้ให้บริการครับ เดือนนึงตกพันต้นๆ


Menu Application --> Dynamic DNS มีให้เลือกหลายค่ายครับ







ตรวจสอบว่า Update IP ไปยัง no-ip เรียบร้อยหรือไม่





3. Config VPN


Menu VPN and Remote Access --> IPSec General Setup

ใส่ General Pre-Share Key (จดเก็บไว้ด้วยครับ)

Click [OK]




Enable Service VPN





3.1 สร้าง Account VPN

ตรงด้านล่างจะมี Software VPN Client ให้ Download รองรับทั้ง Windows, IOS/Android และ MacOS ในคู่มือนี้ผมจะใช้ Smart VPN Client for Windows ติดตั้งบน Windows 10 ครับ จะง่ายกว่าการสร้าง VPN Connection บน Windows เอง

Click Index 1




Enable This Account
Username/Password: สำหรับ User ที่จะ VPN Dial-Up เข้ามา
Allow Dial-In Type
L2TP with IPSec Policy: Nice to Have

Click [OK]





เรียบร้อยครับ สำหรับการ Config VPN แบบ Client To Site



การทดสอบ


การ Dial-Up VPN ต้องให้เครื่อง Client ที่จะ Dial-UP เข้ามา อยู่คนละ Network กับ VPN Router นะครับ จะต้องต่อกับ Internet อีกเส้นเพื่อทดสอบ เพราะถ้าอยู่ในวงเดียวกันอาจจะทดสอบไม่ผ่านครับ


ติดตั้ง App Smart VPN Client บน Windows ให้เรียบร้อย และ Restart Windows


เปิดโปรแกรมขึ้นมา Click [Profile] --> Add

Profile Name: ตั้งชื่อ Profile
Type: L2TP iver IPSec
IP or Host: กรณีสมัคร Fix IP ไว้ ให้ใส่ IP แต่ถ้าใช้ Dynamic DNS ให้ใส่ Host ที่กำหนดไว้
Username/Password: VPN Account ที่สร้างจากข้อ 3.1





Click [Advanced Options]

ใส่ Pre-Share Key เป็น General Pre-Share Key ที่กำหนดไว้ที่ Draytek

Click [OK]




Click Connect




ถ้า Connect VPN สำเร็จ จะขึ้น Status Connected





ทดสอบ Ping ไปยัง Draytek Router และ เครื่อง PC ที่อยู่ในวง Network ของ Draytek Router ถ้า Ping PC ไม่ได้ ให้ปิด Firewall/Anti-Virus ของเครื่อง





ทดสอบแชร์ไฟล์ กรณีที่แชร์ไม่ได้ Windows ขึ้น Error ให้ตรวจสอบการกำหนดสิทธิ์ครับ ในส่วนนี้ทางร้านไม่ชำนาญเรื่องการกำหนดสิทธิ์ใน Windows ขออนุญาติไม่ Support ทุกกรณีครับ






เรียบร้อยครับ 8)

#63
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / คู่มือการ Config Ruijie Access...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 24 มีนาคม 2022, 11:42:28
คู่มือการ Config Ruijie Access Point ใน Mode Standalone หรือ FAT Mode


การ config Ruijie Access Point ใน Mode Standalone หรือ FAT Mode รวมถึงการทำ Multi SSID VLAN Taging


ตัวอย่าง เป็น Ruijie Access Point รุ่น Ruijie RG-AP820-L(V2)


1. Default IP ของอุปกรณ์ Ruijie Access Point จะเป็น 192.168.110.1

User:admin, Password: admin




2. จะเข้าหน้า Wizard กำหนด IP Address ของอุปกรณ์ Access Point




3. กำหนด SSID และ Click [Finish]




ถ้า Config พื้นฐานจะเสร็จเรียบร้อยเท่านี้ครับ แต่ถ้าต้องการทำ Multi-SSID VLAN Tagging ตัวอย่างจะเป็นการ Map SSID กับ VLAN 10


4. สร้าง VLAN
Menu Config --> Network ---> VLAN --> Add VLAN

VLAN ID: 10



Click [Save]


5. สร้าง SSID

Menu Wireless --> WIFI/WLAN --> Click [ + ]

ตั้งชื่อ SSID
Wifi Type: VLAN 10



Click [Save]


ทดสอบเชื่อมต่อ WIFI จะต้องอยู่ในวง Network VLAN 10 ตัวอย่าง วง Network VLAN 10 จะเป็น IP: 10.0.10.1/24





เรียบร้อยครับ









#64
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / วิธีการใช้ Reyee DDNS ฟรี
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 9 มีนาคม 2022, 14:30:42
วิธีการใช้ Reyee DDNS ฟรี



Reyee Router ใน Firmware Version ล่าสุด มี  DDNS ให้ใช้ฟรีๆแล้วครับ ตั้งชื่อจำง่ายด้วย

