Review H3C Managed Switch S1850V2-28X-HPWR L2-Managed POE Switch 24 Port, 4 Port SFP+ รองรับการ Managed ผ่าน Cloud,...
- ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณแล้ว
- จัดส่ง
- รวมทั้งสิ้น ฿0.00
ต้องการทำ Loadbalance โดย Internet รวมแล้วมากกว่า 1Gbps
ต้องการทำ Loadbalance โดย Internet รวมแล้วมากกว่า 1Gbps
ในปัจจุบันค่า Internet ค่อนข้างถูกมาก แต่...อาจจะมีบ้างที่มีปัญหาเรื่องความเสถียร มี Internet Down บ้างเป็นบางครั้งบางคราว หลายๆ Site งานเลยเลือกใช้ Internet จาก ISP ที่ต่างค่ายกัน เพื่อที่เวลาค่ายนึงมีปัญหา ก็ยังมีอีกค่ายใช้งานอยู่ เพราะจะไม่ค่อยเกิดปัญหาพร้อมๆกันทั้ง 2 ค่ายครับ นอกจากรถชนเสาไฟฟ้า
ทีนี้ อุปกรณ์ที่เราต้องมีในกรณีที่มี Internet มากกว่า 1 เส้น คือ Loadbalance ครับ มีให้เลือกใช้งานหลายแบบ เช่น รองรับ 2 WAN, 4WAN หรือ 8WAN
การทำงานของ Loadbalance
ขอยกตัวอย่างกับอุปกรณ์ Loadbalance ที่รองรับ 2 WAN แล้วกันนะครับ (ขออนุญาตินำรูปมาจาก Web Draytek)
1. Fail-Over Mode
จะมี WAN ที่เป็น Primary (WAN หลัก) กับ Secoundary (WAN รอง) โดยปกติ Internet จะวิ่งเข้า/ออกกันที่ WAN หลัก ส่วน WAN รอง จะถูกปิดไว้ไม่ให้วิ่ง จนกว่า WAN หลักจะล่ม ใช้งานไม่ได้ ก็จะแห่มาวิ่งที่ WAN รองแทน
Mode นี้ เหมาะกับเราใช้ WAN รอง เป็นเครือข่าย 4G/5G เพราะทาง ISP จะจำกัด Traffic ข้อมูลไว้ ตามที่เราจ่ายไว้ เช่น 10GB, 20GB พอครบความเร็วก็หายเกลี้ยง ต้องจ่ายตังค์ซื้อ Package เพิ่ม
2. Balance Mode
Client เวลาออก Internet ตัว Loadbalance ก็จัดสรรให้สลับกันออกทั้ง 2 WAN อาจจะจัดการตาม Packet (เรียกว่า Session Base) หรือ จัดการตาม IP ที่วิ่งเข้า/ออก (เรียกว่า IP Base) จะให้ออก WAN ไหนที่ยังวิ่งกันน้อยๆอยู่ และถ้าเกิด WAN 1 ล่ม จะสามารถกำหนดเป็นเป็น Mode Fail-Over โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ไปวิ่งที่ WAN 2 ทั้งหมด
Mode นี้จะเหมาะกับ Internet ที่เป็น Broadband เพราะเราจ่ายรายเดือน ทาง ISP ไม่ได้จำกัด Traffic ไว้
ความเร็ว Internet สูงสุดที่ ตัว Loadbalance รองรับ?
บางรุ่น 2WAN แต่รองรับ Throughput ได้สูงสุด 1Gbps ถ้าเราสมัคร Package Intenret ที่ความเร็ว 1Gbps ทั้ง 2 ค่าย (รวมเป็น 2Gbps) พอผ่าน Loadbalance ยังไงก็ได้ความเร็วไม่เกิน 1Gbps
** ถ้าต้องการได้ Throughput 2Gbps เราก็ต้องเลือกตัว Loadbalance ที่รองรับ Throughput ความเร็ว Internet ให้ได้มากกว่า 1Gbps ครับ **
และอีกเรื่องครับ
ความยากง่ายในการ Config / แก้ปัญหาของอุปกรณ์
ข้อนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาเป็น Loadbalance โดยเฉพาะก็จะ Config ง่ายหน่อย Click Mouse ไม่กีทีก็ใช้งานได้แล้ว
แต่ถ้าอุปกรณ์ประมาณ Mikrotik ต้องเรียนรู้ค่อนข้างเยอะครับ ถ้าพื้นฐานแน่น, Config ปรับแต่งค่าต่างๆเองตามต้องการรวมถึงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าจ้าง เผลอๆ ราคาอุปกรณ์รวมค่า Config , เปลี่ยนปรับแต่งแก้ไขเพิ่มเติม, แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะแพงกว่าอุปกรณ์ที่เป็น Loadbalance โดยเฉพาะซะอีกครับ
Loadbalance ที่รองรับความเร็ว เกิน 1Gbps ที่ทางร้านจำหน่าย
ทางร้านจะมีอยู่ 4-5 รุ่นครับ (ยังมีน้อยอยู่)
DrayTek Vigor2962 2-WAN Load Balance VPN Router, Port 2.5Gbps รองรับ Internet 2.2Gbps
DrayTek Vigor3910 8-WAN Load Balance VPN Router, Port SFP+ รองรับ Internet 9.4Gbps
DrayTek Vigor1000B 6-WAN Load Balance Router, Port SFP+ รองรับ Internet 9.4Gbps
Ruijie RG-EG3230 Unified Security Gateway 6-Wan Load Balance, Port SFP+ รองรับ Internet 6Gbps
Ruijie RG-EG3250 Unified Security Gateway 6-Wan Load Balance , Port SFP+ รองรับ Internet 6Gbps
สิ่งที่ต้องดูต่อมาคือความเร็วของ Interface ที่เชื่อมต่อ อาจจะเป็น Port Lan หรือ Port SFP/SFP+
เพราะอะไรที่เราต้องคำนึงถึงความเร็วของ Interface ที่ Loadbalance มี?
