3 ขั้นตอนการเลือกใช้ POE Switch

ขอกล่าวทฤษฏีเบื้องต้นนิดหน่อยครับ 

POE หรือ Power over Ethernet เป็นเทคโนโลยี่ในการจ่ายไฟเลี้ยงไปกับสาย Lan (สาย UTP) ให้กับอุปกรณ์เครือข่ายที่รองรับ เช่น Access Point, IP-Camera, IP-Phone โดยที่เราไม่ต้องหาปลั๊กไฟติดตั้งไว้ใกล้ๆกับอุปกรณ์ เพื่อเอา DC Adapter จ่ายไฟเข้าไปครับ 

เพราะ สายไฟจาก DC Adapter ระยะสายจะได้เต็มที่ก็ประมาณ 1-1.5 เมตร และ ถ้าเราต่อสายไฟเพิ่มยาวๆ ไฟ DC จะเริ่มลดลงเช่นจาก 12VDC เหลือ 10 VDC ทำให้อุปกรณ์ Network ไม่ทำงาน หรือ เวลาติดตั้ง Access Point หรือ กล้อง IP-Camera บนฝ้า บนเสา ก็ต้องเดินสายไฟ ต่อปลั๊กกันอีก ค่อนข้างจะวุ่นวาย และถ้าปลั๊กหลวมมีโอกาศที่จะไปโดนทำให้ปลั๊กหลุดได้ครับ


อุปกรณ์ POE แบ่งหลักๆได้ 2 แบบ

A. อุปกรณ์ POE แบบมาตรฐาน IEEE 802.3

ที่ใช้กันเยอะในปัจุบัน จะมีมาตรฐาน 802.3af มาตรฐานนี้จะจ่ายกำลังไฟได้สูงสุด 15.4Watt (W) ส่วน Voltage จะอยู่ที่ประมาณ 48-52VDC แต่เราไม่ค่อยได้ดู Volt ครับ ดูที่กำลัง Watt
และ มาตรฐาน 802.3at จ่ายกำลังไฟได้สูงสุด 30W
ส่วนมาตรฐาน 802.3bt เริ่มจะมีใช้บ้าง จะแบ่งเป็น Type ถ้า Type3 จ่ายกำลังไฟได้ 50W ส่วน Type 4 ประมาณ 100W

อุปกรณ์ POE ที่เป็นมาตรฐาน จะมีวงจรตรวจสอบอุปกรณ์ Network ที่เชื่อมต่อ ถ้าเราเอาไปต่อกับอุปกรณ์ Network ที่ไม่รองรับ POE จะไม่มีการจ่ายไฟออกมาครับ

 

B. อุปกรณ์ POE แบบ Passive 24VDC

จะจ่ายไฟ 24VDC กำลังไฟจะประมาณ 12-24W อุปกรณ์พวกนี้จะจ่ายไฟเข้าไปตรงๆที่สาย Lan เลย ไม่มีการตรวจสอบอุปกรณ์ Network ปลายทาง ข้อดีของอุปกรณ์แบบนี้คือราคาถูก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ POE ที่เป็นมาตรฐาน IEEE

 

ทีนี้ ถ้าเราจะซื้อ POE มาใช้กับอุปกรณ์ Network เช่นพวก Access Point, IP-Camera, IP-Phone ของเรา ต้องเลือกยังไง


1. ตรวจสอบใน Datasheet ของอุปกรณ์ หรือ สอบถามทางร้านก็ได้ครับ ว่าอุปกรณ์ที่เรามี รองรับ POE หรือไม่ ถ้ารองรับ อุปกรณ์ของเรารองรับ POE แบบไหน

 

ตัวอย่าง

1.1 Access Point Engenius EWS330AP 

เปิด Datasheet 

ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า Power จะเจอข้อมูลประมาณนี้ครับ

 

 

