โปรแกรม Network สำหรับ Fix-IP , Enable DHCP Network Card, Ping, Telnet, Trace Route, Interface Ping
- ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณแล้ว
- จัดส่ง
- รวมทั้งสิ้น ฿0.00
ต้องการ Loadbalance เพื่อรวมความเร็ว Internet มากกว่า 1 เส้น
ต้องการ Loadbalance เพื่อรวมความเร็ว Internet มากกว่า 1 เส้น
อุปกรณ์ Loadbalance คืออะไร?
ถ้าตอบแบบง่ายๆเลยครับ เป็น อุปกรณ์ รวม Internet ครับ มีตั้งแต่รวม Internet ได้ตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป จนถึง 8 เส้น ^^
รวมได้จริงๆหรือไม่ ?
ก็รวมได้จริงนั้นแหล่ะครับ รวม Internet ที่เราสมัครไว้หลายๆเส้น มาที่อุปกรณ์ Loadbalance ตัวเดียวเลย แต่ๆ Client ที่เชื่อมต่ออยู่ จะได้ความเร็วของ Internet รวมทั้งหมดด้วยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ Mode ที่เราเลือกไว้ใน Loadbalance ครับ รวมถึงรูปแบบการเชื่อมต่อ และ ความเร็วสูงสุดของ Interface ที่ใช้
ขออธิบายนิดนึงครับว่าทำไมเราอาจจะต้องเลือกใช้อุปกรณ์ Loadbalance
ส่วนใหญ่ที่เราหา Loadbalance มาใช้งานกัน เพราะความเร็ว Internet ที่มี มันไม่พอ ต่อให้เดี๋ยวนี้มี Internet ความเร็วสูงถึง 1Gbps ก็จริง (ขอยกตัวอย่างของ Internet ทั่วๆไปละกันครับ) มี Client ซัก 100 เครื่อง ก็ยังรู้สึกว่า Internet ที่มีมันก็ยังไม่พอ
หรือ กลัวว่าใช้ Internet แค่รายเดียว แล้ว Internet เขาล่ม มีปัญหาขึ้นมา จะทำงานกันไม่ได้ เราก็สมัครกับ ISP อีกรายไว้ เพราะส่วนใหญ่เวลา Internet ล่ม ก็มักจะล่มไม่พร้อมกัน นอกจากรถพ่วงไปซัดเอาเสาไฟ ไฟเบอร์ขาดทั้งคู่
หรือ ต้องการจะทำ Link Backup โดยให้ Internet อีกเส้นนึงเป็น Backup ถ้าเส้นหลักไม่ล่ม เส้น Backup ก็จะแค่ Standby ไว้ ส่วนใหญ่เราก็จะเลือกฝั่ง Standby เป็นเครือข่าย 4G เพราะถ้าเป็น Internet ทั่วๆไป มักจะเป็นรูปแบบเหมาจ่ายไม่จำกัดโควต้าต่อเดือนครับ และโอกาสที่เครือข่าย 4G จะล่มไปด้วยก็ค่อนข้างน้อย
หลักการ Loadbalance คร่าวๆครับ
สมมุติว่ามี Internet เส้นเดียว Traffice เข้า/ออกต่างๆ ก็จะมาวิ่งรวมกันทั้งหมด ประมาณว่าเส้น Internet คือจำนวนเลนของถนน รถที่วิ่งคือ Packet ต่างๆ ก็จะแห่มาวิ่งที่เลนนี้ เวลาเยอะๆก็ต่อคิวกันไป
ถ้าเราเพิ่ม Internet มาอีกเส้น ก็เปรียบเสมือนว่าเราเพิ่มถนนมาอีกเลน ให้รถเยอะๆวิ่งได้คล่องตัวขึ้น โดยตัว Loadbalance ก็เปรียบเหมือนตำรวจจราจรคอยจัดการว่าให้รถคันไหนวิ่งที่เลนไหน แบ่งๆกันไป ก็จะได้วิ่งกันเร็วขึ้น
ทีนี้ใน Loadbalance มันก็จะมี Mode ที่จะจัดการว่าให้วิ่งกันแบบไหน เส้นทางไหน ขออนุญาติยกตัวอย่าง Loadbalance บนอุปกรณ์ Draytek นะครับ
Mode Loadbalance ในอุปกรณ์ Draytek จะมี 2 Mode คือ
1. Mode Session Base
2. Mode IP Base
1. Mode Session Base
จะเป็นการกระจาย Session ต่างๆที่มาจาก Client ให้ออกในแต่ละ WAN ทั้งหมด ในรูปแบบนี้เครื่อง Client จะได้ความเร็วรวมเท่ากับ Internet ที่มีครับ
และถ้า Internet แต่ละเส้นความเร็วไม่เท่ากัน เช่น WAN#1 ความเร็ว 1Gbps, WAN#2 ความเร็ว 500Mbps ตัว Loadbalnce ก็จะจัดสรรให้วิ่งออกตามอัตราส่วนครับ
ข้อดึ
เครื่อง Client ได้ความเร็วรวมทุกๆ Internet ที่มี แต่ถ้า Internet เราเป็น 1Gbps และ Port Lan ที่เขาเราเป็น 1Gbps ความเร็วที่ได้ก็ไม่เกิน 1Gbps อยู่ดีนะครับ
ข้อเสีย
