Review H3C Managed Switch S1850V2-28X-HPWR L2-Managed POE Switch 24 Port, 4 Port SFP+ รองรับการ Managed ผ่าน Cloud,...
- ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณแล้ว
- จัดส่ง
- รวมทั้งสิ้น ฿0.00
Loadbalance การเลือกใช้งาน Loadbalance ใช้งาน Internet มากกว่า 1 เส้น
Loadbalance การเลือกใช้งาน Loadbalance , ต้องการใช้งาน Internet มากกว่า 1 เส้น
อุปกรณ์ Loadbalance คืออะไร?
ถ้าตอบแบบง่ายๆ คือ อุปกรณ์ Router ที่รวม Internet ตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไปได้ครับ ^^
ทำไมต้องเลือกใช้ Internet มากกว่า 1 เส้น?
แบบนี้ครับ...
เดี๋ยวนี้เราต้องการที่จะ Online Internet กันแทบตลอดเวลา ไม่ว่าจะในบริษัท สำนักงาน, งานระบบ Security, งาน Streaming/Video Conference, งานที่ต้องเชื่อมต่อ Server อาจจะอยู่บน Cloud หรือเชื่อมต่อ VPN ไปยังสำนักงานใหญ่, ดู Youtube ดู Tiktok , ทำ eCommerce ฯลฯ
แล้วถ้า Internet ล่ม จะเกิดอะไรขึ้น?
เราก็ต้องคำนวนมูลค่าความเสียหายกันก่อน มีปัญหาอะไรที่จะเกิดขึ้นตามมาบ้าง ธุรกิจจะสะดุดมั้ย? ความปลอดภัยมีอะไรที่จะป้องกันต่อบ้าง? ข้อมูล Transaction ต่างๆที่ปกติจะดึงจาก Cloud หรือผ่าน VPN ยังคงทำงานต่อได้มั้ย? พนักงานต้องหยุดทำงานกันไปนานเท่าไหร่?
ถ้าความเสียหายมันมีมูลค่ามาก เราก็อาจต้องเลือกเครือข่าย Internet ที่มีความเสถียรสูง เช่น Internet แบบ Leaseline แต่ราคาก็ค่อนข้างสูงมากอยู่ครับ เดือนๆนึงก็หลักหมื่น
คำนวนใหม่... ถ้าต้องจ่ายค่า Internet Lease-line ปีๆนึงรวมเป็นแสน Internet ที่เราใช้ จะล่มบ้างก็ไม่เป็นอะไรมาก ปีๆนึงอาจจะซัก 2-3 ครั้ง ครั้งนึงอาจจะครึ่งวัน ตัวเลือกใช้ Internet แบบธรรมดา ก็เป็นทางเลือกที่ประหยัดดีครับ เต็มที่เดือนๆนึงก็หลักร้อยถึงหลักพัน
ในเมื่อ Internet ราคาประหยัดแบบนี้... จะดีกว่ามั้ยถ้าเราใช้ Internet อีกเส้น อีก ISP หรือ เลือกใช้ Internet 4G LTE/5G มาทำเป็น Internet Backup เพื่อป้องกัน Internet เส้นหลักล่ม งานของเราก็ไม่ต้องหยุดชะงัก เพราะการที่ Internet ทุกค่ายจะใช้งานไม่ได้พร้อมๆกัน ไม่ค่อยจะได้เกิดขึ้นครับ อาจจะมีบ้างรถที่พ่วงชนเสาไฟฟ้าล้มทั้งแถว เคสปัญหานี้ก็จะมาพร้อมไฟดับ
หรือ เรายังคงใช้ Internet Leaseline ไว้ ใช้สำหรับงานที่ต้องการการเชื่อมต่อที่เสถียรจริงๆ และมี Internet อีกเส้นที่ไว้สำหรับงานทั่วๆไป เช่น เข้า Internet, ส่ง Mail, เล่นเฟส, ดู Tiktok
อุปกรณ์ Loadbalance นี้แหล่ะครับ ที่จะตอบโจทย์ตามที่กล่าวมา
Loadbalance ก็เป็นอุปกรณ์ Router ครับ แต่รองรับการเชื่อมต่อ Internet ได้มากกว่า 1 เส้น บางรุ่นก็รองรับได้ถึง 8 เส้น
ในบทความนี้จะเสนอวิธีการเลือกใช้ , Feature ต่างๆที่ควรจะมีในอุปกรณ์ Loadbalance ครับ
มีคำถามอีก..
