Review Engenius Cloud ระบบจัดการอุปกรณ์ Engenius ใช้ง่าย ปลอดภัย รองรับ Captive Portal, Roaming, WIFI MESH
- ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณแล้ว
- จัดส่ง
- รวมทั้งสิ้น ฿0.00
Review Engenius Cloud ระบบจัดการอุปกรณ์ Engenius ใช้ง่าย ปลอดภัย
Review Engenius Cloud ระบบจัดการอุปกรณ์ Engenius ใช้ง่าย ปลอดภัย
งานติดตั้งระบบ WIFI Hotspot ส่วนใหญ่เลย เราไม่ได้ต้องการ Feature อะไรมากมาย ขอแค่ Config ง่ายๆ จะทำ Multi-SSID จะปรับจูนคลื่นวิทยุก็แค่กดๆมีรายละเอียดคำแนะนำมี menu ง่ายๆไม่ซับซ้อน , ปล่อยสัญญาณได้แรง ครอบคลุม ภาครับก็รับสัญญาณได้ดี, ไม่เจอปัญหาติดๆหลุดๆ
ทำ Roaming เดินเล่นมือถือจากชั้น 1 มาชั้น 2 มือถือก็กระโดดไปเกาะสัญญาณ Access Point ตัวใกล้ๆได้อย่างอัตโนมัติและรวดเร็ว เพราะการได้สัญญาณที่ดี ความเร็วก็จะสูงตาม , ติดตั้งง่ายๆ ทนทาน ระบายความร้อนได้ดี ไม่เหลือง
เวลามีปัญหาก็ดูแลตรวจสอบหาสาเหตุได้รวดเร็ว ยิ่งพวกงานสำนักงาน โรงแรม หอพัก ก็เช็คดูได้ว่ามีปัญหาเพราะอะไร เปิด App เข้าดู แก้ไขระบบจากที่ไหนก็ได้ ทำให้ลดปัญหา User โวยวายได้อย่างดี ❤️
ความง่ายๆ ไม่ยุ่งยากแบบนี้ ขอแนะนำ Engenius Cloud ครับ เป็น Brand ที่อยู่ในประเทศไทยยุคแรกๆเลย มีการพัฒนามาต่อเนื่อง
ทางร้านเคย Review Engenius Cloud ไปหลายปีละ เดี๋ยวนี้ Engenius Cloud มีการ Update Feature ใหม่ๆขึ้นมาเยอะอยู่ครับ
ครั้งนี้จะเป็นการใช้งาน Engenius Cloud บน Smart Phone ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อ App เป็น Engenius Cloud-To-Go
Engenius Hardware
อุปกรณ์ที่จะทดสอบ เป็น Access Point รุ่น ECW210L ครับ
Engenius ECW210L Wi-Fi 6 AX3000, Gain ขยายของเสา 5dBi ช่วยในเรื่องการรับ-ส่งสัญญาณได้ระยะไกลขึ้น ทดสอบแล้วครับวางชั้น 2 สัญญาณไปถึงชั้น 3 และภาครับของ AP ก็รับสัญญาณจากมือถือได้ดี, รองรับ Fast Roaming และ MESH WIFI
จากที่ขายยี่ห้อนี้มาสิบกว่าปี Access Point ของ Engenius ทนทานใช้ได้เลย ออกแบบให้ด้านหลังเป็นอลูมิเนียม ทำให้มีการระบายความร้อนได้ดีครับ รวมถึงวัสดุปิดมิดชิด ป้องกันมดเข้าไปทำรัง
Port Lan ความเร็ว Gigabit รองรับ POE 802.3af กินไฟ 10.7W หรือจะใช้ DC Adapter 12VDC/1.5A ก็ได้ครับ
Engenius Cloud
Engenius เป็น Product จากไต้หวัน จะซีเรียสในเรื่อง Privacy หรือความเป็นส่วนตัวมากครับ เพราะมีผลทางกฏหมาย รวมถึงการนำไปขายทางฝั่งยุโรป และ อเมริกา
Data ที่วิ่งไปมาระหว่าง Hardware ไปยัง Engenius Cloud จะเป็นแค่ Data สำหรับการจัดการและตรวจสอบ Hardware เท่านั้น จะไม่มีข้อมูล พวกประวัติการเข้า Web, รหัสผ่าน หรือพวกข้อมูลการชำระเงินต่างๆ เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญๆของเราไม่รั่วไปไหนแน่นอน