ต้องทำผ่าน App Ruijie Cloud นะครับ บน Web Cloud จะยังไม่มี Menu นี้


1. เข้า Project เลือก Toolkit

กด DDNS




2. เลือก Ruijie DDNS (ถ้าเลือก No-IP หรือ DynDNS จะยังเลือกไม่ได้ครับ ต้องทำที่ Web Cloud)




3. ตั้งชื่อ Domain แล้ว Click Save




4. จะแสดงรายการ Public IP ของขา WAN Reyee Router




ตรวจสอบที่ Web Cloud ตรง Egress IP ต้องตรงกันนะครับ ถ้าไม่ตรง แสดงว่า IP ที่ขา WAN เป็น IP Private จะใช้ทำพวก Forward Port ไม่ได้ครับ ได้แหล่ะ แต่ต้องทำแบบ Behind NAT




เรียบร้อยครับ
#65
แนะนำสินค้าน่าใช้, Review Product / Re: รบกวนช่วยแนะนำ Switch 8-10...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 7 มีนาคม 2022, 13:56:45


Switch พวกนี้จะเป็นมาตรฐาน 802.3bt จ่ายไฟ port ละ 60W ครับ

https://sysnetcenter.com/19-switches/s-1/_poe-8023bt_60w

ใช้กับอุปกรณ์อะไรครับ สอบถามทาง Line @sysnet ได้เลยนะครับ เดี๋ยวน้องๆเซลล์แนะนำให้ครับ
#66
สอบถามข้อมูลทั่วๆไป ข่าวสารจากร้าน Sysnet Center / Re: RV042 กับ Fortigate E60
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 7 มีนาคม 2022, 13:54:32

IPSecs VPN นี้ ไม่แนะนำให้ข้ามค่ายเลยครับ ตามมาตรฐาน มันควรจะได้ แต่ Implement จริงนี้แทบจะไม่มีข้อมูลการ config อะไรเลยครับ งมหน้างานกันอย่างเดียว  :'(

ทางผมเองก็ยังไม่เคยลองครับ
#67
สอบถามข้อมูลทั่วๆไป ข่าวสารจากร้าน Sysnet Center / RV042 กับ Fortigate E60
กระทู้ล่าสุด โดย gobkero - วันที่ 3 มีนาคม 2022, 13:38:46
ใช้ cisco rv042 เชื่อมกัน 3 สาขา ไม่มีปัญหา 
ทีนี้มี อีกที่นึง เขาใช้ fortigate e60 อันนี้ จะถามว่า rv042 กับ fortigate e60 
สมารถ vpn ipsec site to site ได้ไหมครับ เพราะ ลองดูแล้ว เปลี่ยน encrypt หลายตัวไม่ได้ ครับ
หรือต้องกำหนดให้เป็นอะไรเฉพาะไหม
ขอบคุณครับ 
gobkero
0816147036
#68
แนะนำสินค้าน่าใช้, Review Product / รบกวนช่วยแนะนำ Switch 8-10 por...
กระทู้ล่าสุด โดย kerosatoes - วันที่ 3 มีนาคม 2022, 01:26:27
รบกวนช่วยแนะนำ Switch 8-10 ports L2 manage power budget 240 watt ให้ด้วยครับ ราคาไม่มีปัญหาครับ
#69
ความรู้ทั่วไปในระบบเครือข่าย / Re: วิธีการค้นหา MAC Address ใ...
กระทู้ล่าสุด โดย kakakanga - วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2022, 21:00:06
เป็นประโยชน์มากๆ ครับผม ;D
#70
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / คู่มือการ Config Reyee Wi-Fi B...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2022, 12:08:10
คู่มือการ Config Reyee Wi-Fi Bridge เพื่อทำ Point To Point


ตอนนี้ทาง Ruijie ได้ออก Wireless Bridge มา 2 รุ่น สำหรับทำ Point To Point โดยในชุดจะมาเป็น Pack คู่เลย ทางร้านได้ทำ Review ไว้ อยู่ใน Link นี้ครับ เชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลด้วย Wireless Bridge


Ruijie RG-EST310
Ruijie RG-EST350


โดยรุ่น EST310 จะเป็น Port 100Mbps เหมาะกับงานเชื่อมต่อกล้อง IP-Camera เพราะไม่ได้ใช้ Bandwidth เยอะมากนัก ส่วนงานที่ต้องใช้ bandwidht สูงๆแนะนำเป็น EST350 ครับ เป็น Port Gigabit แต่ราคาก็ไม่ต่างกันมาก


;D;D มีราคา Pro สำหรับ SI และ ผู้ที่ต้องการติดตั้งนะครับ ทักมาทาง Line @sysnet ได้เลย เรามีราคาพิเศษ ;D;D



ตัวอย่างในหัวข้อนี้จะเป็นรุ่น EST350 ครับ


1. แกะกล่องออกมาก็จะเจออุปกรณ์ EST350, Passive POE, ชุดติดตั้ง





2. อุปกรณ์ WIFI Bridge จะแบ่งเป็นฝั่งปลายทาง (ป้าย Camera End ขอเรียกว่าฝั่ง Site) และ ฝั่งต้นทางที่ต่อเข้า Router (ป้าย Recoder End ขอเรียกว่าฝั่ง Main)