ถ้าเราใช้ Internet 2 เส้น Loadbalance มันจะรวมความเร็วให้เรามั้ย?
เช่น Internet เส้นนึงความเร็ว 1Gbps และ อีกเส้น 500Mbps เวลาเข้า Web SpeedTest จะได้ 1.5Gbps เลยหรือเปล่า?
อธิบายนิดนึงครับ... เวลาเราใช้เครื่อง PC/Notebook/Smartphone ใช้ Internet การเข้า Website, ดู Youtube, ส่ง Email, ดูคลิป Tiktok, ส่องเฟส พวกนี้ ให้เรามองเป็น Service หรือ เป็นงานๆแยกกันไป
นึกภาพว่าเราเป็นบริษัทขนส่ง แต่ละงาน หรือ Service คือ ให้รถไปรับ-ส่งของตามพื้นที่ต่างๆ ผ่านถนนเส้นหลัก งานไหนของเยอะก็ต้องต้องส่งกันหลายรอบ งานไหนของเล็กก็ส่งรอบเดียว มาวิ่งบนถนนเส้นเดียวกัน การวัดความเร็วในการส่งของ ก็ประมาณว่า กี่กิโลกรัมต่อวันละกันครับ (kg/Day) สมมุติ Service นึงเราต้องวิ่งไปรับปลากระป๋อง 100ตัน ก็ต้องใช้รถวิ่งไป-กลับหลายเที่ยวหน่อยกว่าจะจบ Service นี้
และ Service ก็ไม่ได้มีแค่ Service เดียว ต้องแบ่งรถวิ่งไปรับทุเรียนอีก รวมถึง เราไม่ได้เป็นบริษัทเจ้าเดียวด้วย พี่ที่นั่งโต๊ะข้างๆใช้ Internet ก็เปรียบหมายถึงบริษัทขนส่งอีกเจ้า
ถ้า Service ที่ต้องรับ/ส่งมีเพียบเลย แต่ถนนมีเลนเดียว การที่จะจบ Service มันก็ต้องใช้เวลานานขึ้น หมายถึง...ไอ้ค่ากี่กิโลกรัมต่อวัน (kg/Day) มันก็จะต้องน้อยลงถูกมั้ยครับ
การเพิ่ม Internet อีกเส้น ก็เหมือนเราเพิ่มถนนอีกเลน ทำให้รองรับปริมาณรถที่จะวิ่ง รับ-ส่ง ของได้มากขึ้นจบ Service นั้นๆเร็วขึ้น ค่า Kg/Day ก็จะได้มากขึ้น
เปรียบเสมือนหน่วยความเร็ว Bit Per Sec (ข้อมูล Bit ต่อ วินาที bps) ก็คือ Download ไวขึ้น ข้อมูลที่เราต้องการทั้งชุดมาที่เราได้เร็วขึ้น
ตอบคำถามเรื่องรวมความเร็ว
การรวมความเร็ว 1Gbps + 500Mbps เพื่อให้ได้ 1.5Gbps เวลาเข้า Web SpeedTest...