Engenius Cloud จะมีทั้งแบบเสียเงิน (รุ่น Pro) และแบบฟรี (รุ่น Basic) ข้อแตกต่างก็ตาม Link นี้ครับ Cloud Feature Plans Comparison
ข้อแตกต่างของรุ่น Pro คร่าวๆ
Data Statistic รุ่น Pro จะเก็บได้ 30 วัน
Dynamic / Private PSK รหัส WIFI ของใครของคนนั้น สามารถ Assign VLAN ให้แต่ละ Account ได้เลย ไม่ต้องทำ Multi-SSID VLAN อะไร
Authen รองรับการเชื่อมต่อ Account กับ AD/ LDAP/ Google Authentication และ Azure AD
Live Client List สำหรับตรวจสอบ Client แบบ Real Time เช่นที่ผ่านมา Client ไปเชื่อมต่อ AP ตัวไหนบ้าง ได้สัญญาณเท่าไหร่
ทำ Voucher, Engenius Authen ได้ 10,000 Accounts (แบบ Free ได้ 100 Accounts)
etc..
*** ส่วน Hardware สามารถเพิ่มเข้าไปใน Cloud ได้ไม่จำกัดจำนวนครับ ทั้งแบบ Free และแบบ Pro ***
ถ้าใช้งานในสำนักงาน ใช้แบบ Free ก็พอครับ
แต่ถ้าจะใช้ในงานโรงแรม หอพัก และต้องการทำ Authen เช่น Captive Portal มีหน้า Web ให้ลูกค้า Login เพื่อใช้งาน Internet แนะนำใช้ร่วมกับตัวที่ทำ Authen อาจจะเป็น Mikrotik ทำ Hotspot Server หรือ iBSG ก็ได้เช่นกันครับ (ทางร้านมีขาย พร้อม Config ครับ 😘)
App Engenius Cloud To-Go
ติดตั้ง App Engenius Cloud To-Go รองรับทั้ง iOS และ Android
เปิด App ทำการ Register
การจัดการ Project ใน Engenius Cloud จะแบ่งตามนี้ครับ
Organization ในแต่ละ Organize จะไม่ได้เกี่ยวข้องกัน และ เวลาเชิญใครมาเป็น ผู้ดูแลระบบก็จะเป็นของ Organize นั้นๆ
Network จะอยู่ภายใต้ Organization เวลา Config เช่น Tx Power, Channel, SSID, อุปกรณ์ Engenius ที่อยู่ภายใต้ Network จะถูกปรับเปลี่ยนตามที่เรา Config ไว้ เว้นแต่ว่าเราไป Override ค่า Config ในอุปกรณ์แต่ละตัว
Group เป็นการจัดกลุ่ม Network ถ้าเรา Config ค่าต่างๆใน Group เช่น Tx Power, Channel, SSID อุปกรณ์ที่อยู่ในทุกๆ Network ภายใต้ Group จะถูกปรับเปลี่ยนตามที่เรา Config
ตัวอย่าง
ผมมี Project ที่มาจากลูกค้าเจ้าเดียวกัน ใน Project นี้มี 3 Site อยู่คนละที่ แต่ละที่อยากให้มีชื่อสัญญาณ WIFI แตกต่างกัน
ผมจะสร้าง
Organize: ABC และเชิญลูกค้ามาเป็น Admin ใน Organize ABC นี้ด้วย
Network: B#1, B#2 และ B#3
SSID ของ Network B#1, B#2 และ B#3 เป็น @B1-WIFI, @B2-WIFI และ @B3-WIFI ตามลำดับ
เอาใหม่..ทีนี้ถ้าผมต้องการให้ Network B#1 และ B#2 มี SSID เป็น @BB-WIFI เหมือนกัน
ผมก็ทำการสร้าง Group Project-A ขึ้นมา