มักจะมีปัญหากับพวก Web ที่มี Security เช่น Internet Banking, Google Mail etc.. เนื่องจาก Web พวกนี้จะมีการตรวจสอบว่าเรามาจากไหนตอน Login แล้วถ้าตอนเข้าใช้งาน ดันมาจากอีกที่ เขาก็จะ Disconnect เราออก หรือบางทีก็ Login ไม่ได้เลยครับ
ทางแก้คือ ต้องระบุเลยว่า เข้า Web นี้, Service นี้ ให้ออก Internet เส้นไหน การระบุแบบนี้จะเรียกว่า PBR (Policy base routing) ครับ ยุ่งยากกันอีก
2. Mode IP-Based
วิธีนี้นิยมใช้งานมากที่สุด มีปัญหาน้อยสุด ตัว Loadbalance จะมี Algorithm ในการจัดการเลยว่า Client เครื่องไหน ให้ออก WAN นั้นๆไปเลย
ยกตัวอย่างแบบง่ายๆนะครับ เช่น ช่วงเวลานั้นๆ Client#1 ออก WAN1, Client#2 ออก WAN2, Client#3 ออก WAN1 ประมาณนี้ครับ
แต่จริงๆแล้ว มันเป็นการใช้ Algorithm คำนวนโดยเอา Client IP (ต้นทาง) และ Server IP (ปลายทาง) พอคำนวนได้ค่าออกมา ก็เอาค่าๆนี้แหล่ะครับ เป็นตัวบอกว่าให้วิ่งไปที่ WAN ไหน เพราะฉะนั้นถ้า Client IP เดิมวิ่งไป Server IP เดิม คำนวนมาก็จะได้เลขเดิม ก็วิ่งไปออกที่ WAN เดิม ไม่เปลี่ยน ตัดปัญหาเวลาเข้าพวก Web ที่มี Security คร่าวๆประมาณนี้เลยครับ ^^
ถ้า WAN ที่ถูกกำหนดมันล่ม ก็จะมี Fail Over จัดการให้ออกเส้นที่ยังใช้งานได้อยู่
ข้อดี
หมดปัญหาเรื่องเข้า Web หรือ Service ที่มี Security แล้วหลุด, ไม่ต้อง Config อะไรมาก, ปัญหาน้อย
ข้อเสีย
ความเร็ว Internet สูงสุดของ Client จะขึ้นอยู่กับว่า Client วิ่งไปออก Internet ที่เส้นไหน
Feature อื่นๆที่มีใน Loadbalance
Failover / Link Backup
ปกติถ้าเราใช้ Mode Loadbalance ไม่ว่าจะเป็น Session-Based หรือ IP-Based มี Internet มากกว่า 1 เส้น ถ้า Internet เส้นนึงล่ม ตัว Loadbalance ก็จะจัดการให้ Trafic ทั้งหมดแห่กันมาวิ่งที่ Internet เส้นที่เหลือครับ
หรือถ้าเป็น Link Backup จะเป็นการใช้ Internet เส้นนึงเป็นเส้นหลัก อีกเส้นนึงเป็นเส้นรอง อาจเป็นเครือข่าย 4G ตั้ง Standby ไว้ ในสถานการณ์ปกติ เราจะไม่ให้มี Traffic วิ่งที่เส้น 4G นี้ เพราะส่วนใหญ่จะโดนจำกัดโควต้าไว้ (ปริมาณข้อมูลรวมสูงสุดตาม Package ที่เราสมัคร)
เวลา Internet เส้นหลักล่ม, Internet เส้น 4G ที่ตั้ง Standby ไว้ก็จะ Up ขึ้นมาเอง ทำให้เราสามารถใช้งาน Internet ได้อย่างต่อเนื่องครับ
Policy-based Routing
เป็นการกำหนดว่าจะให้ Client เครื่องไหน หรือ ใช้งาน Service อะไร หรือ ไปยัง Web/IP อะไร ให้ออกที่ Internet เส้นที่กำหนดไปเลย
เช่น Internet เส้นที่ 2 อาจจะเร็วกว่า เสถียรกว่า เวลาเครื่อง Client เข้า Mail Server ก็ระบุให้วิ่งออก WAN#2 และอย่าลืมกำหนด Fail Over ไว้ด้วยนะครับ
เดี๋ยวคราวหน้าผมจะต่อเรื่องการเลือก Loadbalance ให้เหมาะสมกับความเร็วรวมของ Internet , จำนวน Client สูงสุดที่เชื่อมต่อกันครับ เพราะ Loadbalance แต่ละรุ่น รองรับความเร็วรวม Internet สูงสุดได้ไม่เท่ากันครับ
เช่น Loadbalance รุ่นที่รองรับได้ 1Gbps แต่เรามี Internet 2 เส้นรวมเป็น 2Gbps ความเร็วที่ได้ก็จะได้ไม่เกิน 1Gbps ครับ ข้อนี้ต้องระวัง ไม่งั้นเสียตังค์ค่า Internet ฟรีๆ รวมถึงอาจต้องเปลี่ยนอุปกรณ์พวก Network Switch รวมถึง Topology กันใหม่เลย แต่ถ้าเอาไปทำ Link Backup ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ
ลองดูใน Review นี้กันก่อนได้ครับ Review Draytek Vigor3910 Loadbalance Firewall รองรับ Internet สูงสุด 9.4Gbps
คร่าวๆจะประมาณนี้ครับ
Facebook comment