มันก็หมายถึง เราเอารถทุกๆคันที่มี ไปทำ Service เดียว คือ Speedtest วิ่งบนถนนทั้งสองเส้นที่มี มันทำได้ครับ แต่จะมีประโยชน์มั้ย? แทบจะไม่มีเลยครับ
ในโลก Internet ไม่ได้มีแค่ Service เดียว และ เราไม่ใช่คนเดียวที่ใช้ Internet มีโต๊ะข้างๆก็ใช้ด้วย
และเดี๋ยวนี้มี Service ที่ต้องการความปลอดภัยสูง ไม่ให้รถชาวบ้านเข้ามาตีเนียนไปแอบรับของจากปลายทางได้
Service ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เขาก็มีรูปแบบการกลั่นกรองที่จะเข้าไปรับไปส่ง ถ้ายกตัวอย่างรถรับส่งของ ไปรับปลากระป๋อง 100 ตัน ตอนเข้าไปในโรงงาน นอกจากต้องมีบัตรผ่านแล้ว ก็ยังมีการระบุด้วยว่า รถที่จะเข้ามา วิ่งมาจากถนนเส้นไหน ก็ต้องวิ่งไป-กลับ ถนนเส้นนั้นเท่านั้น (ขออธิบายให้เห็นภาพง่ายๆนะครับ จริงๆมันคือการสื่อสารด้วย IP เรา Login มาจาก IP นึง แต่ตอนทำ Trasaction มาจากอีก IP ระบบเขาไม่ยอมครับ)
ใช้ Account ทำการ Login เข้า Website ธนาคาร ถ้าเรา Login จาก Internet เส้นไหน เวลาทำ Transaction ก็ต้องใช้ Internet เส้นนั้น, ถ้า Account เดียวกัน จะมาเข้า Website ธนาคารด้วย Internet อีกเส้นไม่ได้
คำว่า Download/Upload Speed ใน Package Internet ที่เราเลือกจ่ายตังค์ มันเป็นค่าที่รองรับได้ครับ รถวิ่งไปรับปลากระป๋องที่โรงงาน แต่โรงงานเขาก็มีบริษัทขนส่งอื่นๆที่มารอรับของเหมือนกัน กว่าจะโหลดของลงรถให้เรา พวกนี้มันทำให้เกิดระยะเวลาเพิ่มทั้งนั้นครับ ความเร็วความช้าต่างๆ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝั่งเราฝั่งเดียว
*** เรา Download ได้สูงสุด 1Gbps แต่ฝั่ง Server ที่เราไปใช้ Service มีการ Upload ปล่อยของให้เราได้แค่ 50Mbps เราก็จะได้ความเร็วแค่ 50Mbps สำหรับ Service นั้นๆครับ ***
1. Mode การทำงาน Loadbalance
ส่วนใหญ่เลย หลักๆมีอยู่ 4 แบบ แต่ละยี่ห้อก็อาจจะเรียกแตกต่างกันไปบ้าง
1.1 Loadbalance แบบ Failover
1.2 Loadbalance แบบ IP Based
1.3 Loadbalance แบบ Session Based
1.4 Loadbalance แบบ Application Base
Loadbalance แบบ Failover
เป็น Mode Loadbalance ที่ง่ายสุด เรามี Internet 2 เส้น จะใช้เส้นนึงเป็นเส้นหลัก (Primary) และ อีกเส้นเป็นเส้นสำรอง (Backup)
ใช้งาน Internet ในสภาวะปกติ Packet จะวิ่งไปทางเส้นหลักทั้งหมด ส่วนเส้นสำรองจะถูกปิดไว้
เมื่อ Internet เส้นหลักมีปัญหา ตัว Loadbalance จะจัดการย้าย Packet ให้ไปวิ่งเส้นสำรองเมื่อ Detect ได้ว่ามันล่ม และ เมื่อเส้นหลักใช้งานได้ปกติ การใช้งาน Internet ก็จะถูกวิ่งไปที่เส้นหลักอีกครั้ง ส่วนเส้นสำรองจะถูกปิดไป
Mode Fail/Over นี้จะเหมาะกับการใช้ Internet เส้นสำรองเป็นเครือข่าย Cellular 4G/5G เพราะมีการคิดเงินตามปริมาณข้อมูลที่วิ่งเข้าออก และ เครือข่ายมือถือล่ม เราไม่ค่อยได้เจอกันครับ ก็อาจจะมีบ้างที่ไฟดับเป็นวงกว้างและดับนาน แบบนี้ทำอะไรไม่ได้ครับ บอกพนักงานกลับบ้าน
ระยะเวลาที่ Loadbalance จะตรวจสอบว่า Internet เส้นหลักล่ม แล้วทำการสลับไปใช้เส้น Backup ไม่ควรจะนานมากครับ
เมื่อ Internet เส้นหลักกลับมาใช้งานได้ปกติ ต้องมีการสลับกลับมาใช้เส้นหลักเหมือนเดิม