และให้ Network B#1, B#2 อยู่ภายใต้ Group นี้ เวลาผม Config ก็จัดการ Config ที่ Group ได้เลย ค่า Config ของอุปกรณ์ที่อยู่ใน Network B#1, B#2 ก็จะเปลี่ยนตามที่เรา Config
*** ประโยชน์อีกอย่างคือของการแยก Network กรณีที่เราต้องการสร้าง SSID ที่เหมือนกัน แต่อยู่คนละ VLAN ครับ
เช่น SSID @Student-WIFI มีนักเรียนเป็นพันคน จะออกแบบให้อยู่วง IP เดียวกัน ก็ไม่ดีแน่ๆ ก็แยก Group อุปกรณ์ Access Point ตามแต่ละตึกแบ่งเป็น Network แต่ละ Network ก็กำหนด SSID @Student-WIFI แต่ต่าง VLAN กัน (หรือจะผ่านๆก็ได้ครับ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผมช่วยออกแบบให้ครับ 🥰🥰🥰)***
การ Add อุปกรณ์ Engenius เข้า Network ก็แค่ Scan QR-Code ที่ด้านหลังอุปกรณ์ หรือ จะใส่หมายเลข Serial Number ก็ได้เช่นกัน
ใน Wizard อธิบายเป็นภาษาไทย ง่ายดีครับ
Dashboard
ตรงมุมขวา จะเป็นการ Config Radio, VLAN, Access Control และ General ถ้าเรา Config ตรงนี้ อุปกรณ์ทุกตัวที่อยู่ใน Network จะถูกเปลี่ยนค่าตามที่เรา Config ครับ
รายละเอียดที่เป็น Summaries (รูปนี้ผมนำมาจาก Cloud Demo Project)
Radio Settings
หลักๆจะเป็นปรับ คลื่นความถี่, Channel, Tx Power, Enable Fast Roaming, Client Limit, Client Balance เพื่อป้องกันไม่ให้ Client แห่กันไปเกาะ AP ตัวเดียวกันเป็นจำนวนมาก
GUI ในส่วนของการเลือก Channel ทำมาให้เข้าใจง่ายๆเลยครับ จิ้มเลือกเอาเลยจะใช้ช่องไหน ที่ความกว้างของช่องเท่าไหร่
VLAN Settings
สำหรับทำ Multi-SSID VLAN Tagging ครับ ต้องใช้ร่วมกับ Managed Switch และ Router ที่ทำ Interface VLAN ได้
Network General
Upgrade Firmware, ปิด/เปิด อุปกรณ์ตามช่วงเวลา, ปิด/เปิด ไฟ LED, Alert เวลา Offline
ถ้ารุ่น Pro จะมีการตรวจสอบ AP แปลกปลอมในระบบด้วยครับ (Rogue AP) มีคนเอาพวก 4G Router มาวาง แล้วสร้างชื่อสัญญาณให้เหมือนของเรา พอเราเข้า web อะไรซักอย่าง มันไปเปลี่ยน DNS ให้ Redirect ไปที่ Web หลอกทำซะเหมือนเลย ถ้าเราเผลอใส่ Username/Password เข้าไป เสร็จโจรเลยที่นี้
Device
ในรายการอุปกรณ์ ถ้าเราจิ้มเลือกอุปกรณ์ เข้าไป การ Config จะเป็นการ Override อุปกรณ์ตัวนั้นๆ ไม่เกี่ยวกับตัวอื่นๆ
หลักๆก็จะมี Fix IP, Disable MESH, ปิด/เปิดชื่อ WIFI, สั่ง Reboot, ปิด/เปิด ไฟ LED, Locate สั่งให้ไฟกระพริบเพื่อหาอุปกรณ์, ปรับเปลี่ยน Tx Power, Channel Width ของ AP ตัวที่เลือก
ตรวจสอบ Client ไหนมาเกาะ AP ตัวนี้บ้าง ,ได้รับสัญญาณดีมั้ย ,ใช้ Bandwidth กันไปเท่าไหร่
ส่วน พฤติกรรม LED จะเป็น hint แสดงให้ดูว่าการกระพริบของ LED Status หมายความว่าอะไร
Clients
