Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,949
กระทู้ทั้งหมด
9,955
หัวข้อทั้งหมด
4,633

กระทู้ล่าสุด


กระทู้ล่าสุด

#71
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / คู่มือการทำ Authentication ใน ...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 15 สิงหาคม 2022, 15:11:31
คู่มือการทำ Authentication ใน Ruije Cloud V3.9


สำหรับ Ruijie Cloud V3.9 ได้มีการปรับปรุงในส่วน User Manager ครับ โดยจะรวมอยู่ใน Menu Configuration --> Authentication --> User Manager ในหน้าเดียวเลย


** การใช้ Authentication บน Cloud จะรองรับเฉพาะ Ruijie Access Point เท่านั้นครับ ***


ถ้าต้องการใช้ร่วมกับ Reyee Access Point หรือ Access Point ยี่ห้ออื่นๆ ต้องใช้ร่วมกับ Reyee Gateway หรือ Ruijie Gateway ครับ



ตัวอย่าง

ได้มีการ Add Ruijie Access Point ขึ้น Ruijie Cloud เรียบร้อยแล้ว






1. สร้าง Captive Portal

Menu Configuration --> Authentication --> Captive Portal





2. รูปแบบของ Captive ใน Ruijie Cloud

2.1 One Click Login

พอ Click ปุ่ม แล้วเข้าใช้งาน Internet ได้เลย ไม่มีการถาม Password ใดๆ ประมาณ FreeWIFI ให้ลูกค้าที่นั่งรอ เล่น Internet

รองรับการกำหนดระยะเวลาใช้งาน Internet และจำนวนครั้งที่เข้าใช้งานใน 1 วัน






2.2 Voucher ออกคูปอง

จะมีคูปอง Code มาให้ User กรอก เพื่อเข้าใช้งาน Internet เหมาะกับงาน โรงแรม หอพัก รองรับได้ 20,000 รหัส ไม่จำกัดการ Login ขึ้นอยู่กับว่า Access Point ที่ติดตั้งรองรับ User ได้มากขนาดไหนครับ

2.3 Account

สร้าง Account ทาง Admin จะกำหนด Username/Password ให้ User เพื่อเข้าใช้งาน Internet เหมาะกับงาน โรงแรม หอพัก ทาง Admin จะสะดวกในการตรวจสอบ เพราะสามารถระบุ Username ได้ รองรับได้ 20,000 Account เช่นกัน


2.4 SMS เชื่อมต่อกับ SMS Service ให้ User กรอกเบอร์โทรศัพท์เพื่อรับ Code เข้าใช้งาน Internet

2.5 Registration ให้่ลูกค้าใส่ ชื่อ และ Email เพื่อเข้าใช้งาน Internet

2.6 Facebook Account Login ด้วย Facebook Acount (ระบบยังไม่ค่อยสมบูรณ์ครับ)


หน้า Captive Portal สามารถปรับแต่งได้


Show Balance Page: เมื่อ User Login สำเร็จจะมีหน้าแสดงรายละเอียดของ User
Post-Login URL: เมื่อ User Login สำเร็จ จะ Redirect ไปยังหน้า Web ที่ต้องการ






3. สร้าง Account






User Name: User
Password: Password
User Group จะเป็น User Profile ถ้ายังไม่ได้สร้าง สามารถเลือก Custom เพื่อทำการสร้างได้



ตัวอย่าง การสร้าง Account ใน Ruijie Cloud Version นี้สามารถใส่รายละเอียดของ User ได้ เช่น ชื่อ/นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และ Email





Bulk Import จะเป็นการ Import รายชื่อ Account จากไฟล์ Excel สามารถ Download Template ก่อนเพื่อดูรูปแบบได้






Format ของไฟล์ Excel





แก้ไขรายละเอียด, Reset และ ลบ Account




One-click send

ส่ง Email Account/Password ให้ User ตามที่ใส่ email ใน Information ไว้










Export Account เป็น Excel





4. สร้าง Voucher




Quantity: จำนวนคูปองที่จะ Generate ออก
User Group: เลือก User Group ที่สร้างไว้
Profile Information Setting: รายละเอียดของ User ที่ได้ Voucher นี้ไปใช้งาน ใส่หลังจากที่ Generate เรียบร้อยแล้ว
Voucher code type: กำหนดรูปแบบของรหัส ถ้าให้ User Login ง่ายๆ เลือกเป็นแบบตัวเลขครับ
Voucher length: ความยาวของรหัส