Power Consumption: คืออัตราการใช้กำลังไฟ หน่วยเป็น Watt ในรูป ใช้ 11.9W
Power Source: แหล่งจ่ายไฟที่ตัว Access Point รองรับรับ ตัวอย่างเป็น 12V/1A อันนี้หมายถึงใช้ร่วมกับ DC Adapter ได้ และ Power Over Ethernet 802.3af นี้คือมาตรฐาน IEEE ครับ เราต้องเลือกใช้ POE ที่มาตรฐาน 802.3af

ค่าที่สำคัญอีกอย่างคือ ความเร็ว Port Lan

 

engenius ews330ap


ใน Datasheet มักจะใช้คำว่า Interface ในรูป เป็น Port Lan ความเร็ว Gigabit

เพราะฉะนั้น เราต้องเลือกใช้ POE ที่เป็นมาตรฐาน IEEE 802.3af Port Lan Gigabit

 

อีกตัวอย่างครับ

1.2 เป็น Access Point IP-COM รุ่น W36AP

Datasheet 

 

IP-COM W360AP

 

จากรูป Power Consumption 13.5W แต่ Power suppy standard เขาแนะนำให้ใช้ POE 802.3at ก็ควรจะใช้แต่ที่ทาง IP-COM แนะนำครับ

ส่วน Ethernet Port ก็คือ Port Lan 10/100/1000 คือความเร็ว Gigabit

 

ต้องเลือกใช้ POE ที่เป็นมาตรฐาน IEEE 802.3at Port Gigabit

 

ส่วนตัวอย่างนี้ เป็นอุปกรณ์ Access Point แบบ Outdoor

Engenius ENS620EXT จะใช้ POE แบบ Passive 24VDC ครับ ส่วนใหญ่จะแถมมากับอุปกรณ์ในกล่อง แต่ถ้ามันเสียต้องหามาเปลี่ยน ก็เลือก POE แบบ Passive 24VDC Port Gigabit ครับ

 


1.3 อีกซักตัวอย่าง เป็นกล้อง IP Camera ครับ เปิด Datasheet หาคำว่า Power เช่นกัน

 

IP-Camera

 

ในรูป Power Consumption 9W ใช้ POE มาตรฐาน 802.3af ส่วน Port Lan ในกล้อง IP-Camera ส่วนใหญ่จะเป็น 10/100Mbps (Fast Ethernet) ครับ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วระดับ Gigabit

เลือกใช้ POE มาตรฐาน 802.3af Port Fast Ethernet (10/100Mbps)

 

2. จำนวนอุปกรณ์ Netwrok ที่จะติดตั้ง

ถ้าติดตั้งไม่เยอะ ซัก 1-4 ตัว เลือกใช้เป็น POE Injector ก็ได้ครับ

 

POE Injector หน้าตาประมาณนี้เลย

POE Injector

 

มีช่อง Port Lan ต่อเข้า Switch หรือ Router และอีก Port Lan อีกช่องนึงจะมีไฟออกมา โดยจะต่อเข้ากับอุปกรณ์ Network ที่รองรับ POE

POE Injector จะมีทั้งแบบ Passive 24VDC และ แบบมาตรฐาน 802.3af/at

 

เนื่องจากหน้าตามันคล้ายๆกัน ต้องอ่านตรงป้ายให้ดีครับ ว่าเป็น POE แบบไหน

ตัวอย่างรูปนี้จะเป็น POE มาตรฐาน 802.3af/at (จ่ายไฟได้สูงสุด 30W) และใช้กับอุปกรณ์ Network ที่ความเร็ว Gigabit ได้ด้วย

 

POE Injector 802.3af/at

 

 

ส่วนรูปนี้ เป็น POE แบบ Passive 24VDC จะใช้กับอุปกรณ์ Network ที่รองรับ POE แบบ Passive 24VDC

 

POE Injector Passive 24VDC

 


