โปรแกรม Network สำหรับ Fix-IP , Enable DHCP Network Card, Ping, Telnet, Trace Route, Interface Ping
- ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณแล้ว
- จัดส่ง
- รวมทั้งสิ้น ฿0.00
Review SG2005P-PD TP-LINK Omada POE Switch-POE IN/Out ติดตั้งภายนอกอาคาร
Review SG2005P-PD TP-LINK Omada POE Switch POE IN/Out ติดตั้งภายนอกอาคาร
สำหรับงานที่ต้องการเพิ่มระยะสาย LAN หรือ ต้องการหา POE Switch แบบ Outdoor เพื่อเชื่อมต่อกับ IP-Camera หรือ Access Point เช่นงาน CCTV, WIFI และตำแหน่งที่ติดตั้ง POE Switch ไม่มีไฟ Power ให้ใช้..
ทางร้านขอแนะนำอุปกรณ์ TP-LINK Omada SG2005P-PD ครับ เป็น L2+ Managed POE Switch 5 Port Gigabit รองรับไฟ POE Input และ จ่ายไฟ POE Output ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การทำ VLAN, LACP, ACL, 802.1x, Static Routing, DHCP Server สามารถ Managed/Monitor ผ่าน Omada Controller บริหารจัดการผ่าน Omada Cloud ได้
พวก Feature ต่างๆมาครบเลย
รองรับไฟเลี้ยงอุปกรณ์จาก POE 1 Port (Port 5)
จ่ายไฟ POE 4 Port (Port 1-4) มาตรฐาน IEEE 802.3af/at (กรณี ไฟ Output ต้องการ 802.3at, ไฟ Input ควรจะเป็น 802.3bt ครับ)
วิธีคำนวน Watt ขาเข้าและขาออก ของ POE Switch SG2005P-PD
เริ่มแรก...
เราหา Power Consumption ของอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ไฟ POE จาก POE Switch SG2005P-PD ก่อนครับ ใช้กี่ตัวก็เอามาบวกรวมกัน ถ้ากล้อง IP-Camera ทั่วๆไปก็ประมาณ 7-10W ส่วน Access Point ถ้าเป็น WIFI5 หรือ WIFI6 2x2 ก็ไม่เกิน 15W แต่ถ้า WIFI6 4x4 ก็จะประมาณ 15-20W แต่ถ้า WIFI7 ต้องใช้ POE Input ที่เป็นมาตรฐาน 802.3bt Type 4 (90W)
จากนั้นก็เลือก POE Injector หรือ POE Switch มาเป็นตัวจ่ายไฟ (Power Input) ให้ SG2005P-PD ครับ
จ่ายไฟรวมสูงสุด 64W (Power Output) เมื่อรับไฟเป็น POE มาตรฐาน 802.3bt Type 4 (90W)
จ่ายไฟรวมสูงสุด 44W เมื่อรับไฟเป็น POE มาตรฐาน 802.3bt Type 3 (60W)
จ่ายไฟรวมสูงสุด 19W เมื่อรับไฟเป็น POE มาตรฐาน 802.3at (30W)
จ่ายไฟรวมสูงสุด 6W เมื่อรับไฟเป็น POE มาตรฐาน 802.3af (15.4W)
หลักการคร่าวๆก็ประมาณนี้ครับ ทีนี้มาดูหน้าตาและ Feature ต่างๆของอุปกรณ์
Hardware
อุปกรณ์ที่มาในชุด จะมี POE Switch SG2005P-PD, สาย Cable-tire, Quick Install Guide
ตัว SG2005P-PD กันน้ำกันฝุ่นมาตรฐาน IP55, ฝาปิดด้านหลัง ยึดด้วยสกรู อุปกรณ์สามารถยึดกับเสาหรือผนังได้
5 Port ความเร็ว Gigabit
Port 1-4 เป็นฝั่ง POE ขา Output ส่วน Port 5 เป็น POE ขา Input
ไฟ LED แสดงสถานะ
รายละเอียด LED Status