Voucher ที่ Generate ออกมา 10 ใบ




Click เลือก Voucher แล้ว Click Print Voucher




Save เป็น pdf เพื่อพิมพ์





5. User Group





กำหนด User Group




Price: ราคาที่โชว์ในคูปอง
Concureent Devices: จำนวนเครื่องที่ Login เข้า Internet พร้อมๆกัน (แนะนำตั้งค่าไว้ที่ 3)
Period: ระยะเวลาการใช้งาน Internet
Quota: จำกัด Traffic การใช้งาน Internet
Maximum upload rate: ความเร็ว Internet Upload
Maximum download rate: ความเร็ว Internet Download
Bind MAC on first use: หลังจากที่ Login สำเร็จ ค่า Mac Address ของ Device จะถูกบันทึกในระบบ เครื่องอื่นๆที่ Login ด้วย Account เดิมเข้ามาจะไม่สามารถใช้งานได้



6. E-Sharing


Share ในส่วน User Manager ให้กับ Ruijie Cloud Account อื่นๆได้





7. กำหนด SSID ให้เชื่อมต่อกับ Authenticate

หลังจากสร้าง Captive Portal เรียบร้อยแล้ว เข้า Menu Configuration --> Wireless --> Basic



SSID: ชื่อสัญญาณ WIFI
Encryption Mode: Open (เพื่อไม่ให้ User ต้องใส่รหัสซ้ำซ้อน)
Auth: Enable
Mode: Captive Portal
Seamless Online: กำหนด ระยะเวลาที่ User ไม่ต้อง Login อีกครั้ง หลังจากที่หลุดออกจากการเชื่อมต่อ WIFI
Click เลือก Captive Portal ที่สร้างไว้


Click [OK] และ Click [Save]



ทดสอบ

สร้าง Account กำหนดความเร็วที่ 100Mbps









เรียบร้อยครับ

#72
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / Re: คู่มือการ Config Reyee Gat...
กระทู้ล่าสุด โดย VeeZa66 - วันที่ 14 สิงหาคม 2022, 06:49:06
ทำ VPN L2TP/IPSecs Site-To-Site เรียบร้อบแล้วต้องการให้ฝั่ง site ทั้งหมดวิ่งออกเน็ตที่ฝั่ง HQ ได้ไหมครับ
#73
อุปกรณ์ Cisco, Linksys By Cisco / คู่มือการ Config VLAN บน Cisco...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 2 มิถุนายน 2022, 15:38:46
คู่มือการ Config VLAN บน Cisco CBS Switch Series


บทความแบบละเอียดจะอยู่ในหัวข้อนี้ครับ คู่มือการ Config VLAN Switch Cisco CBS Series - Access Point Cisco CBW Series


ตัวอย่าง



มี VLAN 1, VLAN 10, VLAN 20 และ VLAN 30

Port 1 เป็น Access Port VLAN 10
Port 2 เป็น Access Port VLAN 20
Port 3 เป็น Access Port VLAN 30
Port 24 เป็น Trunk Port เชื่อมต่อกับ Gateway ที่ทำ Sub-Interface เรียบร้อยแล้ว


1. IP Default ของอุปกรณ์ Switch Cisco จะเป็น 192.168.1.254 แต่ถ้าต่อเข้ากับ Router จะได้รับ IP จาก Router ครับ ให้ตรวจสอบที่ Router ว่าแจก IP อะไรไป


ปกติผมถนัดผ่าน CLI จะง่ายกว่า ไม่ต้องหา Menu เยอะ ใช้ Baud rate 115200 ครับ




ตรวจสอบ IP




หรือ ถ้าเข้าผ่าน Web GUI ก็ได้ครับ




2. Menu Create VLAN




3. สร้าง VLAN 10, 20 และ 30 เพื่อให้ Switch รู้จัก VLAN

Menu VLAN Management --> VLAN Settings






4. Menu VLAN Management --> Interface Settings

โดย Default ทุก Port จะเป็น Trunk




กำหนดให้ Port 1, 2 และ 3 เป็น Port Access

Click เลือก Port 1 และ Click Edit เลือก Interface VLAN Mode: Access









5. กำหนด VLAN ให้ Port

Menu VLAN Management --> Port to VLAN

Menu นี้จะเป็นกำหนด Tagged/Untagged ให้กับ Port

Tagged: เป็นการแปะ VLAN ไปกับ Frame ของ Data ก่อนออกจาก Port โดย Port พวกนี้จะเป็น Trunk Port
Untagged: เป็นการถอด VLAN ID ออกจาก Frame ของ Data ก่อนออกจาก Port โดย Port พวกนี้จะเป็นสมาชิกของ VLAN ที่กำหนดของ VLAN นั้นๆ