*** คำสั่ง Tracert หรือ Trace rute เป็นคำสั่งในการตรวจสอบเส้นทาง และ แจ้งกลับมาว่าเรากำลังวิ่งไปบนถนนเส้นไหนอยู่ครับ จากรูป Hop ที่ 2 จะเป็นหมายเลข IP ขา WAN ของ Loadbalance ***
Loadbalance แบบ IP Based
บางยี่ห้อก็จะเรียกว่า IP Source Based (IP จากเครื่องต้นทาง), IP Destination Based (IP จากเครื่องปลายทาง) หลักการทำงาน ตัว Loadbalance จะมีสูตรการคำนวน (Algorithm) กรณีที่มี Internet 2 เส้น ก็เอามาคำนวนร่วมกับค่า IP ผลลัพท์จากการคำนวนอาจจะได้ 0 กับ 1 ก็จะนำค่ามาระบุเลยว่า Service หรือเครื่องที่ใช้ Internet ให้ออก Internet เส้นไหน
IP Source Based จะนำค่า IP เครื่องต้นทาง (เครื่องเรา) มาคำนวนจะให้ออก Internet เส้นไหน เพราะฉะนั้นรูปแบบนี้ เครื่องเราจะถูก Fix ให้ออก Internet เส้นที่ถูกเลือกตลอดเวลา
IP Destination Based (IP เครื่องปลายทาง อย่าลืมว่า เข้า Website, Facebook, Tiktok ฯลฯ ก็คือ Server ต้องมีหมายเลข IP นะครับ เพียงแต่มันมี DNS มาเปลี่ยนให้เป็นชื่อเรียกเพื่อให้เราจำง่ายๆ) ก็จะเอา IP เครื่องปลายทางมาคำนวน ได้ค่าไหนก็ออก Internet เส้นนั้นๆ การเข้า Web แต่ละ Web หรือ แต่ละ Server จะออก WAN คนละเส้นกัน
*** Mode IP-Based นี้จะช่วยให้เวลาเราเข้า Website, Service ที่มี Security ได้อย่างไม่มีปัญหาครับ ***
Loadbalance แบบ Session Based
ย้อนไปที่ตัวอย่าง รถรับ-ส่งของ เราต้องไปรับปลากระป๋องมา 100 ตันใช่มั้ยครับ ในโรงงานมีระบบความปลอดภัยระดับสูงอยู่ คือต้องวิ่งไป-กลับด้วยถนนเส้นเดิม ถ้าวิ่งมาจากอีกเส้น ไม่ให้เข้าโรงงาน
Session Based ก็จะเป็นการระบุไปเลย สำหรับงานที่ไปรับปลากระป๋อง ให้วิ่งถนนเส้นใดเส้นนึงเป็นหลักจนกว่างานจะเสร็จ พอจบงานนี้ก็ไปวิ่งถนนเส้นอื่นได้ และงานไปรับปลากระป๋องรอบใหม่อาทิตย์หน้า ก็อาจจะวิ่งถนนเส้นที่แตกต่างจากเดิมได้
Loadbalance แบบ Application Base
อุปกรณ์ Loadbalance ต้องรองรับการวิเคราะห์ Packet ที่วิ่งเข้าออก ต้องรู้ว่า Packet ที่วิ่งเป็น Service อะไร เข้า Web, รับ-ส่งเมล์, Streaming แล้วก็จัดการระบุไปว่า Application แบบไหน ออก Internet เส้นไหน
อุปกรณ์ Loadbalance ที่ทำแบบนี้ได้ ตอนนี้ผมยังไม่มีให้ลอง
Feature ที่จำเป็นต้องมีใน Loadbalance
Internet Detection / Line Detection
สำคัญเลย... ตัว Loadbalance ต้องรู้ให้ได้ว่า Internet ที่เชื่อมต่อมันยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า
การเชื่อมต่อ Internet
อธิบายเรื่องการเชื่อมต่อ Internet แป๊บนึงครับ ปกติเวลาเราใช้ Loadbalance เชื่อมต่อ Internet จะมี 3 วิธี
1.PPPoE Client
ISP จะมีการตรวจสอบสิทธิโดยใส่ PPPoE Account User/Password เชื่อมต่อไปยัง ISP ถ้า User/Password ถูกต้อง เราก็จะได้ IP Address เพื่อให้เรามีตัวตนในโลก Internet
ถ้าเราใช้ Loadbalance เชื่อมต่อแบบ PPPoE ก็หมายถึงอุปกรณ์ที่ได้มาจาก ISP (ONU) จะมีหน้าที่แค่แปลงสัญญาณ Fiber มาเป็นสาย Lan เพื่อมาเชื่อมต่อกับ Loadbalance เรา ถ้าสาย Fiber ขาด เราก็ไม่สามารถเชื่อมต่อไปยัง ISP ได้ Authorize ไม่ผ่าน ตัว Loadbalance เราก็จะไม่ได้หมายเลข IP Address ก็จะรู้ทันทีว่า Internet เส้นนี้เชื่อมต่อไม่ได้ พวก Service ต่างๆไม่ต้องวิ่งมาที่ Internet เส้นนี้
