โปรแกรม Network สำหรับ Fix-IP , Enable DHCP Network Card, Ping, Telnet, Trace Route, Interface Ping
- ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณแล้ว
- จัดส่ง
- รวมทั้งสิ้น ฿0.00
Review H3C CloudNet ร่วมกับ H3C Access Point
Review H3C CloudNet ร่วมกับ H3C Access Point
ในบทความนี้จะขอนำเสนออุปกรณ์ Access Point จาก H3C ครับ ใช้งานร่วมกับระบบ Cloud Controller ของ H3C จะใช้ชื่อว่า CloudNet
เกี่ยวกับ H3C
ขอเกริ่นเกี่ยวกับสินค้า H3C ซักหน่อยครับ
H3C เป็น Brand อุปกรณ์ Network จากประเทศจีน จัดจำหน่ายกว่า 174 ประเทศทั่วโลก ในปี 2565 มียอดขายสินค้า Network เป็นอันดับ 3 จาก Gartner และเริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อราวๆปี 2562 ครับ
H3C ก่อตั้งเมื่อปี 2546 เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัท Huawei กับ 3COM (Network Engineer รุ่นก่อนๆจะรู้จัก 3COM กันดีครับ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น HPE)
จากนั้นบริษัท Huawei ได้ขายหุ้นทั้งหมดให้บริษัท 3COM แล้วบริษัท 3COM ก็ได้ถูกบริษัท Hewlett-Packard (HP) ทำการ Takeover ไป ทำให้ HP เป็นเจ้าของ H3C ไปด้วย แต่พอ HP แตกธุรกิจแยกออกเป็น Hewlett Packard Enterprise (HPE) จึงได้ขายหุ้น H3C ให้บริษัท Unisplendour Corporation (UNIS) จำนวน 51%
แล้วเมื่อปี 2566 ทาง UNIS ได้ซื้อหุ้น H3C จาก HPE ที่เหลือ 49% ตอนนี้ก็เลยเป็นเจ้าของ H3C เต็ม 100%
UNIS เป็นบริษัทในเครือ Tsinghua Unigroup ที่คอยสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้าน ICT ให้กับมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) ที่เป็นมหาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดและสอบเข้ายากเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน ตอนผมไปประเทศจีน ไกด์เคยเล่าให้ฟัง เป็นอันดับที่ 12 ของโลก และ อันดับ 1 ในเอเซียครับ จะเน้นสาขาวิศวกรรม, วิทยาศาสตร์ และ คอมพิวเตอร์ มหาลัยนี้สอบเข้ายากมากกก
สินค้า H3C มีทั้ง Enterprise และ Small Business ทางร้านเป็น Master Dealer ตัวแทนจัดจำหน่าย H3C จะโฟกัสในส่วนที่เป็น SMB ซึ่งมี Product ที่ครอบคลุมในงานด้าน Network ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Router, L2-L3 Managed Switch, Firewall, Access Controller, Server และ Home WIFI
อุปกรณ์ Network H3C รองรับการ Managed ผ่าน Cloud (CloudNet) เกือบทั้งหมด เว้น Unmanaged Switch จากที่ลองทดสอบ ใช้ง่ายอยู่ครับ เมนูเยอะจริง ส่่วนใหญ่จะเป็นการ Monitor ระบบ ช่วยในการแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น
จริงๆเรื่องการ Config อุปกรณ์ Network ที่เป็นระดับ Small/Medium Business ผมว่าถ้าเข้าใจหลักการมาตรฐานต่างๆ การ Config แต่ละยี่ห้อไม่แตกต่างกันมากครับ เรียนรู้ยี่ห้อนึงก็ config ยี่ห้ออื่นๆได้ แต่การแก้ไขปัญหา Troubleshooting นี้แหล่ะสำคัญ ถ้ามีระบบ Monitor แจ้งรายละเอียดต่างๆมากเท่าไหร่ มันช่วยให้เราหาสาเหตุได้ง่ายขึ้น เพราะทุกปัญหามันมีสาเหตุเสมอ
H3C Access Point
ที่จะมาลองใช้ร่วมกับ CloudNet เป็นรุ่น H3C WA6020 ครับ ส่วน Network Switch เป็นรุ่น H3C S1850V2-28X-HPWR เอามาแยก VLAN
H3C WA6020 Spec
กระจาย WIFI มาตรฐาน WIFI6 (802.11ax) 2x2 MIMO รองรับ Roaming 802.11k/v/r, Managed ผ่าน Cloud/Hardware Controller/Standalone เสาอากาศกระจายสัญญาณรอบทิศทางขนาด [email protected] และ 4dBi@5GHz
*** การระบายความร้อนค่อนข้างดีมาก เปิดทิ้งไว้ทั้งวัน ไม่มีร้อนเลยครับ ***
Port Lan 1Gigabit รองรับ POE 802.3af, รองรับ DC 54V แต่ Connector เป็นแบบพิเศษ ใช้ Adapter ทั่วๆไปไม่ได้
มาพร้อม Port Console
H3C CloudNet
Cloud platform สำหรับบริหารจัดการอุปกรณ์ Network H3C ไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้ Cloud Microsoft Azure ซึ่งมีความเสถีย รองรับการจัดการอุปกรณ์ Network H3C ได้ไม่จำกัด พวก Feature ต่างๆก็ตามในตารางนี้ครับ
Deployment mode |
Public cloud through virtualization platform |
High availability on premise with ACs Cloude platform |
|
Multi-user management |
Role-based access control |
Manageable number of APs |
Unlimited |
Session user login |
200 |
Authentication |
Facebook authentication, WeChat authentication and Account authentication |
One-key authentication PPSK authentication Guest authentication |