เลือก Filter ตาม VLAN ที่ต้องการ



Filter VLAN 10
Port G1: Untagged
Port G24: Tagged




Filter VLAN 20
Port G2: Untagged
Port G24: Tagged




Filter VLAN 30
Port G3: Untagged
Port G24: Tagged


ตรวจสอบว่า Port ไหนเป็น VLAN อะไรใน Menu VLAN Membership





หลังจาก Config เรียบร้อยแล้ว อย่าลืม Click Save ด้วยนะครับ ไม่งั้นปิด/เปิดเครื่องใหม่ ค่า Config จะกลับเป็นค่าเดิม



#74
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / คู่มือการ Forward Port Reyee G...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 23 พฤษภาคม 2022, 11:34:17
คู่มือการ Forward Port Reyee Gateway


ตัวอย่าง

ต้องการ Forward Port ไปยัง Unifi Controller ที่มี IP: 192.168.110.246 และ Port 8443 โดยจะเข้ามาจากข้างนอกด้วย Port 15001


ข้อกำหนด

IP ขา WAN ของ Reyee Gateway ต้องเป็น IP แบบ Public เพราะฉะนั้นต้องเปลี่ยน Modem เป็น Bridge Mode และเชื่อต่อ WAN แบบ PPPoE สอบถามกับทาง ISP ได้โดยตรง


1. ถ้าไม่ได้สมัคร Fix IP ต้องใช้ร่วมกับ No-IP หรือ Dynamic DNS




หลังจาก Click [Login] ให้ทำการ Login เข้า Web No-IP เพื่อดูว่า IP Update ถูกต้องหรือไม่





ลองทดสอบ Ping





2. ทำการ Forward port ใน Reyee Gateway จะใช้คำว่า Port Mapping





กำหนดรายละเอียด

Name: ชื่อ ตั้งให้สื่อ
Preferred Server: HTTPS
Protocol: All
External Address: ไม่ต้องใส่
External Port/Range: Port ที่เข้ามาจากฝั่ง WAN (15001)
Internal IP Address: IP ที่ต้องการ Forward ไป (192.168.110.246)
Internet Port/Range: Port ของเครื่องที่ต้องการ Forward เข้าไปหา




ทดสอบ

เรียก No-IP (ใส่ https:// ด้วย)





#75
อุปกรณ์ Mikrotik Router / สอบถามหน่อยครับปัญหา mikrotik ...
กระทู้ล่าสุด โดย samurai13 - วันที่ 14 พฤษภาคม 2022, 12:21:31

ผมพี่งเปลี่ยนมาใช้งาน mikrotik ได้ไม่ถึงเดือน พึ่งตั้งค่าเสร็จ พึ่งได้ใช้งานมาสักพัก แล้วพึ่งไดัเข้ามานั้งดู log ว่าระบบที่ตั้งค่าไปทำงานปกติไหม หรือมีอะไรผิดปกติไหม แล้วมาเจอ error red code ตัวนี้เข้าแต่ไม่รู้ว่าปัญหาเกิดจากตรงไหน แล้วจะแก้ไขได้ยังไงนะครับ เท่าที่รู้คือเกิดจากขา wan แต่ไม่รู้เพราะอะไร แล้วจะแก้ยังไง
#76
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / Re: WiFi กรุ๊ปดียวกันตั่งชือแย...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 28 เมษายน 2022, 11:27:56

ทำ sub group (Sub-Project) ครับ
#77
WiFi กรุ๊ปดียวกันตั่งชือแยกได้ไหมครับ มี wifi 10 ตัว ตัวที่ 1-5 ตั้งชื่อ A ตัวที่ 6-10 ตั้งชื่อ B ครับทำได้ไหมครับ
#78
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / การกำหนด MAC Whitelist ใน Reye...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 22 เมษายน 2022, 14:49:09
การกำหนด MAC Whitelist ใน Reyee Access Point


ใน Reyee Access Point สามารถกำหนด MAC Address Backlist/Whitelist ให้แต่ละ SSID ได้ครับ