แสดงรายการและรายละเอียดของ Client ที่เชื่อมต่อทั้ง Network ครับ เตะออกได้ แต่!! พอเตะแล้วก็เข้ามาใหม่ได้ แนะนำให้ Block ไปเลย
WI-FI
กำหนดค่าที่เกี่ยวกับ WIFI ทั้งหมด
หลักๆ
ชื่อ SSID, WIFI Security สามารถทำเป็น QR-Code พิมพ์ออกมาแปะ ให้ Smartphone ทำการ Scan ก็จะสามารถเชื่อมต่อได้เลยไม่ต้องใส่ Password ครับ, Enable Roaming, กำหนด VLAN กรณีที่ทำ Multi-SSID VLAN Tagging
กำหนดความเร็ว Download/Upload สามารถระบุได้ว่าจะเป็นความเร็วของ SSID หรือ ความเร็วแต่ละ Clients
กำหนดเวลา ปิด/เปิด สัญญาณ WIFI
ถ้าต้องการให้ Clients ที่เชื่อมต่อเข้ามาได้ IP วงอื่น โดยที่เราไม่ต้องการทำ Multi-SSID VLAN Tagging ให้เลือก Client IP Address เป็น Mode NAT ครับ
Captive Portal
รองรับการทำ Captive Portal ใช้ร่วมกับ Bandwidth Management เพื่อจำกัดความเร็ว
ใน Engenius Cloud เป็น Captive Portal แบบง่ายๆ ถ้าต้องการ Feature มากกว่านี้ เช่น จัดกลุ่ม Account, กำหนดความเร็วแต่ละกลุ่ม แนะนำใช้กับ Mikrotik ครับ
...แต่จะว่าไปแล้ว โรงแรมส่วนใหญ่ ก็ใช้ User/Password เดียวกัน พิมพ์แปะที่ห้องเลย ก็สะดวกดีครับ
Click-through -- จิ้มแล้วเข้า Internet ได้เลย
EnGenius Authentication -- ใช้ Radius ของ Engenius (รุ่น Free จะได้ 100 User)
Custom RADIUS -- ใช้ Radus ที่ติดตั้งเอง
Voucher Service -- สร้าง Username/Password บน Cloud (รุ่น Free จะได้ 100 User)
ใน รุ่น Pro จะรองรับ Account AD/ LDAP/ Google Authentication / Azure AD
สร้าง Voucher ให้ Click Link Copy front-desk portal URL ครับ จะเข้า Web สำหรับสร้าง Voucher
หน้า Captive Portal แก้ไขได้ครับ แนะนำให้ทำบน PC จะง่ายกว่า การแก้ไขเป็นแบบ WYSIWYG คือแก้ไขอะไรก็เห็นตามนั้น
Logs
แสดงเหตการณ์ต่างๆ ของอุปกรณ์ , ของทั้งระบบ และ มีใครไปแก้ไข Config อะไรบ้าง ละเอียดและอ่านง่ายดี
สรุป
Engenius Cloud ออกแบบ GUI มาให้ใช้งานได้ง่ายมากๆ ช่วยให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น พวก Hint ข้อแนะนำต่างๆมีให้อ่านครบ ภาษาไทยก็แปลได้ดีครับ ไม่งง
อุปกรณ์ Engenius เองก็ขึ้นชื่อเรื่องความทนอยู่แล้ว มีลูกค้าที่ร้านบางท่านยังใช้ EOC-1650 อยู่เลย ใช้กับพวก iOT ไอ้รุ่นนี้ก็ราวๆ 10 ปีได้แล้วครับ
แต่ที่อยากให้แก้ไขบางส่วนก็คือ Vouchers User/Password ครับ จะยาวไปไหน ขนาดสั้นๆ User บางท่านก็ยังใส่ผิดใส่ถูกอยู่เลย ปกติ Username ก็เป็น UNIQUE INDEX อยู่แล้ว Password ไม่ได้เกี่ยวเลย 😂
และในรายการ Client List อยากให้แสดง Column ว่า Client รายการนี้เกาะ AP ตัวไหนอยู่
.....เดี๋ยวไว้คุยกับทาง Engenius
Facebook comment