ถ้าที่ตัว Loadbalance มี Port Lan หรือ Port SFP ที่มีความเร็วแค่ 1Gbps แล้วเราเดินสาย Lan/Fiber เส้นเดียว Uplink ไปหา Core Switch ยังไงๆ ความเร็วรวมที่วิ่งกันออกไปขัางนอกก็ไม่เกิน 1Gbps ครับ มันเป็นคอขวดตรงสาย Lan-Fiber เส้น Uplink นั้นแหล่ะ
เราจะต้องทำยังไง?
ตรวจสอบ Spec อุปกรณ์ Loadbalance ครับ ความเร็วของ Interface ที่มี หรือ Feature ที่สำคัญ เช่น Link Aggregate มันมีใน Loadbalance หรือเปล่า การ Config จะมีหลักๆก็ประมาณนี้ครับ
1. Port Lan / Port SFP เป็น 1Gbps แต่ใน Spec ของ Loadbalance มันดันได้มากกว่า 2Gbps ก็ต้องใช้ท่านี้ครับ
ต่อเข้า Switch 2 ตัว แยกกัน จะ VLAN ทำ Trunk อะไรก็ว่ากันไป
ข้อดี
Loadbalance รุ่นราคาประหยัดหน่อย ก็จะทำประมาณนี้ครับ
ข้อเสีย
ต้องใช้ Network Switch 2 ตัว
2. ถ้า Loadbalance มี Function Link Aggregate
ตัว Loadbalance ที่ราคากลางๆ จะมี Feature Link Aggregate นี้มาให้ด้วย ข้อนี้ขออธิบายยาวนิดนึง เพราะมีเรื่องการ Config เพิ่มเติมนิดหน่อย และต้องเลือก Network Switch ที่รองรับการทำ Link Aggregate ด้วยครับ
Loadbalance รุ่นที่ทางร้านทดสอบ เป็น Draytek Vigor2962 ส่วน Network Switch ใช้ Mikrotik รุ่น CRS326-24G-2S+RM
รุ่นนี้มี Port Lan 2.5Gbps มาให้ ถ้าใช้ร่วมกับ Network Switch ที่มี Port Lan 2.5Gbps ก็ใช้ได้เลยครับ แค่ Set Mode จาก WAN เป็น LAN แต่ตัว Network Switch ที่มี Port Lan 2.5Gbps หายากจริง แพงด้วย
Internet ที่ทดสอบ มี 2 เส้น
3BB: 1000/1000Mbps
True Internet: 500/500Mbps
Link Aggregate ใน Draytek รองรับ Mode balance-rr, active-backup และ balance-xor
เลือก Mode balance-xor การทำงานจะคล้ายๆ LACP
Tagged VLAN ไปด้วยครับ ใช้ Client ทดสอบ 2 เครื่อง อยู่คนละวง Network
ส่วน Mikrotik Switch จะเรียกว่าทำ Bonding เลือก Mode เป็น balance-xor เช่นกัน
ทำ Interface Bonding ให้เป็น Trunk Port และ Untagged Port ที่เชื่อมต่อกับ PC ทั้ง 2 เครื่อง โดยให้อยู่คนละลง VLAN กัน
ทดสอบ
ใช้ความพยายามพอสมควรเลย ที่จะให้ PC 2 เครื่องมันใช้ Internet ได้เกิน 1Gbps ขนาด Download Bittorrent, Download Share File Service แบบเสียตังค์อีกต่างหาก เพื่อให้ได้ความเร็วมากกว่าแบบฟรี
แล้ว Capture รูปไม่ค่อยจะทันอีกต่างหาก ^^
PC#1
PC#2
ดีว่าใน Interface Traffic Status ใน Mikrotik มี Tx/Rx Rate แบบ Realtime ให้ดู เลยพอจะ Approve ได้หน่อย
ได้ 1114.9Mbps มันมี Peak สูงสุดอยู่ที่ 13xxMbps (Capture ไม่ทันอีก) ได้ความเร็วรวมเกิน 1Gbps ครับ ถือว่าผ่าน..