ตัวอย่างเช่น
SSID: สำหรับพนักงาน เพื่อความปลอดภัย นอกจากจะต้องมี Wifi Security แล้ว อาจจะต้องระบุด้วยว่าให้ MAC Address ไหนที่สามารถเชื่อมต่อเข้ามาได้
SSID: สำหรับแขก ส่วนใหญ่ก็ทำเป็นแบบ Captive portal ที่มี Account ให้ Login เพื่อเข้าใช้งาน Internet


วิธี Config ง่ายๆเลยครับ


1. เข้า GUI ผ่าน eWeb บน Cloud หรือ IP ของอุปกรณ์โดยตรง




2. Menu Wireless --> Backlist/Whitelist --> SSID-Based Blacklist/Whitelist

เลือกชื่อ SSID ที่ต้องการกำหนด แล้ว Click [Only the whitelisted STAs are allowed to access Wi-Fi.] --> Click [Add]

ข้อกำหนด
- ใน 1 SSID จะกำหนด MAC ได้ 30 Members
- ถ้าไม่มีการ Add MAC เข้าไปเลย ทุกๆ Device จะเชื่อมต่อได้ทั้งหมด





3. ใส่ค่า MAC Address และชื่อเครื่องที่เชื่อมต่อ (Remark)



*** สำหรับ Smartphone ให้ Disable การเชื่อมต่อแบบส่วนตัว เพราะจะไม่ใช่ MAC Address จริงของเครื่อง ***


เรียบร้อยครับ 8)


#79
อุปกรณ์ DrayTek (เดรเทค) / คู่มือการ Config VPN Client To...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 20 เมษายน 2022, 11:45:59
คู่มือการ Config VPN Client To Site แบบ L2TP บนอุปกรณ์ Draytek Router


ในหัวข้อนี้จะเป็นการ Config VPN แบบ Client To Site สำหรับอุปกรณ์ Draytek ที่รองรับการทำ VPN ทุกรุ่นครับ Draytek Router



ข้อกำหนด การทำ VPN

บทความการทำ VPN ในหัวข้อนี้ครับ ต้องการเชื่อมเครือข่าย Network ระหว่างสำนักงานด้วย VPN


- ที่ฝั่งสำนักงานที่ติดตั้ง VPN Router เราต้องได้ IP Public จากผู้ให้บริการ Internet ครับ ตัว Modem ต้อง Set เป็น Bridge Mode ได้ ต้องติดต่อกับทางผู้ให้บริการ Internet เพื่อขอ Public IP และ ให้ Remote มาทำการ Set Bridge Mode ให้กับ Modem


แต่..สำหรับ Device ที่ VPN Dial-Up เข้ามาเช่น Notebook, Smartphone ไม่จำเป็นต้องเป็น IP Public ครับ อาจจะใช้ WIFI Internet หรือ 4G LTE/5G ก็ได้



เบื้องต้น Set อุปกรณ์ Draytek ให้ออก Internet ให้เรียบร้อย ตามหัวข้อนี้ครับ คู่มือ Config Draytek Vigor3220 ใน Mode Loadbalance


ตัวอย่างคร่าวๆในการเชื่อมต่อ Internet แบบ PPoE บน Draytek Router

Default IP ของ Draytek จะเป็น 192.168.1.1
User: admin
Password: admin




เมื่อ Login แล้ว ให้ทำการแก้ไข Password admin เพราะถ้าโดน Hack จะมีปัญหายาวเลยครับ





ถ้าต้องการ Login เข้า Draytek จากภายนอกได้ ให้ทำการ Enable Allow management form the internet และ ถ้าให้ Ping เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์ Online หรือ ตรวจสอบ IP ให้ Enable Ping From Internet ด้วยครับ






1. Config Internet แบบ PPPoE






Username/Password สำหรับ PPPoE จะได้จากผู้ให้บริการ Internet





ถ้า Config Modem เป็น Bridge Mode และ PPPoE Username/Password ถูกต้อง ที่ขา WAN จะต้องได้ IP Public มา ถ้าไม่ถูกต้อง ตรวจสอบ Username/Password และ Modem สอบถามทางผู้ให้บริการ Internet ช่วยตรวจสอบ






2. Config Dynamic DNS

ในตัวอย่างจะใช้ Dynamic DNS ของ no-ip ครับ แต่ถ้าใช้งานจริงๆและต้องการความเสถียรแนะนำให้สมัคร Fix IP กับทางผู้ให้บริการครับ เดือนนึงตกพันต้นๆ