แต่ถ้าต้องการติดตั้งอุปกรณ์ Network หลายๆตัว

แนะนำเป็น POE Switch ครับ เพราะถ้าใช้ POE Injector ราคาหน่วยต่อตัวและใช้หลายๆตัว จะสูงกว่า POE Switch และ ถ้าติดตั้ง POE Injector ในตู้ Rack จำนวนหลายๆตัว มันเปลืองปลั๊กไฟ รวมถึง ความร้อนที่ออกมาจากตัว POE ด้วยครับ

 

ต้องการใช้ POE Switch อ่านข้อต่อไปได้เลยครับ

 


3. การเลือกใช้ POE Switch 


คำนวนกำลังไฟของอุปกรณ์ Network ที่ใช้

ข้อมูล POE Switch ใน Datasheet จะมีค่านึงที่เรียกว่า POE Budget ซึ่งหมายถึง กำลังไฟ (Watt) ที่จ่ายออกมาได้สูงสุด (จะขึ้นอยู่กับ Power Supply ในตัว POE Switch) ทีนี้เราต้องนำค่านี้มาคำนวนรวมกับ กำลังไฟของอุปกรณ์ Network ทั้งหมดที่เราจะใช้

 

การคำนวนก็ง่ายๆเลยครับ เอาค่า Power Consumption มาคูณกับ จำนวนอุปกรณ์ Network ที่จะติดตั้ง

 

จากตัวอย่าง 1.1 ต้องการติดตั้ง Access Point Engenius EWS330AP x 5 ตัว

EWS330AP ใช้ไฟ 12W (11.9W) 12 x 5 = 60W

 

เพราะฉะนั้น เลือก POE Switch ที่มี POE Budget มากกว่า 60W

จำนวน Port Lan ที่จ่ายไฟ POE ออกมาไม่น้อยกว่า 5 Port (5 Port POE เพราะต่อเข้ากับ Access Point 5 ตัว) และมี Port ที่เชื่อมต่อกับ Router อีก 1 Port ซึ่ง Port นี้ไม่ต้องเป็น Port POE ก็ได้ครับ และ มีความเร็ว Port เป็น Gigabit

ตัวอย่าง POE Switch ที่ใช้ก็จะเป็นรุ่นนี้ครับ Engenius EWS2910P ใน Website ทางร้านจะแจ้งเลยครับว่า กำลังไฟสูงสุดเท่าไหร่ จำนวน Port รวมถึงความเร็ว Port

 


อีกตัวอย่างครับ

 

เป็นกล้อง IP-Camera จากข้อ 1.3 ถ้าติดตั้ง 8 กล้อง

Power Consumption 9W x 8 ใช้กำลังไฟรวม 72W

ถ้าใช้กับกล้อง IP-Camera เลือกที่เป็น Port Lan ความเร็ว 10/100Mbps ก็พอครับ เพราะใช้ Bandwidth ไม่เยอะ และ ราคาจะถูกกว่าแบบ Gigabit เกือบเท่าตัว

 

เลือกเป็น

POE Switch IP-COM รุ่น F1110p-8 ได้เลยครับ จ่ายไฟ POE ได้ 8 Port มี POE Budget 100W และ มี Port Gigabit อีก 2 Port ไว้ต่อกับ Router ได้อีก

 

ส่วนการเลือก POE Switch ว่าจะใช้เป็น Managed หรือ UnManaged ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ทำ VLAN หรือเปล่าครับ ถ้าไม่ได้ทำ ก็ใช้เป็น UnManaged ก็พอ แต่ถ้าเราใช้ร่วมกับ Access Point และ ทำพวก Multi-SSID VLAN Taged ต้องเลือก Managed POE Switch ครับ

 


หรือถ้าไม่แน่ใจ สอบถามทางร้านโดยตรงได้เลยครับ ทางร้านจะเลือกอุปกรณ์ POE Switch / POE Injector ที่เหมาะสมให้ครับ

Follow us on Facebook