PoE Max สถานะไฟ POE ที่ SG2005P-PD สามารถจ่ายออกมาได้อีก
On: กำลังไฟ PoE เหลือน้อยกว่า 7 W
กะพริบ: กำลังไฟ PoE เหลือน้อยกว่า 7 W นานกว่า 2 นาที
Off: กำลังไฟ PoE เหลือมากกว่า 7 W
Link/Act
สีเขียว: เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ 1Gbps
สีเหลือง: เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ 10/100Mbps
กะพริบ: สถานะการส่ง / รับข้อมูล
Off: ไม่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เกี่ยวข้อง
PoE Status
Port 1-4
On: มีการจ่ายไฟ PoE ออกมาจาก Port ของ Switch
กะพริบ: กระแสไฟเกิน/ไฟฟ้าลัดวงจร/เชื่อมต่อกับ PD ที่ไม่ได้มาตรฐาน/กำลังไฟฟ้าเกินค่าที่กำหนด
Off: ไม่มีการจ่ายไฟ PoE
Port 5
สีเขียว: ได้รับไฟ Input POE มาตรฐาน 802.3bt
สีเหลือง: ได้รับไฟ Input POE มาตรฐาน 802.3af/at
Off: ปิดเครื่อง
*ไฟ LED จะเปิดหลังจากเชื่อมต่อ Port 5 กับ PoE Power Sourcing Equipment (PSE) เป็นเวลา 2-3 วินาที
ทดสอบด้วยการใช้ POE Injector ที่เป็นมาตรฐาน 802.3bt (60W) เป็น POE Input และเชื่อมต่อ POE Output เข้ากับอุปกรณ์ PD ต่างๆเช่น Access Point, IP Camera, Omada Controller
วัดกำลังไฟจาก Port 1 (POE Output) ได้มาตรฐาน 802.3at (30W)
GUI Software
การ Managed อุปกรณ์ TP-Link SG2005P-PD ทำได้ทั้งแบบ Standalone และผ่าน Omada Controller ครับ
Standalone Mode
POE Power Detail
แสดงรายละเอียด จ่ายไฟ รับไฟมาเท่าไหร่ และ เหลือจ่ายไฟออกได้อีกเท่าไหร่
POE Auto Recovery
เป็นการสั่ง Ping ไปยังอุปกรณ์ที่รับไฟ POE (PD) ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีการตอบกลับตามระยะเวลาที่กำหนด ตัว Switch จะคิดว่าอุปกรณ์ปลายทางมันค้าง ก็จะสั่งปิด/เปิด POE ที่ Port เพื่อทำการ Reboot อุปกรณ์ปลายทาง
รองรับ Link Aggreagate (LACP: IEEE802.3ad), VLAN (802.1q), Multicast IGMP Snooping
รองรับ Static Routing, ACL, 802.1x
Controller Mode
Omada Controller
ทำผ่าน Controller ก็สะดวกดีครับ ตัวอย่าง LAB ผมใช้ร่วมกับ TP-Link OC200 แล้วผูกกับ TP-Link Cloud ช่วยให้เราบริหารจัดการจากที่ไหนก็ได้
Status Port, POE Power
POE Recovery
ด้วยค่าตัวไม่แพง เหมาะกับงานแก้ปัญหาระยะสาย LAN ปัญหา Power ที่จะไปจ่ายให้กับอุปกรณ์เครือข่ายปลายทาง รวมถึงตำแหน่งที่ติดตั้ง
และเราไม่ต้องหาไฟ 220VAC มาจ่ายให้กับ Switch รุ่นนี้ ทำให้การติดตั้งไม่วุ่นวายและปลอดภัย ติดยึดกับเสาหรือผนังนอกอาคารได้เลย แต่ถ้าติดตั้งกลางแดดจริงๆก็อยากให้ใส่กล่องกันน้ำซักหน่อยครับ ไม่ให้โดนแดดตรงๆ ไม่งั้นเหลือง ช่วงฤดูร้อนแดดบ้านเรามันแรงมากๆครับ
Facebook comment