Menu Application --> Dynamic DNS มีให้เลือกหลายค่ายครับ







ตรวจสอบว่า Update IP ไปยัง no-ip เรียบร้อยหรือไม่





3. Config VPN


Menu VPN and Remote Access --> IPSec General Setup

ใส่ General Pre-Share Key (จดเก็บไว้ด้วยครับ)

Click [OK]




Enable Service VPN





3.1 สร้าง Account VPN

ตรงด้านล่างจะมี Software VPN Client ให้ Download รองรับทั้ง Windows, IOS/Android และ MacOS ในคู่มือนี้ผมจะใช้ Smart VPN Client for Windows ติดตั้งบน Windows 10 ครับ จะง่ายกว่าการสร้าง VPN Connection บน Windows เอง

Click Index 1




Enable This Account
Username/Password: สำหรับ User ที่จะ VPN Dial-Up เข้ามา
Allow Dial-In Type
L2TP with IPSec Policy: Nice to Have

Click [OK]





เรียบร้อยครับ สำหรับการ Config VPN แบบ Client To Site



การทดสอบ


การ Dial-Up VPN ต้องให้เครื่อง Client ที่จะ Dial-UP เข้ามา อยู่คนละ Network กับ VPN Router นะครับ จะต้องต่อกับ Internet อีกเส้นเพื่อทดสอบ เพราะถ้าอยู่ในวงเดียวกันอาจจะทดสอบไม่ผ่านครับ


ติดตั้ง App Smart VPN Client บน Windows ให้เรียบร้อย และ Restart Windows


เปิดโปรแกรมขึ้นมา Click [Profile] --> Add

Profile Name: ตั้งชื่อ Profile
Type: L2TP iver IPSec
IP or Host: กรณีสมัคร Fix IP ไว้ ให้ใส่ IP แต่ถ้าใช้ Dynamic DNS ให้ใส่ Host ที่กำหนดไว้
Username/Password: VPN Account ที่สร้างจากข้อ 3.1





Click [Advanced Options]

ใส่ Pre-Share Key เป็น General Pre-Share Key ที่กำหนดไว้ที่ Draytek

Click [OK]




Click Connect




ถ้า Connect VPN สำเร็จ จะขึ้น Status Connected





ทดสอบ Ping ไปยัง Draytek Router และ เครื่อง PC ที่อยู่ในวง Network ของ Draytek Router ถ้า Ping PC ไม่ได้ ให้ปิด Firewall/Anti-Virus ของเครื่อง





ทดสอบแชร์ไฟล์ กรณีที่แชร์ไม่ได้ Windows ขึ้น Error ให้ตรวจสอบการกำหนดสิทธิ์ครับ ในส่วนนี้ทางร้านไม่ชำนาญเรื่องการกำหนดสิทธิ์ใน Windows ขออนุญาติไม่ Support ทุกกรณีครับ






เรียบร้อยครับ 8)

#80
อุปกรณ์ Ruijie / Reyee (รุยเจี๋ย / รียี้) / คู่มือการ Config Ruijie Access...
กระทู้ล่าสุด โดย yod - วันที่ 24 มีนาคม 2022, 11:42:28
คู่มือการ Config Ruijie Access Point ใน Mode Standalone หรือ FAT Mode


การ config Ruijie Access Point ใน Mode Standalone หรือ FAT Mode รวมถึงการทำ Multi SSID VLAN Taging


ตัวอย่าง เป็น Ruijie Access Point รุ่น Ruijie RG-AP820-L(V2)


1. Default IP ของอุปกรณ์ Ruijie Access Point จะเป็น 192.168.110.1

User:admin, Password: admin




2. จะเข้าหน้า Wizard กำหนด IP Address ของอุปกรณ์ Access Point




3. กำหนด SSID และ Click [Finish]




ถ้า Config พื้นฐานจะเสร็จเรียบร้อยเท่านี้ครับ แต่ถ้าต้องการทำ Multi-SSID VLAN Tagging ตัวอย่างจะเป็นการ Map SSID กับ VLAN 10


4. สร้าง VLAN
Menu Config --> Network ---> VLAN --> Add VLAN

VLAN ID: 10



Click [Save]


5. สร้าง SSID

Menu Wireless --> WIFI/WLAN --> Click [ + ]

ตั้งชื่อ SSID
Wifi Type: VLAN 10



Click [Save]


ทดสอบเชื่อมต่อ WIFI จะต้องอยู่ในวง Network VLAN 10 ตัวอย่าง วง Network VLAN 10 จะเป็น IP: 10.0.10.1/24





เรียบร้อยครับ