|
Dumb terminal authentication |
|
Voucher authentication |
|
Cloud APs |
Redirect URL login |
External captive Portal |
|
Wi-Fi radio, roaming, channel and power optimization |
|
O&M |
Intelligent operation and maintenance escort the customer network Network health monitoring |
Client connection snapshot Problem location and analysis Wireless network optimization |
|
One-click diagnosis and optimization VIP policy for AP and Client |
|
WIPS |
|
Client access analysis |
|
Network management |
Hierarchical and decentralized management Full network monitoring |
Sites management |
|
Devices management (including switches, routers, ac, cloud ap, firewall) Client management |
|
Real-time monitoring heat-map |
|
Alarm management Operation logs System messages Fault reports |
|
Account login lockout duration 10-1440 minutes |
|
Sub-accounts management |
|
Multi-service |
PPSK (provides PPSK-based wireless access for small and medium-sized enterprises) Hotel Management (Allows room-based network management) |
Cloud engineering survey (provides one-stop high-efficiency engineering investigation site planning design for WLANs) Custom Dashboard (Displays followed monitoring statistics on a dashboard)Heatmap Simulation 2.4GHz and 5GHz |
|
Assets (Asset management information of equipment and terminal) |
|
O&M report management (Monthly Smart O&M and Network Endpoint) |
|
Branch Topology |
|
Plan Device Onboard Plan Branch Networks Configure App TE |
|
Physical & Virtual & Tenant Network Application Policy |
|
Customize portal authentication (term & condition policy, template, logo, background, welcome message, and copyright |
|
Value-added Service QoS Manager |
|
SD-WAN |
Route Policy Manager |
Mobile network management and monitoring Mobile devices operations |
|
Mobile MSP service Mobile network tools |
|
Mobile APP |
Mobile WLAN settings |
Mobile O&M |
|
Open API |
Support open and rich APIs, share business data with customers, and realize rapid business value-added |
Technologies |
The platform integrates a variety of advanced technologies including cloud computing, big data , AI, etc. |
Ecosystem enablement |
Support of full network standards, system collaboration, and app development Support Google Map |
Feature เยอะจริง!! ในบทความนี้จะขอแสดงแค่บางส่วนนะครับ รายละเอียดปลีกย่อยจะแบ่งเขียนเป็นหัวข้ออื่นๆอีกครั้งครับ
App CloudNet บน SmartPhone
App CloudNet รองรับทั้ง iOS และ Android
การ Add อุปกรณ์ขึ้น CloudNet ทำได้ทั้งแบบ Scan QR-Code ที่ตัวอุปกรณ์ หรือ ผ่าน Managed SSID ได้ทั้งสองแบบครับ
Dashboard บน App CloudNet
Monitor Access Point, Network Switch และ Client
การ Setup Access Point บน App CloudNet ตอนนี้จะรองรับแค่กำหนด SSID เท่านั้นครับ ต้องรอ Version ถัดไป และมี Tool สำหรับตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่าย
ใช้งาน CloudNet ผ่าน WebBrowser
การ Config ผ่าน Webbrowser จะทำได้เยอะกว่าบน App CloudNet ครับ ผ่าน URL https://oasiscloud.h3c.com/
Site Dashboard
Network Topology
ยังไม่มีให้ Generate Report เป็น PDF
การ Config Access Point
การ Config Access Point บน CloudNet จะเป็นแบบ Global คือ Config แล้ว AP ทุกตัวจะได้ค่าที่เรา Config เหมือนกันหมด ส่วน Network Switch นี้จะเป็นของใครของมัน
WLAN Settings
เป็นการ Config SSID, Radio Configuration และ Network Optimize
WI-FI Settings
แต่ละ Model จะรองรับการจำนวน SSID ไม่เท่ากันครับ แต่ส่วนใหญ่ก็ 8 SSID (ไม่ต่ำกว่านี้)
รองรับ Multi-SSID VLAN Tagging, กำหนดความเร็ว Download/Upload ให้แต่ละ Client , Authentication แบบ Captive Portal และ แบบ 802.1x ใน CloudNet จะ Build-In RADIUS ให้เลยครับ ไม่จำกัด User ไม่ต้องติดตั้ง RADIUS Server เพิ่ม
Radio Configuration
ปรับแต่งพวก Channel Width, Tx Power, ปิด/เปิด Radio
Network Optimization
ปรับแต่งพวก Radio, Roaming, Loadbalance, Reject Weak Signal (รับสัญญาณจาก Client ได้ต่ำ ไม่ให้เกาะ) etc..