3. การจ่ายไฟผ่าน POE เสียบสาย Lan จาก POE Injector ช่อง POE มาที่ Port Lan ของ WIFI Bridge ช่อง LAN1/POE

ต่อแบบนี้ให้ครบทั้ง 2 ตัว ทั้งฝั่ง Main และ Site ต่อลอยๆยังไม่ต้องต่อเข้า Router ก็ได้ครับ




4. ติดตั้ง App Ruijie Cloud บน Smart Phone ถ้ายังไม่เคยลองเล่น ลองอ่านหัวข้อนี้คร่าวๆ ถึงข้อ 3 ดูก่อนครับ คู่มือการใช้งาน Ruijie Cloud App เบื้องต้น


สร้าง Project เลือก "Yes Connect to WI-FI"





5. เลือก Wireless Bridge แล้ว Click [Start]





จะแสดงหน้ารายละเอียดให้เชื่อมต่อสัญญาณ WIFI ที่ชื่อ @Ruijie-bxxx (xxx เป็นหลายเลขฐาน 16) จากนั้น Click (Connect)





มือถือจะสลับมาที่หน้า Connect WIFI จะมี 2 ชื่อโผล่ขึ้นมา ตรงนี้เรียกว่า WIFI Management เลือกเกาะซักชื่อนึง







หลังจากเกาะสัญญาณ WIFI-Management เรียบร้อย กลับมาที่ App Ruijie Cloud ให้ Click [Next]







กำหนด Management Password และชื่อ Project




เรียบร้อยครับ





ไฟสถานะจะขึ้นตามระดับความแรงของสัญญาณ




6. เลือก Country Code เป็น Thailand





7. การเข้าจัดการ Project จะมี 2 แบบ คือแบบ On-Site หมายถึงเราเชื่อมต่อ WIFI Managment ที่ Site งาน กับ แบบ On-Cloud จะเป็นการเข้าผ่านระบบ Cloud คือ เราอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่หน้างานครับ

แตกต่างกันตรงที่ถ้าเป็นแบบ On-Site เราสามารถปรับแต่งค่าต่างๆเช่น WIFI  management ได้

ส่วน On-Cloud อุปกรณ์ WIFI Bridge ฝั่ง Main ต้องมีการเชื่อมต่อ Internet (ต่อเข้า Router)










8. Working Mode

เป็นการปรับ Channel Width ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่เราไปติดตั้งครับ ยิ่งความกว้างของสัญญาณมาก ความเร็วก็จะได้มากขึ้น แต่ก็อาจจะโดนรบกวนจากสัญญาณที่ปล่อยจากอุปกรณ์ของคนอื่นได้สูงขึ้น

ถ้าสัญญาณชนกันเยอะ จะกลายเป็นช้าลงครับ






Statndard Mode: Channel Width 40MHz เหมาะกับพื้นที่ ที่มีอุปกรณ์ปล่อยคลื่น 5GHz ไม่มากนัก ความเร็วที่ได้จะกลางๆประมาณ 200-300Mbps (ขึ้นอยู่กับระยะทาง)

ทดสอบโยนไฟล์ ประมาณ 280Mbps




High Bandwidth Mode: Channel Width 80MHz เหมาะกับสถานที่ ที่ไม่มีอุปกรณ์ที่ปล่อยคลื่น 5GHz ความเร็วที่ได้จะสูงสุดประมาณ 300Mbps ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับระยะทาง)

ทดสอบโยนไฟล์ ประมาณ 400Mbps




Anti-Inferference Mode: Channel Width 20MHz เหมาะกับสถานที่มีอุปกรณ์ที่ปล่อยคลื่น 5GHz เยอะมากๆ สัญญาณเขาจะมากวนกะของเรา ความเร็วที่ได้จะค่อนข้างต่ำอาจจะได้ไม่ถึง 150Mbps (ขึ้นอยู่กับระยะทาง)

ทดสอบโยนไฟล์ ประมาณ 144Mbps





9. ถ้า WIFI Bridge สามารถออก Internet ได้ จะสามารถ Managed และ Monitor ผ่าน Cloud ได้เลยครับ




10. กรณีต้องการเปลี่ยนชื่อ WIFI Management หรือปิดไม่ให้ปล่อย WIFI ชื่อนี้ออกมา เข้าที่ Menu Wi-Fi Management ครับ

แนะนำให้เปลี่ยน Password เผื่อกรณีมีปัญหา อุปกรณ์ออก Internet ไม่ได้ แต่ต้องการเข้าไปจัดการ WIFI Bridge




11. เมื่อ Config เสร็จเรียบร้อยก็ต่ออุปกรณ์ เช่น Network Switch, IP Camera เข้ากับ Port LAN 2 ได้เลย






เรียบร้อยครับ ;);)