2. DHCP Client
ตัว ONU ที่ได้จาก ISP จะมีหน้าที่เป็น Router และตรวจสอบสิทธิกับทาง ISP แล้วแจก IP Address มาให้ที่ Port WAN ของ Loadbalance อีกที
3. Static IP
เราทำการ Set IP ที่ขา WAN ของ Loadbalance โดยตรง ไม่ต้องให้ ONU แจก IP Address ให้
การใช้ Loadbalance เชื่อมต่อกับ ONU ในแบบ DHCP Client และ Static IP จะมีปัญหาในกรณีที่ Internet ใช้งานไม่ได้ครับ
เช่น.. สาย Fiber ขาด Internet มีปัญหา แต่ ONU ใช้งานได้ปกติ ตัว Loadbalance จะต้องรู้ให้ได้ว่า Internet เส้นนี้ใช้งานไม่ได้ เพื่อที่จะปิดการใช้งาน อารมณ์ก็เหมือนถนนขาดครับ ส่งรถขนของไปวิ่งถนนเส้นนี้ ก็ตกถนนกันหมดไปไม่ถึงปลายทาง
ในตัว Loadbalance จึงจำเป็นที่ต้องมี Feature ที่เรียกว่า Internet Detection หรือ Line Detection ครับ คอยตรวจสอบว่า Internet เส้นไหนยังอยู่ดี ยังใช้งานได้ปกติ ถ้าไม่ปกติก็ปิดเส้นทางเลยไม่ให้วิ่งออกไป
หลักการก็คือ ตัว Loadbalance จะทำการ Ping ไปยัง Server อะไรซักอย่างที่อยู่ใน Internet ที่จะมีน้ำใจตอบกลับให้เราทุกครั้ง
ประมาณนี้ Loadbalance ตะโกนไปหา Google ถ้า Google ตอบกลับในระยะเวลาที่กำหนด ก็แสดงว่า Internet เส้นนี้ใช้งานได้ แต่ถ้า ตะโกนไปแล้ว 5 ครั้ง ไม่ตอบกลับทั้ง 5 ครั้ง ก็มั่นใจได้เลย Internet เส้นนี้ล่ม ก็ทำการปิดการใช้งาน Internet เส้นนั้นๆซะ
PBR (Policy Base Routing)
สมมุติเรามี Internet 2 เส้น เส้นนึงเสถียรมาก อาจจะเป็น Lease-Line แต่ก็แพงมากเช่นกัน อาจสมัครที่ Package 30Mbps แล้วมีอีกเส้นเป็น Internet บ้าน เห็นถูกดี สมัคร Package 1Gbps
ถ้าไม่มีการจัดการอะไร โอกาสที่หลายๆคน เข้า Youtube ดูหนังฟังเพลง เล่นเกมส์ Online มาวิ่งเส้น Lease-Line งานสำคัญๆที่ต้องวิ่งเส้นนี้ ได้ช้ากันพอดี
ก็ต้องจัดการให้ Loadbalance แยกไปเลย Service หลักๆ เชื่อมต่อ Cloud Server หรืออะไรที่มันสำคัญๆ ให้ไปวิ่งเส้น Lease-Line ส่วน Service อื่นๆ ให้วิ่งเส้น Internet บ้าน
อาจจะระบุให้เครื่อง Server ออก Internet เส้นที่สำคัญ ส่วน Client อื่นๆ ออก Internet เส้นธรรมดา
ทำการแยกเป็น VLAN โดยกำหนดว่าให้ VLAN ไหน ออก Internet เส้นไหน และ Loadbalance บางรุ่นสามารถที่จะระบุได้ด้วยว่า จะไป Website ไหนให้ออก Internet เส้นที่กำหนดก็ได้เช่นกันครับ
หรือจะระบุว่า Service ไหนที่จะต้องวิ่งผ่าน VPN ไปยังสำนักงานใหญ่แล้ววิ่งออกไปข้างนอกอีกทีครับ เพราะบางทีฝั่งสำนักงานใหญ่ติดตั้ง Firewall ที่มี Security สูงกว่า
ค่า Throughput
บางทีก็เรียก Internet Throughput, NAT Throughput
Loadbalance ก็คือ Router ตัวนึงครับ ต้องทำ Routing เลือกเส้นทางว่าไปทางไหน รวมถึงทำ NAT ด้วย การทำงานพวกนี้มันใช้ CPU และ RAM ในการ Process
Spec Loadbalance นี้ก็ตามราคาครับ ถ้าราคาถูก ก็จะมี CPU, RAM ที่น้อย ทำให้ Performance ในการทำ Routing และ NAT น้อยลง
ต้องดูใน Datasheet ดีๆ เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่ก็จะใช้คำตรงๆเลย รองรับความเร็ว Internet ได้เท่าไหร่?