Authentication
รองรับแบบที่เป็น Captive-Portal (เมื่อเชื่อมต่อ WIFI จะ Redirect ไปยังหน้า Authen) และแบบ 802.1x จะเป็นการใส่ Username/Password
แบบ Captive Portal
หลักการ เมื่อเราใช้มือถือเชื่อมต่อ WIFI มือถือเราจะได้ IP Address มา กล้วจะ Redirect ไปยังหน้า Captive Portal โดยหน้านี้จะสามารถกำหนดได้ว่าต้องการ Authenticate แบบไหน เช่น ใส่ Username/Password, ใส่ Voucher, Login ผ่าน Facebook/Google Account หรือ จะ Click แล้วใช้งาน Internet ได้เลย
หน้า Template ของ CloudNet มีรูปแบบ Authen ให้เลือกเยอะเลยครับ เดี๋ยวผมทดสอบและจะทำเป็นอีกหัวข้อ ส่วน Page ต่างๆสามารถปรับแต่งได้ครับ
ทดสอบ Authen แบบ Account
แบบ 802.1x
เป็น Protocol ที่มีความปลอดภัยสูงมากครับ เพราะ Device เราจะยังไม่ได้รับ IP และสัญญาณ WIFI ที่ปล่อยออกมาจะมีการเข้ารหัสด้วย ปกติการใช้งาน 802.1x เราต้องมี Radius Server ขึ้นมาต่างหาก แต่ใน CloudNet จะ Build-In Radius มาให้เลยครับ สร้าง Account ได้ไม่จำกัดด้วย
ทดสอบ Authen แบบ 802.1x
ส่วนการ Config ผ่าน Local Management จะสามารถ Config ได้ละเอียดกว่าบน CloudNet ครับ แต่สำหรับ Access Point ไม่แนะนำให้ทำครับ
Alarms
กำหนดรูปแบบการแจ้งเตือน ได้ทั้ง Email, App Notified และ SMS (เสียตังค์)
Operation Log
Log พวก Config Log, Login Log
Account
รองรับการสร้าง Sub-Account สามารถกำหนดสิทธ์ในการเข้าถึง Site ได้ครับ รวมถึงการแชร์ Site ให้ CloudNet Account อื่นช่วยเข้ามาดูแลแก้ไขได้
Smart O&M
Smart Optimize and Monitor ตัวช่วยในการจัดการและดูแลระบบครับ มีรายละเอียดต่างๆเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Client Experience, Client Infomation, One-Key Optimize ช่วยจัดการคลื่นวิทยุให้ดีที่สุด, AI analytics, Power Save Mode แต่บาง Feature ต้องใช้ร่วมกับ Access Controller ครับ
H3C CloudNet ยังมีหลายๆ Feature ที่ผมลองทดสอบแล้วไม่ได้ตามที่กำหนด เช่น การกำหนด Bandwidth ในการทำ Authen แบบ Captive Portal แต่ละ Account ยังไม่สามารถกำหนดได้ และบาง Feauter ผมขอเวลาหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกซักหน่อย เช่น การ Move อุปกรณ์ไปยัง Site อื่นๆ การกำหนด Sub-Site หรือ กำหนด AP Group ในกรณีที่ต้องการสร้าง SSID ชื่อเดียวกันแต่อยู่คนละ VLAN , การเปลี่ยนเจ้าของ Site เช่นเราอาจจะไม่ได้ดูแล Site นี้แล้ว ต้องการส่งมอบ Site นี้ให้ผู้อื่นดูแลต่อ
โดยภาพรวมแล้ว Spec วัสดุอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Access Point, Network Switch ดูแล้วทนทานใช้ได้ ระบบ Monitor ที่ทำได้ดีมาก, หน้า GUI บน Webbrowser จะงงๆนิดนึง ต้องใช้เวลาเล่นกันซักระยะ ส่วนบน App CloudNet ใน Smartphone ยังไม่ค่อยมีอะไรให้ Config ต้องรอให้ทาง R&D ทำเพิ่มมากกว่านี้
บทความหน้าจะจะเป็นเรื่อง H3C Switch นะครับ รอเล่นแป๊บครับ ^^
Facebook comment