ถ้าดูใน Dataflow Monitor ใน Draytek จะมีค่า Peak Speed สูงสุดบอกไว้ ได้ 1,473Mbps OK. ผ่านเช่นกัน
ทดสอบกับ Reyee Switch รุ่น NBS3100-8GT2SFP
จะดูยากหน่อย รู้แค่ว่ามี Traffic วิ่งทั้ง 2 เส้น ที่ทำ Link Aggregate ไว้
ทดสอบกับ Switch TP-Link
วิ่งทั้ง 2 เส้นที่จับคู่ทำ Link Aggregate ไว้เช่นกัน
ข้อดี
Loadbalance และ Network Switch ที่รองรับ Link Aggregate เดี๋ยวนี้ราคาไม่สูงมาก
ข้อเสีย
ต้อง Config Link Aggregate เพิ่ม ทั้ง Loadbalance และ Network Switch
PC ที่เชื่อมต่อ ถึงจะมี Port Lan ที่เป็น 2.5Gbps หรือ 10Gbps จะได้ความเร็วไม่เกิน 1Gbps ต่อเครื่อง (Port Lan ที่ติดมากับ PC ส่วนใหญ่จะเป็น 1Gbps พวก 100Mbps ไม่ค่อยมีแล้วครับ หรือไม่ก็เก่ามากๆ)
3. Loadbalance รุ่นที่มี Port Lan 2.5Gbps มาให้
หา Network Switch ที่มี Port LAN 2.5Gbps มาต่อ Uplink ครับ ง่าย จบ
ข้อดี
ความเร็วรวมจะวิ่งอยู่ที่สาย Lan ทีเป็น Port 2.5Gbps เลย ไม่กิน CPU ของอุปกรณ์ Loadbalance
ไม่ต้อง Config อะไรเพิ่ม
PC ที่มี Port Lan 2.5Gbps ที่เชื่อมต่อ จะได้ความเร็ว Internet มากกว่า 1Gbps (ถ้าใช้ถีง)
ข้อเสีย
Network Switch ที่มี Port Lan ความเร็ว 2.5Gbps ยังหายาก และ ราคาแรงพอสมควร
4. ถ้า Loadbalance รุ่นที่เลือกใช้มี Port SFP+ ความเร็ว 10Gbps
Ladbalance พวกที่มี Port SFP+ ราคาจะยังค่อนข้างสูง
หาซื้อ SFP+ Module กับสาย Fiber Optic ที่เป็น Single-Mode เพิ่ม เชื่อมต่อ Uplink จาก Loadbalance ผ่าน Port SFP+ ไปยัง Network Switch ที่มี Port SFP+
ราคา Network Switch ที่มี Port SFP+ ราคาไม่สูงมากแล้ว แต่ Loadbalance รุ่นที่มี SFP+ ราคาตอนนี้ยังสูงอยู่ครับ เหมาะกับถ้าเรามี Internet 2 เส้นขึ้นไป
อย่างรุ่น Draytek Vigor3910 รองรับได้ถึง 8 WAN ความเร็ว Internet สูงถึง 9.4Gbps
ทางร้านเคยทำ Review ไว้ครับ Review Draytek Vigor3910 Loadbalance Firewall รองรับ Internet สูงสุด 9.4Gbps
ข้อดี
ความเร็วรวมจะวิ่งอยู่ที่สาย Fiber เส้นเดียวเลย รองรับความเร็วได้มากถึง 10Gbps
Network รุ่นที่มี Port SFP+ เดี๋ยวนี้ราคาก็ไม่สูงมาก
ถ้า Server มี Port SFP+ จะได้ความเร็ว Internet ที่สูงกว่า 1Gbps
รองรับ Internet ได้มากกว่า 2 เส้น สูงสุดถึง 8 เส้น ถ้า User เยอะมากๆหลายๆร้อย แนะนำเลยครับ
ข้อเสีย
Loadbalance ราคายังแพงอยู่
ต้องหา SFP+ Module ที่ Compatible กับทาง Loadbalance และ Switch (ให้ทางร้านทดสอบได้ครับ)
ต้องเดินสาย Fiber Optic แต่ถ้าวาง Network Switch ไว้ใกล้ๆ Loadbalance อาจจะเลือกเป็น สายสำเร็จรูป (Patchcord) สะดวกกว่า
คร่าวๆประมาณนี้ครับ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะนำมา Update อีกทีครับ ☺️
Facebook comment