สมมุติเรามี Internet 2 เส้น 1G + 1G = 2Gbps แล้วไปซื้อรุ่นที่รองรับ 600Mbps เวลาใช้งาน Internet รวมกันยังไงก็ได้ไม่เกิน 600Mbps หายไป 1.4Gbps
เท่ากับว่า Loadbalance ที่ซื้อมา ไม่คุ้มกับการจ่ายค่า Internet เพิ่มเลย
ความเร็ว Interface
สำหรับงาน Office โดยปกติ เราก็จะมี Topology ใช้ Loadbalance เชื่อมต่อกับ Core Switch และจาก Core Switch เชื่อมต่อไปยัง Client อีกที หรือ จะเป็น Access Switch, Access Point ก็ได้
ถ้าความเร็ว Internet รวมแล้วมากกว่า 1Gbps จำเป็นที่จะต้องใช้ Loadbalance ที่มี Port SFP+ (10Gbps) และ Network Switch ที่มี Port SFP+ เพื่อ Uplink ด้วยความเร็ว 10Gbps เชื่อมหากันครับ
เพราะถ้าใช้ Port ที่เป็นความเร็ว 1Gbps จะเป็นคอขวดทำให้ความเร็ว Client รวมทั้งหมดไม่เกิน 1Gbps ครับ
เดี๋ยวนี้พวก Loadbalance มันจะมีเรื่อง SDWAN ด้วยครับ
SDWAN (Software Define WAN) ก็ตามชื่อเลย มีการเขียน Software คอยตรวจสอบการเชื่อมต่อ Internet ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องคุณภาพของ Internet , ช่องทางความเร็วของ Internet แต่ละเส้น ถ้าเส้นนี้ใช้น้อยอยู่ ก็โยกให้ไปวิ่งเส้นนี้บ้าง, การเชื่อมต่อ VPN โดยที่ไม่ต้อง Set ค่าอะไร เพราะเขาเขียน Software จัดการให้เราแล้ว , การจัดการเลือกเส้น Internet ที่ดีที่สุด เดี๋ยวค่อยกล่าวถึงอีกทีครับ
อุปกรณ์ Router ถือว่าหัวใจของระบบ Network เลยครับ ซื้อผิด ไม่ตรง Spec ทำงานไม่ตรงตาม Solution ที่ต้องการ ซื้อใหม่อย่างเดียวครับ ตัวเก่าก็ต้องรอเอาไว้ขึ้นระบบใหม่ ไม่เหมือนพวก Network Switch, Access Point ที่ยังพอจะโยกขยายไปจุดอื่นๆได้
Loadbalance Router มีหลายรุ่น หลายยี่ห้อให้เลือกใช้ครับ จุดแข็ง จุดด้อย ของแต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกัน รวมถึง Spec ของ Hardware การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน
ถ้าต้องการใช้งาน Loadbalance แนะนำปรึกษากับทางร้านได้เลยนะครับ ทางร้านยินดีที่จะแนะนำสินค้าให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
Facebook comment